ปฏิทิน
ติดต่อ
สถานทูต
TH
EN
JP
Toggle navigation
หน้าแรก
เกี่ยวกับสถานทูต
สารจากเอกอัครราชทูต
ข่าว/ประกาศจากรัฐบาล
รายนามเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว
รายชื่อข้าราชการ สอท. ณ กรุงโตเกียว
สถานกงสุลกิตติมศักดิ์
หน่วยงานไทยในญี่ปุ่น
วันหยุดประจำปี
ประวัติทำเนียบ สอท. ณ กรุงโตเกียว
ข่าว/กิจกรรม
ข้อมูลน่ารู้
เกี่ยวกับญี่ปุ่น
ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น
หมายเลขโทรศัพท์ที่ควรทราบ
วัดไทยในญี่ปุ่น
วัดญี่ปุ่นที่เกี่ยวข้องกับไทย
ข้อความจากสถานทูตฯ
บทความที่น่าสนใจ
บริการประชาชนไทย
หนังสือเดินทาง
งานนิติกรณ์/ทะเบียนราษฎร
บัตรประชาชนไทย
แบบฟอร์ม/คำร้อง
สถานที่ราชการที่เกี่ยวข้อง
ตารางกงสุลสัญจร
การใช้ชีวิตในญี่ปุ่น
ลงทะเบียนคนไทยในญี่ปุ่น
ศึกษาต่อในญี่ปุ่น
ข่าว/ประกาศกงสุล
ติดต่อ
ติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ
แผนกกงสุล
แผนกอื่นๆ
ปฏิทิน
ติดต่อ
สถานทูต
TH
EN
JP
หน้าแรก
เกี่ยวกับสถานทูต
ข่าว/กิจกรรม
ข้อมูลน่ารู้
บริการประชาชนไทย
ข่าว/ประกาศกงสุล
ติดต่อ
หน้าแรก
ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ/การเมือง
ข้อมูลเศรษฐกิจญี่ปุ่น
การสัมมนา Thailand: A Regional Headquarters and Trading Hub ที่กรุงโตเกียว
ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ/การเมือง
ข้อมูลเศรษฐกิจญี่ปุ่น
ข้อมูลการเมืองญี่ปุ่น
ข้อมูลเศรษฐกิจญี่ปุ่น
การสัมมนา Thailand: A Regional Headquarters and Trading Hub ที่กรุงโตเกียว
21/10/2015
สาระสำคัญของคำกล่าวเปิดสัมมนาของ ออท.
สัมมนานี้จัดขึ้นในเวลาที่ประจวบเหมาะ เนื่องจากเป็นช่วงที่
คสพ.ไทย – ญี่ปุ่น มีความก้าวหน้าและมีความเป็นหุ้นส่วนกันมากขึ้น
ศก.ไทย กำลังขับเคลื่อนไปสู่การพัฒนาที่สูงขึ้น
อาเซียนกำลังจะเป็นประชาคม ศก.อาเซียน ในปลายปีนี้ ซึ่งไทยจะมีบทบาทการเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคที่เด่นชัดขึ้น
คสพ.ไทย - ญี่ปุ่น
หลังจากที่ได้เข้ารับตำแหน่ง ออท. เป็นเวลา 4 เดือน ได้เห็นความคืบหน้าใน คสพ.ไทย – ญี่ปุ่น ซึ่งเป็น คสพ.ที่เก่าแก่มาช้านานกว่า 600 ปี แต่เป็น คสพ. ที่มุ่งสู่อนาคตและเป็นหุ้นส่วนกันในทาง ศก. โดยปัจจัยที่ขับเคลื่อน คสพ. ที่สำคัญคือการพบหารือกันของผู้นำไทย – ญี่ปุ่น ที่มีอย่างสม่ำเสมอ โดย นรม.ประยุทธ์ฯ กับ นรม.อาเบะ ได้พบหารือทวิภาคีกันแล้ว 5 ครั้ง และ นรม.ประยุทธ์ฯ เยือนญี่ปุ่นแล้ว 3 ครั้งในปีนี้ โดยครั้งแรกเป็นการเยือนอย่างเป็นทางการ และอีก 2 ครั้ง เป็นการเยือนเพื่อเข้าร่วมการประชุมระหว่างประเทศ ซึ่งในการหารือ ได้เน้นการกระชับความร่วมมือระหว่างกัน โดยมีความร่วมมือในมิติใหม่ ๆ ได้แก่
ความร่วมมือในการพัฒนาระบบรางในไทยและเชื่อมโยงกับ ปท. เพื่อนบ้าน
โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและ SEZ ทวาย ซึ่งในห้วงการประชุม Mekong – Japan Summit ที่ผ่านมา ได้มีการลงนาม MOI ระหว่าง 3 ปท. ได้แก่ ไทย – ญี่ปุ่น – เมียนมาร์ ซึ่งจาก 2 โครงการข้างต้นซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในเชิงยุทธศาสตร์ จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างท่าเรือน้ำลึกทวายกับแหลมฉบังได้ในอนาคต และจะเป็นเส้นทางที่เป็นระเบียง ศก.ที่สำคัญ ซึ่งจะช่วยร่นระยะเวลาการขนส่งสินค้าสำคัญภาคเอกชนญี่ปุ่น
ศก. ไทย
เชื่อมั่นว่าจากพื้นฐานที่มั่นคง ศก.ไทย กำลังเดินไปข้างหน้าอย่างเข้มแข็งขึ้น โดยขณะนี้ รบ.ไทย กำลังดำเนินโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางบก ราง น้ำ อากาศ โดยใช้งบประมาณ 56,000 ล้านบาท และเป็นแผนระยะเวลา 8 ปี ซึ่งเชื่อว่าหากมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานได้ตามแผน ศก.ไทย ก็จะมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ รบ.ไทย ยังให้ความสำคัญอย่างมากต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยใช้นโยบายการลงทุนมุ่งเน้นอุตสาหกรรม generation ใหม่ เช่น R&D การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ และการใช้เทคโนโลยีระดับสูง / เร่งปฏิรูปโครงสร้าง ศก.ไทย โดยเฉพาะระบบภาษีให้มีความเป็นธรรมและเอื้ออำนวยต่อการลงทุนมากขึ้น และการลดระเบียบและขั้นตอนต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรค / การปราบปรามปัญหาคอร์รัปชั่นอย่างจริงจัง / การส่งเสริม SME เพื่อให้ SME ญี่ปุ่นลงทุนในไทยมากขึ้น เพื่อสร้างฐาน ศก.ไทย ให้เข้มแข็งขึ้น
อาเซียน
อาเซียนกำลังจะรวมตัวเป็นประชมอาเซียน โดยมี 3 เสาหลัก ได้แก่ การเมือง-ความมั่นคง / ศก. / สังคม-วัฒนธรรม โดยทุกประเทศให้ความสำคัญกับด้าน ศก. ภายใต้ AEC มากที่สุด ซึ่งจะทำให้อาเซียนกลายเป็นตลาดเดียว มีประชากร 600 ล้านคน เป็นฐานการผลิตที่สำคัญ ที่มีการเคลื่อนย้ายการค้าบริการ แรงงานและการลงทุนที่เสรี โดยที่ไทยตั้งอยู่ในจุดภูมิศาสตร์ที่เป็นจุดศูนย์กลาง เป็นศูนย์รวมของระเบียบ ศก. ต่าง ๆ ทั้ง NSEC EWEC และ SEC จะทำให้เกิดความเชื่อมโยงที่สมบูรณ์ และ รบ.ไทย กำลังจะจัดตั้งเขต ศก.พิเศษ ตามแนวชายแดนกับ ปท.เพื่อนบ้าน ซึ่งจะทำให้ไทยเป็นฐานการค้าและการลงทุนในภูมิภาค นอกจากนี้ ไทยยังมีความพร้อมทั้งในด้านการแพทย์ และสถานศึกษาที่สามารถรองรับนักลงทุนและครอบครัวได้อย่างเพียบพร้อม
ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่นักลงทุนญี่ปุ่นควรจะมองไปข้างหน้าที่จะศึกษาและพิจารณาใช้ไทยเป็นที่ตั้งของ IHQ และ ITC จากความพร้อมของไทยดังที่กล่าวมา และขอย้ำว่า รบ.ไทย เห็นความสำคัญของนักลงทุนญี่ปุ่น ซึ่งไทยสามารถพัฒนาได้จนถึงทุกวันนี้ เพราะการลงทุนจากญี่ปุ่น
