การจดทะเบียนสมรสที่อำเภอญี่ปุ่น
กรณีจดทะเบียนสมรสกับชาวญี่ปุ่น
ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรสที่อำเภอญี่ปุ่น
- นำหนังสือรับรองสถานภาพการสมรสที่ออกโดยอำเภอไทย และผ่านการประทับตรารับรองนิติกรณ์จากกระทรวงการต่างประเทศไทยแล้ว ไม่เกิน 3 เดือน มาขอประทับตรารับรองที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
- นำหนังสือรับรองสถานภาพการสมรสที่ประทับตรารับรองจากสถานเอกอัครราชทูตฯ แล้ว ไปขอจดทะเบียนสมรสที่อำเภอญี่ปุ่น
- ขอทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (โคเซกิโทฮง) 1 ชุด ที่ระบุว่าได้จดทะเบียนสมรสแล้วจากอำเภอญี่ปุ่น
- นำทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (โคเซกิโทฮง) ไปประทับตรารับรองที่กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น (ไกมุโช)
- นำทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (โคเซกิโทฮง) ที่ประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น (ไกมุโช) แล้ว ไปแปลเป็นภาษาไทย (สามารถดูตัวอย่างการแปลในเว็บไซต์ของสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้)
ขั้นตอนการดำเนินการที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว
- นำทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (โคเซกิโทฮง) ที่ประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น (ไกมุโช) แล้ว พร้อมคำแปลภาษาไทย มาขอประทับตรารับรองที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
*** หากคู่สมรสทั้งสองฝ่ายเดินทางกลับประเทศไทยด้วยตนเอง ไม่ต้องยื่นคำร้องตามข้อ 7. - ข้อ 9. ***
- ขอทำหนังสือมอบอำนาจที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว (เพื่อขอบันทึกเรื่องการสมรสที่อำเภอไทย)
- ขอทำบันทึกข้อตกลงการใช้ชื่อสกุลที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว (โดยคู่สมรสฝ่ายที่ไม่สามารถเดินทางไปลงลายมือชื่อที่อำเภอไทยด้วยตนเองได้ ต้องมาลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ)
- ขอทำหนังสือรับรองการใช้คำนำหน้านามหญิงที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว (เฉพาะฝ่ายหญิงที่ถือสัญชาติไทย)
ขั้นตอนการแจ้งสมรสที่ประเทศไทย
- นำทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (โคเซกิโทฮง) พร้อมคำแปลภาษาไทย ที่ประทับตรารับรองจากสถานเอกอัครราชทูตฯ แล้ว ไปประทับตรารับรองนิติกรณ์ที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศไทย
- นำทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (โคเซกิโทฮง) พร้อมคำแปลภาษาไทย ที่ผ่านขั้นตอนในข้อ 10. แล้ว ไปขอบันทึกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว-สมรส (คร.22) ที่อำเภอไทยที่ตนมีชื่ออยู่ในสำเนาทะเบียนบ้านไทย
- ที่ว่าการอำเภอไทยออกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว-สมรสไทย และแก้ไขคำนำหน้าชื่อ เปลี่ยนนามสกุลตามสามีหรือภรรยาภายหลังการสมรสในสำเนาทะเบียนบ้านไทย
