ข้อมูลเศรษฐกิจญี่ปุ่น


ท่าทีของญี่ปุ่นต่อผลการเจรจา TPP -1-

22/10/2015

  1. ผลการเจรจา TPP ที่สำคัญในส่วนที่เกี่ยวกับญี่ปุ่น

    1. ข้าว – ญี่ปุ่นยังคงภาษีนำเข้าข้าวนอกโควตาที่ 341 เยน/กก. อยู่เช่นเดิม
      • อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นตกลงที่จะกำหนดโควตานำเข้าข้าวปลอดภาษีเพิ่มเติมภายใต้รูปแบบ Simultaneous Buying and Selling Tender (SBS) (ซึ่งเป็นการนำเข้าข้าวโดยบริษัทเอกชนผ่านการประมูล เพื่อไปจำหน่ายใส่หีบห่อหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์) ให้แก่สหรัฐฯ 50,000 ตัน และออสเตรเลีย 6,000 ตัน ใน 3 ปีแรกหลังจากที่ TPP มีผลใช้บังคับ จากนั้นจะเพิ่มปริมาณโควตาตั้งแต่ปีที่ 4 จนถึงปีที่ 13 จะเพิ่มปริมาณโควตาทีละขั้นจนถึงระดับ 70,000 ตัน และ 8,400 ตัน ตามลำดับ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 10 ของปริมาณรวมของข้าวที่ญี่ปุ่นนำเข้าจาก ตปท. ในปัจจุบันในระบบ Minimum Access (MA) ภายใต้ WTO จำนวน 770,000 ตัน
      • นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังให้สิทธิพิเศษแก่สหรัฐฯ ในการนำเข้าข้าวพันธุ์เมล็ดกลาง (Calrose Rice) สำหรับแปรรูปได้อีก 60,000 ตัน ภายใต้รูปแบบ SBS
      • ญี่ปุ่นจะลดภาษีการนำเข้าแป้งที่ทำจากข้าวสารที่มีประวัติการณ์นำเข้าในช่วงที่ผ่านมาลงร้อยละ 5 - 25 และยกเลิกภาษีนำเข้าแป้งข้าวที่ไม่ค่อยมีประวัติการนำเข้าอีกด้วย

        นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังให้สิทธิพิเศษแก่สหรัฐฯ ในการนำเข้าข้าวพันธุ์เมล็ดกลาง (Calrose Rice) สำหรับแปรรูปได้อีก 60,000 ตัน ภายใต้รูปแบบ SBS
        อนึ่ง ในส่วนของไทย ที่ผ่านมาญี่ปุ่นนำเข้าข้าวจากไทยโดยปลอดภาษีผ่านระบบ MA ภายใต้ WTO ประมาณปีละ 250,000 – 320,000 ตัน โดยเป็นข้าวชนิด long grain ต่างจากข้าวที่ญี่ปุ่นนำเข้าจากสหรัฐฯ และออสเตรเลีย ซึ่งเป็นชนิด medium grain

      • สหรัฐฯ จะยกเลิกภาษีนำเข้าข้าวที่ผลิตเพื่อตลาดสหรัฐฯ จากญี่ปุ่นในปีที่ 5 จากอัตราภาษี 1.4 cent/กก.


    2. ข้าวสาลี – ญี่ปุ่นยังคงภาษีนำเข้าข้าวสาลีนอกโควตาที่ 55 เยน/กก.
      • อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นตกลงที่จะกำหนดโควตานำเข้าปลอดภาษีข้าวสาลีจากสหรัฐฯ / แคนาดา และออสเตรเลีย 114,000 ตัน / 40,000 ตัน และ 38,000 ตัน ตามลำดับ ใน 6 ปีแรกที่ TPP มีผลใช้บังคับ และเพิ่มเป็น 150,000 ตัน / 53,000 ตัน และ 50,000 ตัน ตั้งแต่ปีที่ 7 ภายใต้รูปแบบ SBS อย่างไรก็ดี จะลดราคาค่าส่วนเพิ่ม (mark up) การนำเข้าข้าวสาลีที่รัฐบาลเก็บจากผู้ผลิต ร้อยละ 45 ภายในปีที่ 9
      • ญี่ปุ่นจะกำหนดโควตานำเข้าปลอดภาษีผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแป้งข้าวสาลี 45,000 ตัน ใน 5 ปีแรก หลังจากที่ TPP มีผลใช้บังคับ และเพิ่มเป็น 60,000 ตัน ตั้งแต่ปีที่ 6 และจะลดภาษีนำเข้าเส้นมักกะโรนีและสปาเก็ตตี้ลงร้อยละ 60 ภายในปีที่ 9