ประเด็นเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองไทยที่บางท่านอาจมีข้อห่วงกังวล ขอยืนยันว่า ไทยยึดมั่นในการปกครองระบอบ ปชต. แต่ต้องเป็น ปชต. ที่สามารถตอบสนองความท้าทายต่าง ๆ และความต้องการของ ปชช. ได้ ซึ่งขณะนี้ ไทยกำลังเดินหน้าปรับปรุง ปชต. ไปสู่การเลือกตั้งในปีหน้า เช่น การปรองดอง ซึ่งในท้ายที่สุดแล้ว อยากจะให้ ปชต.ของไทยมีเสถียรภาพและมีความมั่งคงมากยิ่งขึ้นแบบ ปชต.ของญี่ปุ่น
สาระสำคัญของคำกล่าวของเลขาธิการ BOI
สัมมนานี้จัดขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายส่งเสริมการจัดตั้ง IHQ และ ITC ในไทย หลังจากที่ได้เคยจัดสัมมนาเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนใหม่ของไทย เมื่อเดือน ก.พ. 58
ญี่ปุ่นเป็นนักลงทุนอันดับหนึ่งของไทยมาหลายสิบปี ช่วยทำให้ไทยมีอุตสาหกรรมการผลิตที่เข้มแข็ง และทำให้ ศก.ไทยมีความเข้มแข็ง
ในช่วงปี ค.ศ. 1980 – 1985 ซึ่งไทยเน้นอุตสาหกรรมเบา ศก.ไทย เติบโตประมาณร้อยละ 5 จากนั้นในช่วงปี ค.ศ. 1986 – 1996 ซึ่งไทยเน้นอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ GDP เติบโตถึงร้อยละ 9 หลังจากนั้น ได้ประสบปัญหาวิกฤติ ศก. ในช่วงปี ค.ศ. 1997 – 1999 และฟื้นตัวขึ้นหลังจากนั้น แต่มีอัตราการเติบโตของ GDP เพียงร้อยละ 3 – 5 และโดยที่การส่งออกของไทยเริ่มมีแนวโน้มลดลง และไทยเริ่มมีค่าแรงที่สูงกว่า ปท.เพื่อนบ้าน รบ.ไทยจึงปรับแผนด้าน ศก. โดย BOI ประกาศใช้นโยบายส่งเสริมการลงทุนใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพ ศก.ไทย โดยให้ความสำคัญต่อคุณค่าของโครงการมากกว่ามูลค่าของโครงการ เน้นอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น ปรับเปลี่ยนจากอุตสาหกรรมผลิตอาหาร เป็นอาหารทางการแพทย์ / เปลี่ยนจากการผลิตเส้นใยธรรมชาติและสังเคราะห์ เป็นเส้นใยชนิดพิเศษ และเน้นอุตสาหกรรมใหม่ ได้แก่ Biotechnology Cloud Services Nanotechnology และ IHQ / ITC
รบ.ไทย เน้นการจัดตั้ง IHQ / ITC ซึ่งสอดคล้องกับการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ซึ่งทำให้ไทยทวีความสำคัญมากขึ้นในด้านการลงทุนในภูมิภาค เนื่องจากมีที่ตั้งในศูนย์กลางของภูมิภาค และมีนโยบายการจัดตั้งเขต ศก.พิเศษ 10 แห่ง ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาส และช่วยให้นักลงทุนสามารถใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อกระจายสู่ภูมิภาคตามนโยบาย Thailand + 1 ของญี่ปุ่น
ในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ มีบริษัทที่ยื่นขอจัดตั้ง IHQ และ ITC ในไทยแล้ว จำนวน 8 และ 29 แห่งตามลำดับ ในจำนวนนี้เป็นบริษัทญี่ปุ่น จำนวน 2 และ 15 แห่ง
Back to the list