- ขอทำบัตรประจำตัวประชาชนไทยใหม่ที่อำเภอไทย และขอทำหนังสือเดินทางใหม่ที่กระทรวงการต่างประเทศไทย (กรณีที่ไม่ได้เดินทางกลับประเทศไทย สามารถยื่นคำร้องขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ และหนังสือเดินทางใหม่ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้)
กรณีจดทะเบียนสมรสกับคนไทยหรือชาวต่างชาติที่ไม่ใช่คนญี่ปุ่น
ขั้นตอนการจดทะเบียนสมรสที่อำเภอญี่ปุ่น
- นำหนังสือรับรองสถานภาพการสมรสที่ออกโดยอำเภอไทย และผ่านการประทับตรารับรองนิติกรณ์จากกระทรวงการต่างประเทศไทยแล้ว ไม่เกิน 3 เดือน มาขอประทับตรารับรองที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
- นำหนังสือรับรองสถานภาพการสมรสที่ประทับตรารับรองจากสถานเอกอัครราชทูตฯ แล้ว ไปขอจดทะเบียนสมรสที่อำเภอญี่ปุ่น
- ขอหนังสือรับรองการจดทะเบียนสมรส (คนอินจุริโชเมโช) 1 ชุด จากอำเภอญี่ปุ่น
- นำหนังสือรับรองการจดทะเบียนสมรส (คนอินจุริโชเมโช) ไปประทับตรารับรองที่กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น (ไกมุโช)
- นำหนังสือรับรองการจดทะเบียนสมรส (คนอินจุริโชเมโช) ที่ประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น (ไกมุโช) แล้ว ไปแปลเป็นภาษาไทย (สามารถดูตัวอย่างการแปลในเว็บไซต์ของสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้)
ขั้นตอนการดำเนินการที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว
- นำหนังสือรับรองการจดทะเบียนสมรส (คนอินจุริโชเมโช) ที่ประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น (ไกมุโช) แล้ว พร้อมคำแปลภาษาไทย มาขอประทับตรารับรองที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
*** หากคู่สมรสทั้งสองฝ่ายเดินทางกลับประเทศไทยด้วยตนเอง ไม่ต้องยื่นคำร้องตามข้อ 7. - ข้อ 9. ***
- ขอทำหนังสือมอบอำนาจที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว (เพื่อขอบันทึกเรื่องการสมรสที่อำเภอไทย)
- ขอทำบันทึกข้อตกลงการใช้ชื่อสกุลที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว (โดยคู่สมรสฝ่ายที่ไม่สามารถเดินทางไปลงลายมือชื่อที่อำเภอไทยด้วยตนเองได้ ต้องมาลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ)
- ขอทำหนังสือรับรองการใช้คำนำหน้านามหญิงที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว (เฉพาะฝ่ายหญิงที่ถือสัญชาติไทย)
ขั้นตอนการแจ้งสมรสที่ประเทศไทย
- นำหนังสือรับรองการจดทะเบียนสมรส (คนอินจุริโชเมโช) พร้อมคำแปลภาษาไทย ที่ประทับตรารับรองจากสถานเอกอัครราชทูตฯ แล้ว ไปประทับตรารับรองนิติกรณ์ที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศไทย
- นำหนังสือรับรองการจดทะเบียนสมรส (คนอินจุริโชเมโช) พร้อมคำแปลภาษาไทย ที่ผ่านขั้นตอนในข้อ 10. แล้ว ไปขอบันทึกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว-สมรส (คร.22) ที่อำเภอไทยที่ตนมีชื่ออยู่ในสำเนาทะเบียนบ้านไทย