    3. ข้าวบาร์เลย์ - ญี่ปุ่นยังคงภาษีนำเข้าข้าวบาร์เลย์นอกโควตาที่ 39 เยน/กก.
      • อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นตกลงที่จะกำหนดโควตานำเข้าปลอดภาษีข้าวบาร์เลย์จากสหรัฐฯ แคนาดา และออสเตรเลีย รวม 25,000 ตัน ใน 8 ปีแรกที่ TPP มีผลใช้บังคับ และเพิ่มเป็น 65,000 ตัน ตั้งแต่ปีที่ 9 ภายใต้รูปแบบ SBS อย่างไรก็ดี จะลด mark up การนำเข้าข้าวบาร์เลย์ที่รัฐบาลเก็บจากผู้ผลิต ร้อยละ 45 ภายในปีที่ 9
      • ญี่ปุ่นจะกำหนดโควตานำเข้าปลอดภาษีข้าวมอล์ตจากสหรัฐฯ แคนาดา และออสเตรเลีย 188,700 ตัน ใน 10 ปีแรกที่ TPP มีผลใช้บังคับ และเพิ่มเป็น 201,000 ตัน ตั้งแต่ปีที่ 11


    4. น้ำตาล - ญี่ปุ่นยังคงกำหนดระดับค่าธรรมเนียมนำเข้าน้ำตาลทรายดิบ (Levy) ไว้เช่นเดิม อย่างไรก็ดี จะยกเว้นภาษีนำเข้าสำหรับน้ำตาลทรายดิบชนิด High Pol (ค่าความหวาน 98.5 – 99.3 ดีกรี) และลดค่า Levy จาก 42.4 เยน/กก. เหลือ 39.0 เยน/กก. (ปัจจุบัน ภายใต้ JTEPA ญี่ปุ่นเก็บภาษีนำเข้าน้ำตาล High Pol จากไทย 21.5 เยน/กก. และคิด Levy 39.6 เยน/กก.) และจะยกเว้นภาษีนำเข้าและยกเว้น Levy ให้สำหรับน้ำตาลทรายที่ที่ใช้สำหรับการทดลองผลิตภัณฑ์ใหม่ ในปริมาณ 500 ตัน โดยทันที นอกจากนี้ จะกำหนดโควตานำเข้าปลอดภาษีผลิตภัณฑ์เพิ่มความหวาน 62,000 ตัน ในช่วง 5 – 10 ปีแรก และเพิ่มเป็น 96,000 ตัน ในปีที่ 6 – 11 แตกต่างกันไปตามพิกัดสินค้า

    5. เนื้อโค - ญี่ปุ่นปรับลดภาษีจากปัจจุบันที่ร้อยละ 38.5 ลงเหลือร้อยละ 27.5 ทันทีที่ TPP มีผลใช้บังคับ และลดเหลือร้อยละ 9 ในปีที่ 16 โดยหากปริมาณการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้นกะทันหันจะใช้มาตรการ Safeguard โดยหากไม่มีการนำ Safeguard มาใช้ติดต่อกัน 4 ปี ก็จะยกเลิกการใช้ Safeguard
      • สหรัฐฯ ให้โควตาปลอดภาษีนำเข้าสำหรับเนื้อโคจากญี่ปุ่น (Wagyu) จำนวน 3,000 ตัน ในปีแรกที่ TPP มีผลใช้บังคับ และเพิ่มเป็น 6,250 ตันในปีที่ 15 จากปัจจุบันที่ให้โควตานำเข้าภาษี 4.4 cent/กก. ปริมาณ 200 ตัน และอัตราภาษีนอกโควตาร้อยละ 26.4
      • แคนาดาและเม็กซิโกจะยกเลิกภาษีนำเข้าเนื้อโคญี่ปุ่น จากปัจจุบันที่ร้อยละ 26.5 และร้อยละ 25 ภายในปีที่ 6 และปีที่ 10 หลัง TPP มีผลใช้บังคับ ตามลำดับ


