ข้อมูลเศรษฐกิจญี่ปุ่น


ท่าทีของญี่ปุ่นต่อผลการเจรจา TPP -2-

22/10/2015

  1. การประกาศกำหนดเวลาการยกเลิก/ลดภาษีของสินค้าต่าง ๆ เพิ่มเติมโดยภาครัฐญี่ปุ่น

    1. สินค้าด้านการเกษตร

      ภายหลังจากที่ เมื่อ 8 ต.ค. 58 ก.เกษตร ป่าไม้ และประมงญี่ปุ่น (MAFF) ได้ประกาศกำหนดการยกเลิกภาษีนำเข้าของผลิตภัณฑ์การเกษตรอันเนื่องมาจากผลการเจรจา TPP ส่วนหนึ่งไปแล้ว เมื่อ 15 ต.ค. 58 ได้มีการประกาศกำหนดการยกเลิก/ลดภาษีของผลิตภัณฑ์การเกษตรเพิ่มเติม ดังนี้


      สินค้า  อัตราภาษีนำเข้าปัจจุบัน (ร้อยละ) ระยะเวลาที่จะยกเลิกภาษีนำเข้าหลัง TPP มีผลใช้บังคับ

      ผัก

      กะหล่ำปลี / ต้นหอม / ผักขม / แครอท / หัวไชเท้า / พริกหยวก / ผักกาด / บล็อกโครี่ / หน่อไม้ฝรั่ง / ฟักทอง

      3

      ทันทีที่ TPP มีผลใช้บังคับ

      มันฝรั่ง (สด)

      4.3

      ทันทีที่ TPP มีผลใช้บังคั

      มันฝรั่ง (สำหรับใช้แปรรูป)

      8.5 - 20

      ปีที่ 4 - 11

      ข้าวโพดหวาน

      6

      ปีที่ 4

      หัวหอม (ที่มีราคาต่ำกว่า 73.7 เยน/กก.)

      8.5

      ปีที่ 6

      ผลไม้

      สตอเบอร์รี่ / เมลอน / แตงโม

      6

      ทันทีที่ TPP มีผลใช้บังคับ

      ผลิตภัณฑ์ประมง

      หอยเม่น (Uni) / ปลาหมึกยักษ์ (Tako)

      7

      ทันทีที่ TPP มีผลใช้บังคับ

      ไข่ปลาแซมอล (Ikura) ผสมเกลือและซี่อิ๊ว

      6.4

      ทันทีที่ TPP มีผลใช้บังคับ

      กุ้ง Lobster ตากแห้งหรือผสมเกลือ

      5

      ทันทีที่ TPP มีผลใช้บังคับ

      หอยเป๋าฮื้อสด

      7

      ปีที่ 11

      สาหร่ายตากแห้ง

      40

      ลดลงเหลือร้อยละ 34

      สาหร่าย Wakame

      10.5

      ลดลงเหลือร้อยละ 8.9


      • จากตารางปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าผัก คาดว่าจะทำให้ธุรกิจร้านอาหารในญี่ปุ่นได้รับประโยชน์ เนื่องจากร้านอาหารสามารถใช้ผักที่นำเข้าจาก ปท.สมาชิก TPP ได้ในราคาที่ถูกลง โดยผักที่ญี่ปุ่นนำเข้าจาก ปท.สมาชิก TPP มากในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่ บล็อกโครี่จากสหรัฐฯ / หน่อไม้ฝรั่งจากเม็กซิโก / ฟักทองจากนิวซีแลนด์ ทั้งนี้ จากสถิติของ MAFF ปัจจุบันญี่ปุ่นมีการบริโภคผักที่ผลิตภายในประเทศประมาณร้อยละ 80 เนื่องจากผู้บริโภคส่วนมากเน้นความสดของวัตถุดิบอาหาร ต่างจากวัตถุดิบที่ใช้ในการแปรรูปอาหารซึ่งจะไม่พิถีพิถันในเรื่องความสดมากนัก ดังนั้น การยกเลิกภาษีนำเข้าของผักหลายชนิดโดยทันทีหลังจาก TPP มีผลใช้บังคับอาจส่งผลกระทบในระดับที่จำกัด แต่เกษตรกรญี่ปุ่นส่วนใหญ่มีความกังวลว่า หากผักที่นำเข้าจาก ตปท. มีราคาถูกลง อาจส่งผลให้ผักที่ผลิตในประเทศมีราคาตกต่ำลงไปด้วย

