ข้อมูลเศรษฐกิจญี่ปุ่น


ความเคลื่อนไหวท่าทีญี่ปุ่นในการเจรจา TPP ในช่วงเดือน ก.ย. 58

21/10/2015

  1. ท่าทีญี่ปุ่นในภาพรวม

    • นรม. อาเบะ ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องการเจรจา TPP ในระหว่างการบรรยายที่กรุงโตเกียวว่า การเจรจามีความคืบหน้าจนใกล้ถึงจุดเป้าหมายแล้ว ซึ่งการเจรจาทวิภาคีกับสหรัฐฯ จะเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการนำไปสู่การสรุปข้อตกลงโดยส่วนใหญ่ได้ จึงจะร่วมมือกับสหรัฐฯ ใช้ความเป็นผู้นำในกรอบ TPP เพื่อให้บรรลุข้อตกลงโดยส่วนใหญ่ได้โดยเร็ว ทั้งนี้ ประสงค์ที่จะให้มีการบรรลุข้อตกลงให้ได้มากที่สุดในการเจรจาระดับ รมต. TPP ที่จะมีขึ้นระหว่าง 28 - 31 ก.ค. ศกนี้ ที่ฮาวาย โดยจะมีการเจรจาระดับ จนท. ระดับสูง ก่อนที่ฮาวาย ระหว่าง 24 – 27 ก.ค. 58 ซึ่งหัวหน้าคณะของญี่ปุ่น คือ นาย Koji Tsuoka หัวหน้าคณะเจรจาการค้าของญี่ปุ่น

    • ประเด็นที่มีความยากลำบากที่จะได้ข้อสรุปมากที่สุดในการเจรจาในภาพรวมทั้ง 12 ประเทศ ได้แก่ ประเด็นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะประเด็นระยะเวลาการเก็บบันทึกข้อมูลเวชภัณฑ์ ซึ่งสหรัฐฯ ยืนยันระยะเวลา 12 ปี ในขณะที่ ประเทศบางแห่ง เช่น ออสเตรเลีย และประเทศสมาชิกในเอเชีย อาทิ มาเลเซีย คัดค้านว่าควรจะเป็น 5 ปี

    • ในส่วนของการเจรจาทวิภาคี ประเด็นสำคัญที่ยังคั่งค้างในส่วนของญี่ปุ่น ได้แก่
      1. การเจรจากับสหรัฐฯ โดยเฉพาะในเรื่องที่ญี่ปุ่นจะต้องพิจารณาเพิ่มโควตาปลอดภาษีนำเข้าข้าวสารจากสหรัฐฯ และสหรัฐฯ จะต้องพิจารณายกเลิกภาษีชิ้นส่วนรถยนต์ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ให้แก่ญี่ปุ่น
      2. การเจรจากับออสเตรเลีย ซึ่งต้องการให้ญี่ปุ่นเพิ่มโควตาปลอดภาษีนำเข้าข้าวสารจากออสเตรเลียเช่นกัน ซึ่งญี่ปุ่นคงจะต้องพิจารณาโดยใช้ผลการเจรจากับสหรัฐฯ เป็นบรรทัดฐานในการตัดสินใจ
      3. การเจรจากับแคนาดา ซึ่งมีความล่าช้ามากในหลายเรื่อง

  2. ความเคลื่อนไหวในการเจรจากับสหรัฐฯ

    ในช่วงวันที่ 8 - 10 ก.ค. ที่ผ่านมา ได้มีการเจรจา TPP ญี่ปุ่น – สหรัฐฯ ในระดับ จนท. โดยหัวหน้าคณะเจรจาของญี่ปุ่นได้แก่นาย Hiroshi Oe ผู้แทนการเจรจาการค้าระดับสูงของญี่ปุ่น และนาง Wendy Cutler รองผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ซึ่งมีการหารือเกี่ยวกับประเด็นที่ยังคั่งค้าง ได้แก่