    6. เนื้อสุกร - ญี่ปุ่นปรับลดภาษีจากปัจจุบันที่ร้อยละ 38.5 ลงเหลือร้อยละ 27.5 ทันทีที่ TPP มีผลใช้บังคับ และลดเหลือร้อยละ 9 ในปีที่ 16 โดยหากปริมาณการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้นกะทันหันจะใช้มาตรการ Safeguard โดยหากไม่มีการนำ Safeguard มาใช้ติดต่อกัน 4 ปี ก็จะยกเลิกการใช้ Safeguard
      • สหรัฐฯ ให้โควตาปลอดภาษีนำเข้าสำหรับเนื้อโคจากญี่ปุ่น (Wagyu) จำนวน 3,000 ตัน ในปีแรกที่ TPP มีผลใช้บังคับ และเพิ่มเป็น 6,250 ตันในปีที่ 15 จากปัจจุบันที่ให้โควตานำเข้าภาษี 4.4 cent/กก. ปริมาณ 200 ตัน และอัตราภาษีนอกโควตาร้อยละ 26.4
      • แคนาดาและเม็กซิโกจะยกเลิกภาษีนำเข้าเนื้อโคญี่ปุ่น จากปัจจุบันที่ร้อยละ 26.5 และร้อยละ 25 ภายในปีที่ 6 และปีที่ 10 หลัง TPP มีผลใช้บังคับ ตามลำดับ


    7. เนื้อไก่ ญี่ปุ่นจะปรับลดภาษีนำเข้าที่ร้อยละ 8.5 - 11.9 ลงทีละขั้นและยกเลิกในปีที่ 11 (ปัจจุบัน ภายใต้ JTEPA ญี่ปุ่นคิดภาษีนำเข้าเนื้อไก่จากไทยร้อยละ 8.5)

    8. ผลิตภัณฑ์นม - ญี่ปุ่นจะปรับลดภาษีนำเข้าชีสที่ผ่านการบ่ม เช่น เชดดาร์ เกาดาร์ ลงทีละขั้นและยกเลิกไปในปีที่ 16 / ลดภาษีนำเข้าบลูชีสจากปัจจุบันร้อยละ 29.8 ลงครึ่งหนึ่งภายในปีที่ 11 / ขยายโควตาการนำเข้าโพรเซสชีสจากนิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย สหรัฐฯ รวม 450 ตัน / ให้โควตานำเข้าปลอดภาษีนมผงขาดมันเนยและเนย 60,000 ตัน ใน 5 ปีแรก และเพิ่มเป็น 70,000 ตัน ตั้งแต่ปีที่ 6

    9. ผลิตภัณฑ์เกษตรอื่น ๆ
      • เวียดนามยกเลิกภาษีนำเข้าปลาบุริ (Japanese Amberjack) ปลาซาบะ ปลาซัมมะ (Cololabis saira) จากญี่ปุ่นโดยทันทีที่ TPP มีผลใช้บังคับ จากอัตราร้อยละ 11 - 15 ในปัจจุบัน
      • สหรัฐฯ และแคนาดายกเลิกภาษีนำเข้าสาลี่จากญี่ปุ่นโดยทันที จากปัจจุบันที่คิดอัตราภาษี 0.3 cent/กก. และร้อยละ 10.5 ตามลำดับ
      • สหรัฐฯ ยกเลิกภาษีนำเข้าซี่อิ๊ว (Shoyu) จากญี่ปุ่นในปีที่ 5 จากปัจจุบันที่คิดอัตราภาษีร้อยละ 3
      • สหรัฐฯ และแคนาดายกเลิกภาษีถั่วลิสงจากญี่ปุ่นโดยทันที จากปัจจุบันที่คิดอัตราภาษีร้อยละ 6.8 และ 16 ตามลำดับ