      • จากตารางปรับลดภาษีนำเข้าสินค้าประมง คาดว่าจะทำให้ธุรกิจร้านอาหารในญี่ปุ่น โดยเฉพาะร้านขายซูชิได้รับประโยชน์จากวัตถุดิบในราคาที่ลดลง โดยปัจจุบัน ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นมีการใช้หอยเม่นที่นำเข้าจาก ตปท. มากกว่าครึ่งหนึ่ง โดยเฉพาะจากชิลี แคนาดา และสหรัฐฯ และไข่ปลาแซมอน ก็นำเข้าจากสหรัฐฯ จำนวนมาก ในขณะที่ ภาครัฐญี่ปุ่นพยายามปกป้องชาวประมงในประเทศ โดยเฉพาะผู้ผลิตสาหร่ายที่มีอยู่เป็นจำนวนมากและส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตรายเล็ก ทำให้อัตราภาษีนำเข้าของสาหร่ายจะลดลงในระดับหนึ่งเพียงเท่านั้น

      • อนึ่ง MAFF ระบุว่า อาจมีสินค้าเกษตรที่ได้รับผลกระทบเรื่องภาษีนำเข้าอีกจากการเจรจา TPP โดยขณะนี้ ยังอยู่ในระหว่างการเจรจาเพิ่มเติมในระดับ จนท. และจะประกาศเพิ่มเติมต่อไป ซึ่งแม้ว่า ญี่ปุ่นจะสามารถปกป้องสินค้าสำคัญ 5 ชนิด ได้แก่ ข้าว / ข้าวสาลี / เนื้อวัว-เนื้อหมู / ผลิตภัณฑ์นม / น้ำตาล ไว้ได้ในระดับหนึ่ง แต่สินค้าเกษตรอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่จะได้รับผลกระทบจากการยกเลิก/ลดภาษีนำเข้า ซึ่งเกษตรกรญี่ปุ่นไม่ทราบมาก่อน และเกิดความกังวลเป็นอย่างมาก ทำให้ในระยะต่อจากนี้ MAFF จะต้องเร่งทำความเข้าใจกับเกษตรกรญี่ปุ่นมากขึ้น

    2. สินค้าด้านอุตสาหกรรม

      ภเมื่อ 15 ต.ค. 58 รบ.ญี่ปุ่น ได้ประกาศรายการสินค้าอุตสาหกรรมที่ญี่ปุ่นส่งออกไปยัง ปท.สมาชิก TPP ที่จะได้รับประโยชน์ด้านภาษี ซึ่งมีสินค้าถึงประมาณร้อยละ 87 ของสินค้าอุตสาหกรรมที่ญี่ปุ่นส่งออกจำนวน 6,500 รายการ ที่จะมีการยกเลิกภาษีนำเข้าโดยทันทีหลังจากที่ TPP มีผลใช้บังคับ ดังนี้


      สินค้า อัตราภาษีในปัจจุบัน (ร้อยละ) ระยะเวลาที่จะมีการยกเลิกภาษีหลัง TPP มีผลใช้บังคับ

      คอนแทคเลนส์

      2

      ทันทีที่ TPP มีผลใช้บังคับ

      กล้องวีดีโอ

      2.1

      ทันทีที่ TPP มีผลใช้บังคับ

      ถ่านไฟฉาย (ยกเว้นแบบเหรียญ)

      2.5 – 3.5

      ทันทีที่ TPP มีผลใช้บังคับ

      ไม้กอล์ฟ

      4.4

      ทันทีที่ TPP มีผลใช้บังคับ

      แกรนด์เปียโน

      4.7

      ทันทีที่ TPP มีผลใช้บังคับ

      ตู้รถไฟ

      5

      ทันทีที่ TPP มีผลใช้บังคับ

      อะลูมิเนียม

      2.4 - 6

      ทันทีที่ TPP มีผลใช้บังคับ

      รถจักรยานยนต์

      2.4

      ปีที่ 5

      เครื่องจักรสำหรับอุตสาหกรรม

      2.2 – 4.4

      ปีที่ 5

      แผ่นไม้กระดาน

      8

      ปีที่ 5

      ผ้าเช็ดตัว

      9.1

      ปีที่ 5

      ยางรถยนต์ขนาดใหญ่

      3.4 - 4

      ปีที่ 10

      สายใยแก้วนำแสง

      6.7

      ปีที่ 12

      รองลื่น (แบริ่ง)

      9.9

      ปีที่ 12

      รถยนต์

      2.5

      ปีที่ 25


      • เมื่อคำนวณจากมูลค่าการส่งออกจากญี่ปุ่นไปยัง ปท. สมาชิก TPP อีก 11 แห่ง ประมาณ 19 ล้านล้านเยน จะทำให้ญี่ปุ่นได้รับประโยชน์ทันทีกว่าร้อยละ 76.6 ของมูลค่ารวม โดยธุรกิจที่น่าจะได้รับประโยชน์ ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและเคมีภัณฑ์ ซึ่งเอกชนญี่ปุ่นมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง โดยเมื่อแยกรายประเทศแล้ว สินค้าที่ญี่ปุ่นส่งออกไปยังนิวซีแลนด์และออสเตรเลียกว่าร้อยละ 98 และ 94 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด จะได้รับการยกเลิกภาษีโดยทันที