    1. การพิจารณาของญี่ปุ่นในการเพิ่มโควตาปลอดภาษีนำเข้าข้าวให้แก่ข้าวสารจากสหรัฐฯ

      • ท่าทีของญี่ปุ่น: ต้องการให้สหรัฐฯ ยกเลิกภาษีนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจำนวนประมาณ 300 รายการ เช่น ล้อรถ เข็มขัดนิรภัย จากญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันอัตราภาษีอยู่ที่ร้อยละ 2.5 โดยทันทีหลังจากที่ คตล. TPP มีผลใช้บังคับ ทั้งนี้ ญี่ปุ่นมีมูลค่าการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปยังสหรัฐฯ ประมาณ 2 ล้านล้านเยน/ปี ดังนั้น การยกเลิกภาษีให้แก่ญี่ปุ่น จะทำให้สหรัฐฯ สูญเสียรายได้ประมาณ 50,000 ล้านเยน/ปี

      • ท่าทีของสหรัฐฯ: ยินยอมยกเลิกภาษีนำเข้าให้แก่ชิ้นส่วนรถยนต์จากญี่ปุ่น มากกว่าร้อยละ 50 ของรายการทั้งหมดที่ญี่ปุ่นเสนอ อาทิ ฟิลเตอร์กรองไอเสีย แต่สินค้าบางรายการ เช่น มอเตอร์ Gear Box จำเป็นที่จะต้องค่อย ๆ ลดภาษีในระยะยาว โดยอาจนานที่สุดถึงภายใน 10 ปี หลังจาก คตล. TPP มีผลใช้บังคับ เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศของสหรัฐฯ สำหรับ ภาษีนำเข้ารถยนต์จากญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 2.5 เช่นกัน สหรัฐฯ จะยกเลิกภาษีให้แต่คงจะต้องนานกว่า 10 ปี หลังจาก คตล. TPP มีผลใช้บังคับ โดยอาจจะนานถึง 20 – 30 ปี

      • ความคืบหน้าล่าสุด:

        • ยังไม่สามารถจำนวนรายการสินค้าที่สหรัฐฯ จะยกเลิกภาษีนำเข้าให้ได้ทันที ได้ในการเจรจาระดับ จนท. และจะต้องพิจารณาในการเจรจาระดับ รมต. ที่ฮาวายต่อไป

        • ในการเจรจาระดับ รมต. ที่ฮาวาย ญี่ปุ่นจะพยายามเจรจาให้สหรัฐฯ เพิ่มรายการสินค้าที่จะยกเลิกภาษีนำเข้าให้โดยทันทีหลังจาก คตล. TPP บังคับใช้ ให้ได้มากที่สุด
    2. การพิจารณาของสหรัฐฯ ในการพิจารณายกเลิกภาษีชิ้นส่วนรถยนต์ให้แก่ญี่ปุ่น

  3. การเจรจากับประเทศสมาชิกอื่น ๆ

    • ปัจจุบัน ญี่ปุ่นสามารถบรรลุผลการเจรจาทวิภาคีกับประเทศสมาชิก TPP ได้แล้ว 6 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม ชิลี และปรู และยังไม่สามารถสรุปผลการเจรจาได้กับ 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐฯ ออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ และเม็กซิโก

    • ในการเจรจากับมาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน นั้น สามารถบรรลุผลได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากประเทศเหล่านี้มี คตล.หุ้นส่วน ศก. (EPA) กับญี่ปุ่นอยู่แล้ว และประเทศเหล่านี้ไม่ค่อยมีการส่งออกสินค้าเกษตรที่มีความอ่อนไหวไปยังญี่ปุ่น ในส่วนของเวียดนาม ซึ่งมี EPA กับญี่ปุ่นอยู่เช่นกัน แต่พยายามขอให้ญี่ปุ่นเปิดตลาดข้าวให้ นั้น ได้มีการสรุปผลการเจรจาว่า ญี่ปุ่นจะไม่ลดภาษีนำเข้าและให้โควตานำเข้าข้าวแก่เวียดนาม แต่จะให้ความร่วมมือในการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการปลูกข้าวที่ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรทดแทน

    • ในการเจรจากับออสเตรเลีย ซึ่งขอให้ญี่ปุ่นเปิดตลาดข้าวเช่นกัน ญี่ปุ่นคาดว่าจะพิจารณาให้โควตาปลอดภาษีแก่ออสเตรเลียประมาณร้อยละ 10 ของปริมาณโควตาที่จะตกลงให้กับสหรัฐฯ เนื่องจากที่ผ่านมา ญี่ปุ่นไม่ได้นำเข้าข้าวจากออสเตรเลียมากเท่าใดนัก




Back to the list