- ที่ว่าการอำเภอไทยออกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัว-สมรสไทย และแก้ไขคำนำหน้าชื่อ เปลี่ยนนามสกุลตามสามีหรือภรรยาภายหลังการสมรสในสำเนาทะเบียนบ้านไทย
- ขอทำบัตรประจำตัวประชาชนไทยใหม่ที่อำเภอไทย และขอทำหนังสือเดินทางใหม่ที่กระทรวงการต่างประเทศไทย (กรณีที่ไม่ได้เดินทางกลับประเทศไทย สามารถยื่นคำร้องขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ และหนังสือเดินทางใหม่ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้)
การขอบันทึกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวสมรสที่ประเทศไทย
หลังจากจดทะเบียนสมรสที่อำเภอญี่ปุ่นเรียบร้อยแล้ว และต้องการขอบันทึกทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวสมรสที่อำเภอไทย คู่สมรสทั้งสองฝ่ายสามารถกลับไปยื่นคำร้องได้ด้วยตนเองที่ประเทศไทย แต่หากไม่สะดวกไปยื่นด้วยตนเอง สามารถขอทำหนังสือมอบอำนาจ บันทึกข้อตกลงการใช้ชื่อสกุล หนังสือรับรองการใช้คำนำหน้านามหญิง (กรณีฝ่ายหญิงถือสัญชาติไทย) และขอตราประทับรับรองในเอกสารแปลที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ได้ โดยเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้
- คำร้องนิติกรณ์มอบอำนาจ สามารถดาวน์โหลดได้จากทางเว็บไซต์ หรือขอรับได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
- สำเนาหนังสือเดินทาง 5 ชุด
- สำเนาบัตรประชาชนไทย 1 ชุด
- สำเนาทะเบียนบ้านไทย 1 ชุด
- หากเคยเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล กรุณาเตรียมสำเนาใบเปลี่ยนชื่อ หรือใบเปลี่ยนนามสกุลมาด้วย
- สำเนาบัตรประจำตัวคนต่างด้าว หรือบัตรไซริวการ์ด 1 ชุด
- หากสมรสกับคนญี่ปุ่น ต้องเตรียมทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น หรือโคเซกิโทฮง ระบุเรื่องการสมรสฉบับจริง ซึ่งผ่านการประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นไม่เกิน 3 เดือน และคำแปลภาษาไทย พร้อมสำเนาอย่างละ 1 ชุด
- หากสมรสกับคนไทยหรือคนต่าง ชาติที่ไม่ใช่คนญี่ปุ่น ต้องเตรียมหนังสือรับรองการจดทะเบียนสมรส หรือคนอินจุริโชเมโชฉบับจริง ซึ่งผ่านการประทับตรารับรองจากกระทรวงการตางประเทศญี่ปุ่นไม่เกิน 3 เดือน และคำแปลภาษาไทย พร้อมสำเนาอย่างละ 1 ชุด
- สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบขับขี่รถยนต์ของคู่สมรส 2 ชุด
- สำเนาบัตรประชาชนไทยและทะเบียนบ้านไทยของผู้รับมอบอำนาจ อย่างละ 1 ชุด
***กรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดต้องการกลับไปยื่นคำร้องด้วยตนเองที่อำเภอไทย โดยที่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งไม่สามารถเดินทางไปลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงการใช้ชื่อสกุลด้วยได้ สามารถยื่นคำร้องขอทำบันทึกข้อตกลงการใช้ชื่อสกุล และขอตราประทับรับรองในเอกสารแปลที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ก่อน แล้วจึงนำเอกสารดังกล่าวกลับไปดำเนินการต่อที่ประเทศไทย โดยเตรียมคำร้องนิติกรณ์ (สามารถดาวน์โหลดได้จากทางเว็บไซต์ หรือขอรับได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ) และเอกสารตามข้อ 2. - ข้อ 9.
日本の市区町村役場での婚姻手続き