      • สำหรับตลาดสหรัฐฯ ปัจจุบัน ญี่ปุ่นส่งออกกล้องวีดีโอไปยัง ตปท. มูลค่า 490,000 ล้านเยน โดยในจำนวนนี้ส่งออกไปสหรัฐฯ มากกว่าร้อยละ 20 การที่กล้องวีดีโอได้รับการยกเลิกภาษีทันทีหลัง TPP มีผลใช้บังคับ จะทำให้กล้องวีดีโอของญี่ปุ่นซึ่งมีความโดดเด่นทั้งในด้าน Brand และคุณภาพ มีขีดความสามารถในการแข่งขันด้านราคามากขึ้น ในขณะที่ ธุรกิจพลาสติก เคมีภัณฑ์ เส้นใย ซึ่งญี่ปุ่นส่งออกไปยังสหรัฐฯ จำนวนมาก ก็จะได้รับประโยชน์เข่นเดียวกัน ทั้งนี้ ในส่วนของรถจักรยานยนต์ ซึ่งญี่ปุ่นส่งออกไปสหรัฐฯ ประมาณร้อยละ 30 ของการส่งออกทั้งหมด โดยเฉพาะจากบริษัท Honda, Yamaha และ Kawazaki จะได้รับการยกเลิกภาษีในปีที่ 5 ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทญี่ปุ่นมีส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐฯ มากขึ้น

      • อนึ่ง ญี่ปุ่นจะต้องเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรมจาก ปท.สมาชิก TPP เช่นกัน โดยจะต้องยกเลิกภาษีสำหรับเส้นใย และเคมีภัณฑ์โดยส่วนใหญ่โดยทันทีหลังจากที่ TPP มีผลใช้บังคับ ในขณะที่ สินค้าที่จะยกเลิกภาษีช้าที่สุดในปีที่ 16 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง เช่น กระเป๋าและรองเท้า

  2. การดำเนินการเพิ่มเติมของ รบ.ญี่ปุ่น

    1. นรม. Abe ได้กล่าวในการประชุมใหญ่ของสหกรณ์การเกษตรทั่วประเทศของญี่ปุ่นที่กรุงโตเกียว เมื่อ 15 ต.ค. 58 โดยระบุถึงการเจรจา TPP ซึ่งบรรลุข้อตกลงโดยส่วนใหญ่ว่า ญี่ปุ่นสามารถปกป้องตลาดสินค้าสำคัญ 5 ชนิดได้ โดยเป็นหนึ่งในผู้นำในการเจรจา และได้พยายามอย่างถึงที่สุดเพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติ โดยในระยะต่อจากนี้ จะใช้มาตรการรับมือและเสริมสร้างขีดความสามารถของเกษตรกรในประเทศ โดยประสานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อลดความกังวลของเกษตรกร

    2. นาย Motoo Hayashi รมว.ศก.การค้า และ อก. (METI) ได้ประกาศจัดตั้งศูนย์สนับสนุนนโยบายสำหรับ TPP ภายใน ก.METI เมื่อ 15 ต.ค. 58 เพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและเตรียมความพร้อมสำหรับ SMEs ที่จะไปขยายกิจการใน ตปท. โดยใช้ประโยชน์จาก TPP และได้จัดการประชุมนัดแรกในวันเดียวกัน โดยในระยะต่อจากนี้จะมีการจัดสัมมนาการใช้ประโยชน์จาก TPP ในการลงทุนสำหรับ SMEs ญี่ปุ่น ในทุกจังหวัดในญี่ปุ่น และใน ปท. สมาชิก TPP ตั้งแต่ภายในเดือนนี้ และตั้งเป้าให้มากกว่า 100 ครั้งภายในปี งปม. นี้ และจะร่วมมือกับ JETRO และ Organization for Small & Medium Enterprise and Regional Innovation (SMRJ) ในการให้ข้อมูลต่อ SMEs และสนับสนุนการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างเกษตรกรกับ SMEs เพื่อเพิ่มการส่งออกไปยัง ปท.สมาชิก TPP

    3. รบ.ญี่ปุ่น ประกาศเมื่อ 16 ต.ค. 58 ว่า มีแผนที่จะเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณา งปม. เพิ่มเติม ประจำปี 2558 ในช่วงเดือน ม.ค. 59 โดยให้ความสำคัญต่อการดำเนินตามนโยบาย Abenomic ใหม่ (ตามโทรเลข สอท. ที่ TYO 1347/2558 ลว. 16 ต.ค. 58) และเพื่อใช้ในมาตรการป้องกันผลกระทบจาก TPP โดยเฉพาะการสนับสนุนเกษตรกร เช่น เสริมสร้างศักยภาพในการส่งออก และการทำ Branding ของผลิตภัณฑ์การเกษตร โดยคาดว่า งปม. น่าจะมีมูลค่ามากกว่า งปม.เพิ่มเติมที่อนุมัติสำหรับปี 2557 ที่ 3.1 ล้านล้านเยน




Back to the list