    10. ไวน์ – ญี่ปุ่นจะยกเลิกภาษีนำเข้าไวน์ในปัจจุบันที่ ร้อยละ 15 ของราคานำเข้า หรือ 125 เยน/ลิตร ภายในระยะเวลา 7 ปี

    11. รถยนต์ - ปท.สมาชิก TPP จะยกเลิกภาษีนำเข้ารถยนต์ที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนที่ผลิตใน ปท. สมาชิก TPP ในสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 55 โดยทันที นอกจากนี้ สหรัฐฯ จะยกเลิกภาษีนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์จากญี่ปุ่นมากกว่าร้อยละ 80 ของรายการสินค้าทั้งหมด ซึ่งมีมูลค่าประมาณปีละ 2 ล้านล้านเยน จากอัตราภาษีที่ร้อยละ 2.5 ในปัจจุบัน โดยทันทีหลัง คตล. TPP มีผลบังคับใช้ ในขณะที่ เวียดนามจะยกเลิกภาษีนำเข้ารถยนต์ขนาดใหญ่จากปัจจุบันที่ร้อยละ 70 ภายในระยะเวลา 10 ปี และแคนาดาจะยกเลิกภาษีนำเข้ารถยนต์จากปัจจุบันที่ร้อยละ 6

    12. เวชภัณฑ์ – ปท.สมาชิกเห็นพ้องที่จะขยายระยะเวลาเก็บบันทึกข้อมูลเวชภัณฑ์เป็น 8 ปี

    13. ทรัพย์สินทางปัญญา – ปท.สมาชิกเห็นพ้องที่จะขยายระยะเวลาคุ้มครองสิทธิจาก 50 ปี เป็น 70 ปี ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการรักษาผลกำไรได้นานขึ้น ทั้งนี้ ปท.สมาชิกตั้งเป้าที่จะสรุปเนื้อหาขั้นสุดท้ายของ คตล. และนำไปสู่การลงนามในช่วงต้นปี 2559 จากนั้นจะนำไปผ่านสภาฯ รับความเห็นชอบภายใน ปท. และมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการต่อไป
      • ประโยชน์ที่ญี่ปุ่นจะได้รับจาก TPP คือ Value Chain ภายใน ปท.สมาชิก ซึ่งจะทำให้มีการแลกเปลี่ยนสินค้า คน และเงินทุนที่เป็นเสรี และเกิดการค้าใหม่ ๆ ขจัดอุปสรรคด้านการค้า และเมื่อเกิดปัญหาก็มีกลไกที่หารือร่วมกัน ซึ่งจะนำไปสู่การเติบโตของ ศก. นอกจากนี้ TPP จะเป็นประโยชน์ต่อเสถียรภาพและความมั่นคงของภูมิภาคในทางอ้อม โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ได้รับอิทธิพลการแพร่ขยายทางอำนาจทางการทหารและ ศก. ของจีน และความพยายามของจีนที่จะตั้งกรอบกติกาทางการค้าในภูมิภาคที่มีจีนเป็นศูนย์กลาง
      • TPP เป็นประโยชน์ต่อทั้ง ปท.ศก.ขนาดใหญ่และเล็ก โดยทราบว่า กลต. และ ปท.บางแห่งในอาเซียน เช่น ฟิลิปปินส์ และไทย แสดงความสนใจที่จะเข้าร่วม TPP ด้วย ซึ่งเป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่ง อย่างไรก็ดี กฎพื้นฐานของ TPP เป็นการตกลงโดย 12 ปท.สมาชิกเริ่มแรก และจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ จากการเข้าร่วมของสมาชิกใหม่ นอกจากนี้ จะยังเป็นแกนสำคัญสำหรับการเจรจา คตล. อื่น ๆ เช่น RCEP / EPA ญี่ปุ่น – EU ด้วย
      • จะนำ TPP เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาญี่ปุ่นในโอกาสแรก ซึ่งน่าจะเป็นประเด็นแรก ๆ ที่พิจารณาในการประชุมรัฐสภาสมัยต่อไปที่จะเปิดประชุมในเดือน ม.ค. 59
      • จะเร่งทำความเข้าใจกับเกษตรกรญี่ปุ่นว่า อก.เกษตรของญี่ปุ่นเป็น อก.ที่สามารถเติบโตได้ และ รบ.ญี่ปุ่นกำลังพิจารณามาตรการที่เหมาะสม