日本の方との婚姻の場合
日本の市区町村役場での婚姻手続きの流れ
1. タイ市区役所発行の「婚姻状況証明書」(タイ外務省に認証を受けてから3ヶ月以内)を在東京タイ王国大使館にて認証を受ける
3. タイ市区役所で婚姻手続きをする為に、婚姻事実が記載されてある 「戸籍謄本」1通を日本市区町村役場から取り寄せる
5. 日本外務省認証済みの「戸籍謄本」をタイ語に翻訳する
(タイ語翻訳文の例文は、在東京タイ王国大使館ホームページを参照して下さい。)
6. 日本外務省認証済みの「戸籍謄本」とタイ語翻訳文を大使館で翻訳認証を受ける
*** 夫婦二人ともタイに帰国し、その後の申請を直接行う場合は、下記の7番から9番の申請は必要ありません ***
7. 在東京タイ王国大使館にて、委任状の申請 (タイ市区役所にて婚姻手続きを行うため)
8. 在東京タイ王国大使館にて、姓名変更に関する同意書の申請 (夫婦二人ともタイに渡航できず、タイ市区役所にて婚姻書類に署名出来ない場合、 在東京タイ王国大使館にて婚姻書類に署名していただく必要があります)
9. 在東京タイ王国大使館にて、女性の敬称(ミス、ミセス)に関する証明書の申請 (タイ国籍の女性のみ)
10. 在東京タイ王国大使館にて翻訳認証済みの「戸籍謄本」をタイ外務省で認証を受ける
11. タイ外務省の認証を受けた後、タイ国籍者の住所登録のあるタイ市区役所で「家族身分登録書(婚姻)」を申請する
12. タイ市区役所で「家族身分登録書(婚姻)」の発行後、「住居登録証」 の記載事項を婚姻後の夫/妻の姓名に変更する手続き等を行う
13. タイ市区役所で新しく国民身分証明書を申請し、タイ外務省で新しくパスポートを申請する(本人がタイに帰国しない場合、在東京タイ王国大使館で新しく国民身分証明書とパスポートを申請する)
タイ国籍者あるいは日本国籍者以外の方との婚姻の場合
日本の市区町村役場での婚姻手続きの流れ
1. タイ市区役所発行の「婚姻状況証明書」(タイ外務省に認証を受けてから3ヶ月以内)を在東京タイ王国大使館にて認証を受ける
3. タイ市区役所で婚姻手続きをする為に、婚姻事実が記載されてある 「婚姻受理証明書」1通を日本市区町村役場から取り寄せる
4. 日本外務省で「婚姻受理証明書」の認証を受ける
5. 日本外務省認証済みの「婚姻受理証明書」をタイ語に翻訳する
(タイ語翻訳文の例文は、在東京タイ王国大使館ホームページを参照して下さい。)
6. 日本外務省認証済みの「婚姻受理証明書」とタイ語翻訳文を大使館で翻訳認証を受ける
*** 夫婦二人ともタイに帰国し、その後の申請を直接行う場合は、下記の7番から9番の申請は必要ありません ***
7. 在東京タイ王国大使館にて、委任状の申請 (タイ市区役所にて婚姻手続きを行うため)
8. 在東京タイ王国大使館にて、姓名変更に関する同意書の申請 (夫婦二人ともタイに渡航できず、タイ市区役所にて婚姻書類に署名出来ない場合、 在東京タイ王国大使館にて婚姻書類に署名していただく必要があります)
9. 在東京タイ王国大使館にて、女性の敬称(ミス、ミセス)に関する証明書の申請 (タイ国籍の女性のみ)
10. 在東京タイ王国大使館にて翻訳認証済みの「婚姻受理証明書」をタイ外務省で認証を受ける
11. タイ外務省の認証を受けた後、タイ国籍者の住所登録のあるタイ市区役所で「家族身分登録書(婚姻)」を申請する
12. タイ市区役所で「家族身分登録書(婚姻)」の発行後、「住居登録証」 の記載事項を婚姻後の夫/妻の姓名に変更する手続き等を行う
13. タイ市区役所で新しく国民身分証明書を申請し、タイ外務省で新しくパスポートを申請する(本人がタイに帰国しない場合、在東京タイ王国大使館で新しく国民身分証明書とパスポートを申請する)
タイの市区役所にて「家族身分登録書(婚姻)」の申請
1. 戸籍申請書(戸籍申請書は在京タイ王国大使館ホームページからダウンロードできます。)
3. 国民身分証明書又はその代わりになる、タイ公的機関が発行した認証印付き顔写真が添付されている人物証明書とその裏表のコピー1部。
4.タイ住居登録証原本、もしくはタイ市役所認証印のある謄本とそのコピーを1部。
5.氏名を変更したことがある場合は、氏名変更証明書の原本とそのコピー1部。
7. 日本国籍の方と婚姻している場合は、婚姻事項の記載がある戸籍謄本原本とそのコピー1部。(外務省領事局証明班の認証済みのもの。また、認証を受けてから3ヶ月以内のもの。)また、タイ語翻訳文とそのコピー1部。
8. タイ国籍もしくは、日本国籍以外の外国籍の方と婚姻している場合は、婚姻受理証明書原本とそのコピー1部。(外務省領事局証明班の認証済みのもの。また、認証を受けてから3ヶ月以内のもの。)また、タイ語翻訳文とそのコピー1部。
9. 配偶者のパスポートもしくは、運転免許証コピー2部。
10. 受任者のタイ国民身分証明書コピー1部及びタイ住居登録証コピー1部。
***ただし、夫婦どちらか一方がタイへ渡航しタイ市区役所にて直接申請を希望し、もう一方はタイへ渡航しタイ市区役所にて姓名変更に関する同意書に署名できない場合、先に在京タイ王国大使館にて姓名変更に関する同意書と外務省認証済みの「戸籍謄本」とタイ語翻訳文の翻訳認証の申請が可能です。必要書類は、戸籍申請書 ( 戸籍申請書は在京タイ王国大使館ホームページからダウンロードできます。もしくは、大使館に用意してあります。 ) と上記の必要書類2番から9番までです。その後、在京タイ王国大使館から発行された書類をタイ市区役所での「家族身分登録書(婚姻)」の手続きの際に使用ください。