  2. ท่าทีของภาคส่วนต่าง ๆ ของญี่ปุ่น

    1. นรม. Abe แถลงว่า การบรรลุผลการเจรจา TPP นับเป็นผลสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ต่ออนาคตของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และเป็นผลงานชิ้นใหญ่ตั้งแต่การจัดตั้ง รบ. ตลอดจนยังมีความหมายถึงแผนงานระยะยาวซึ่ง ปท. ต่าง ๆ ที่มีค่านิยมร่วมกันได้สร้างเขต ศก. ที่เปิดเสรีและยุติธรรม นอกจากนี้ ยังย้ำว่า รบ. ญี่ปุ่นมีหน้าที่ต้องปกป้อง อก.เกษตรให้ผู้ผลิตสามารถดำเนินการผลิตได้อย่างเต็มความสามารถ และจะใส่ใจต่อข้อกังวลของเกษตรกร และกล่าวว่า TPP จะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น และต้องการให้ใช้ประโยชน์จากโอกาสครั้งนี้ในเวทีโลกอย่างสูงสุด

    2. นาย Akira Amari รมว.ดูแลด้าน ศก. และการคลังญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะเจรจา TPP ระดับ รมต. ญี่ปุ่นได้ให้สัมภาษณ์สื่อ ดังนี้
      • ประโยชน์ที่ญี่ปุ่นจะได้รับจาก TPP คือ Value Chain ภายใน ปท.สมาชิก ซึ่งจะทำให้มีการแลกเปลี่ยนสินค้า คน และเงินทุนที่เป็นเสรี และเกิดการค้าใหม่ ๆ ขจัดอุปสรรคด้านการค้า และเมื่อเกิดปัญหาก็มีกลไกที่หารือร่วมกัน ซึ่งจะนำไปสู่การเติบโตของ ศก. นอกจากนี้ TPP จะเป็นประโยชน์ต่อเสถียรภาพและความมั่นคงของภูมิภาคในทางอ้อม โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ได้รับอิทธิพลการแพร่ขยายทางอำนาจทางการทหารและ ศก. ของจีน และความพยายามของจีนที่จะตั้งกรอบกติกาทางการค้าในภูมิภาคที่มีจีนเป็นศูนย์กลาง
      • TPP เป็นประโยชน์ต่อทั้ง ปท.ศก.ขนาดใหญ่และเล็ก โดยทราบว่า กลต. และ ปท.บางแห่งในอาเซียน เช่น ฟิลิปปินส์ และไทย แสดงความสนใจที่จะเข้าร่วม TPP ด้วย ซึ่งเป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่ง อย่างไรก็ดี กฎพื้นฐานของ TPP เป็นการตกลงโดย 12 ปท.สมาชิกเริ่มแรก และจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ จากการเข้าร่วมของสมาชิกใหม่ นอกจากนี้ จะยังเป็นแกนสำคัญสำหรับการเจรจา คตล. อื่น ๆ เช่น RCEP / EPA ญี่ปุ่น – EU ด้วย
      • จะนำ TPP เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาญี่ปุ่นในโอกาสแรก ซึ่งน่าจะเป็นประเด็นแรก ๆ ที่พิจารณาในการประชุมรัฐสภาสมัยต่อไปที่จะเปิดประชุมในเดือน ม.ค. 59
      • จะเร่งทำความเข้าใจกับเกษตรกรญี่ปุ่นว่า อก.เกษตรของญี่ปุ่นเป็น อก.ที่สามารถเติบโตได้ และ รบ.ญี่ปุ่นกำลังพิจารณามาตรการที่เหมาะสม

    3. พรรค รบ. นางโทโมมิ อินะดะ ประธาน คกก.ด้านนโยบายของพรรค LDP กล่าวว่า TPP เป็นแผนงานที่เชื่อมโยงกับความมั่งคั่งของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และ รบ.ญี่ปุ่น จะให้ความสำคัญต่อการสร้าง อก.เกษตร ที่เข้มแข็งและจะใช้นโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อการฟื้นฟู ศก. และท้องถิ่น นอกจากนี้ กลุ่มด้านการเกษตรของพรรค LDP ยังเน้นย้ำว่า สิ่งสำคัญต่อไป ได้แก่ การดำเนินมาตรการที่เกี่ยวข้องภายใน ปท.

    4. พรรคฝ่ายค้าน นายโกชิ โฮโซโนะ พรรค DPJ วิพากษ์วิจารณ์ว่า จะส่งผลกกระทบต่อภาคการเกษตรและประมงอย่างมาก และจะต่อต้านอย่างเต็มที่ ขณะที่นายโยริฮิสะ มัตสึโนะ หัวหน้าพรรค Japan Innovation Party เห็นด้วยและชื่นชมกับความสามารถเห็นพ้องร่วมกันด้วยกฎเกณฑ์ในการสร้างเขตการค้าเสรีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เพียงแต่การไม่เปิดเผยขั้นตอนการเจรจาแก่ ปชช. ถือเป็นปัญหาสำคัญ

    5. ภาคธุรกิจ
      • ประธานสมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น (เคดันเรน)ชื่นชมถึงความพยายามในการเจรจาของญี่ปุ่นและเห็นว่า คตล. TPP เป็นส่วนสำคัญของยุทธศาสตร์การเติบโตของญี่ปุ่น
      • ประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (JCCI) เห็นด้วยถึงความสำคัญของ คตล. TPP ซึ่งจะนำมาซึ่งผลสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะจากการที่ SME ญี่ปุ่นจะสามารถดำเนินธุรกิจด้วยวิสัยทัศน์ระดับนานาชาติ
      • ประธานสมาคมผู้บริหารองค์กรญี่ปุ่น (Japan Association of Corporate Executives) ยินดีกับความก้าวหน้าของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มุ่งไปสู่เขต ศก. เสรี

  3. มุมมองของภาคส่วนต่าง ๆ ของญี่ปุ่น ต่อ TPP

    1. นสพ. Nikkei วิเคราะห์ว่าสิ่งที่ผลักดันการบรรลุข้อตกลงในการเจรจาที่ยากลำบากในหลายสาขา เช่น ผลิตภัณฑ์นมหรือเวชภัณฑ์ ได้ในท้ายสุด คือ วิสัยทัศน์ซึ่งให้ความสำคัญกับการกำหนดกฎเกณฑ์มากกว่าผลประโยชน์ในอนาคตอันใกล้ และสิ่งที่อยู่เบื้องหลังคือ การก้าวขึ้นมามีอำนาจของจีน ซึ่งใช้กำลังทางทหารในน่านน้ำทะเลจีนใต้และรัฐวิสาหกิจที่ครอบงำตลาด ทำให้มองเห็นอนาคตที่ไม่มั่นคงจากการกระทำด้วยการตัดสินใจและอำนาจที่ยึดตนเป็นที่ตั้งของจีน ซึ่งความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่นในโครงการรถไฟความเร็วสูงในอินโดนีเซียเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งนี้ ดังนั้น ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจึงจำเป็นต้องสร้างกฎเกณฑ์ทาง ศก. ที่เสรีและโปร่งใส เช่น การให้บริการขนส่งที่รวดเร็ว การควบคุมบริษัทที่ทำผิด กม. แรงงาน หรือการให้คำมั่นด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม เพราะกลุ่ม ปท. กำลังพัฒนาต่างต่อต้านและไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของ WTO ซึ่งมีมานานกว่า 20 ปี
      นอกจากนี้ คตล. TPP ยังอาจเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้สังคมญี่ปุ่นปรับตัวสู่ต่างประเทศมากขึ้น โดยหากความสัมพันธ์ที่ต้องพึ่งพากันด้านการลงทุนหรือการแลกเปลี่ยนระหว่างบุคคลแน่นแฟ้นขึ้น ความมั่นคงในภูมิภาคก็จะเพิ่มขึ้น การต่อสู้กับจีนไม่ใช่เพียงแต่การใช้กำลังทางทหาร แต่ TPP มีศักยภาพในการเพิ่มความมั่นคงทั้งด้าน ศก. และความปลอดภัยในภูมิภาคด้วย โดยความท้าทายต่อไปของ TPP คือการเพิ่มจำนวนสมาชิก

    2. ศจ. โยริสึมิ วะตะนะเบะ ม.เคโอ กล่าวว่าญี่ปุ่นมีเป้าหมายที่จะใช้กฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นภายใต้กรอบ TPP เป็นต้นแบบนำไปปรับใช้กับการเจรจา คตล. การค้าเสรีญี่ปุ่น-จีน-กลต. และ RCEP ซึ่งการสร้าง Mega FTA นับเป็นยุทธศาสตร์การเติบโตหลักของ รบ. โดย รบ.ญี่ปุ่นมีเป้าหมายที่จะเพิ่มมูลค่าการค้าภายใต้ คตล.การค้าเสรีญี่ปุ่น-จีน-กลต. / RCEP / EPA กับประเทศต่าง ๆ และ TPP เป็นสัดส่วนร้อยละ 70 ของมูลค่าการค้าทั้งหมด ภายในปี 2561 ซึ่ง คตล. การค้าเสรี รวมทั้ง TPP จะช่วยแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมในการแข่งขันของ บ.ญป. ให้ดีขึ้น โดยเฉพาะประเด็นการแข่งขันกับจีน โดยได้รวมเอากฎเกณฑ์ที่มีมาตรฐานสูงในด้านการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และเสรีการลงทุน ซึ่งเห็นได้ชัดว่ามีเนื้อหาที่คำนึงถึงบทบาทของจีนอย่างชัดเจนเพราะล้วนแต่เป็นปัญหาที่ทำให้ บ.ต่างชาติที่ไปลงทุนในจีนเดือดร้อน

    3. การใช้บังคับ TPP จะทำให้ธุรกิจของญี่ปุ่นสามารถดำเนินธุรกิจใน ปท.สมาชิก ได้มากขึ้น เช่น
      1. ธุรกิจการค้าปลีกและการเงิน จะได้รับประโยชน์จากการยกเลิกและผ่อนคลายกฎระเบียบสำหรับเงินทุนจาก ตปท. ใน ปท. ต่าง ๆ เช่น มาเลเซียและเวียดนาม
      2. ธุรกิจการผลิตยา จะสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ยาที่มีความก้าวหน้าล่าสุดได้ง่ายขึ้น
      3. ธุรกิจภาพยนตร์และอนิเมชั่น จะได้รับประโยชน์จากการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เพิ่มขึ้นเป็น 70 ปี
      4. ธุรกิจการก่อสร้าง จะมีโอกาสในการเข้าประมูลนานาชาติในโครงการภาครัฐของ ปท.สมาชิก ได้เพิ่มขึ้น
      5. ธุรกิจเสื้อผ้า จะมีความสะดวกในการจัดหาวัตถุดิบและการเลือกพื้นที่ผลิตที่เปิดเสรีมากขึ้น

  4. มาตรการรองรับในประเทศของญี่ปุ่นต่อจากนี้
    1. เมื่อ 8 ต.ค. 58 ก.เกษตร ป่าไม้ และประมงญี่ปุ่น ได้ประกาศกำหนดการยกเลิกภาษีนำเข้าของผลิตภัณฑ์การเกษตรมากกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งหมด 834 รายการ ซึ่งเป็นผลจาก TPP โดยมีสินค้าสำคัญ ดังนี้
      สินค้า อัตราภาษีนำเข้าปัจจุบัน (ร้อยละ) ระยะเวลาที่จะยกเลิกภาษีนำเข้าหลัง TPP มีผลใช้บังคับ
      ผลไม้
      องุ่น 7.8 (มี.ค. – ต.ค.)  และ 17 (พ.ย. – มี.ค.) ทันทีที่ TPP มีผลใช้บังคับ
      ส้ม 16 (มิ.ย. – พ.ย.)  และ 32 (ธ.ค. – พ.ค.) ปีที่ 6 (เม.ย. – พ.ย.) และปีที่  8 (ธ.ค. – มี.ค.)  และมีการใช้ safeguard
      น้ำส้ม 21.3 ปีที่ 6 - 11
      แอปเปิ้ล 17 ปีที่ 11
      น้ำแอปเปิ้ล 19.1 ปีที่ 8 - 11
      เชอรี่ 8.5 ปีที่ 6
      สับปะรด 17 ปีที่ 11
      เนื้อสัตว์
      ไส้กรอก 10 - 20 ปีที่ 6
      ลิ้นวัว 12.8 ปีที่ 11
      เนื้อไก่ 8.5 และ 11.9 ปีที่ 11
      ผลิตภัณฑ์ไก่แปรรูป 6 และ 21.3 ปีที่ 6 - 11
      เครื่องในวัว 12.8 ปีที่ 13
      ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมเนื้อวัวไม่เกิน 30% 21.3 ปีที่ 11
      เครื่องในหมูแช่เย็น 8.5 ปีที่ 11
      เครื่องในหมูแช่แข็ง 8.5 ปีที่ 8
      ลูกหมู 8.5 ทันทีที่ TPP มีผลใช้บังคับ
      ไข่ไก่พร้อมเปลือก 17 – 21.3 ปีที่ 13
      ไข่ขาว 8 ทันทีที่ TPP มีผลใช้บังคับ
      ผลิตภัณฑ์แปรรูป
      มาการีน 29.8 ปีที่ 6
      คุกกี้ 15 ปีที่ 6
      หมากฝรั่ง 24 ปีที่ 11
      น้ำมะเขือเทศและซอสมะเขือเทศ 17 – 29.8 ปีที่ 6 - 11
      ขนมที่ทำจากน้ำแข็ง 21.3 – 29.8 ปีที่ 11
      ไอศกรีม 21 – 29.8 ลดภาษีลงร้อยละ 63 – 67 ในปีที่ 6
      โยเกิร์ตแช่แข็ง 26.3 และ 29.8 ปีที่ 11
      วิปครีม 25.5 ปีที่ 6
      นมผงสำหรับทารก 21.3 และ 23.8 ปีที่ 11
      ผลิตภัณฑ์ประมง
      ไข่ปลานิชิน (Pacific Herring) (ผสมเกลือ) 8.4 ทันทีที่ TPP มีผลใช้บังคับ
      ปลาทูน่ากระป๋อง 9.6 ทันทีที่ TPP มีผลใช้บังคับ
      ปลาแซลมอนแดง (Red Salmon) (สด) 3.5 ปีที่ 6
      ปลาแซลมอนเงิน (Silver Salmon) 3.5 ปีที่ 11
      กุ้ง 1 - 2 ทันทีที่ TPP มีผลใช้บังคับ
      ผลิตภัณฑ์กุ้งแปรรูป 4.8 – 5.3 ทันทีที่ TPP มีผลใช้บังคับ
      ปู 4 ทันทีที่ TPP มีผลใช้บังคับ
      ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
      ถั่วแดง 10 ทันทีที่ TPP มีผลใช้บังคับ
      ถั่วลิสง 10 ทันทีที่ TPP มีผลใช้บังคับ
      ชา 17 ปีที่ 6
      น้ำผึ้ง (ธรรมชาติ) 25.5 ปีที่ 8




Back to the list