ข้อมูลเศรษฐกิจญี่ปุ่น


AIIB and Japan’s Pathway Forward

21/10/2015

  1. ภูมิหลังการจัดตั้ง AIIB

    • ศ. Kawai วิเคราะห์สาเหตุที่จีนก่อตั้ง AIIB ขึ้น เนื่องจาก

      1. ไม่พอใจองค์กรการเงิน รปท. อาทิ IMF ซึ่งจีนไม่สามารถแสดงความคิดเห็นของตนได้อย่างเต็มที่
      2. ต้องการเป็นผู้นำด้านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นสาขาถนัดของจีน
      3. ศก. ภายในจีนชะลอตัว จึงต้องการขยายธุรกิจไปยัง ตปท.
      4. ใช้เป็นเครื่องมือด้านนโยบาย ตปท. เช่นเดียวกับการจัดตั้งกองทุน Silk Road Fund ความร่วมมือกลุ่ม BRICS

    • ศ. Ito ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า จีนอาจมีเจตนาที่จะใช้ AIIB เพื่อประโยชน์ของตน โดยสร้างองค์กรที่จีนเป็นผู้ควบคุม ซึ่งจะสามารถนำไปคานอำนาจกับระบบการเงินโลกที่มีศูนย์กลางอยู่ทางตะวันตกได้ และมองว่าจีนน่าจะต้องการให้ AIIB เป็น ธ. เพื่อการลงทุนลักษณะเดียวกับ EIB ของยุโรปมากกว่าจะเป็น ธ. เพื่อการพัฒนา เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนเช่นที่ ADB ดำเนินงาน

  2. ปัญหาการจัดตั้ง AIIB

    • ศ. Kawai ชี้ถึงปัญหาของ AIIB ว่า

      1. วิสัยทัศน์ไม่ชัดเจนว่าต้องการพัฒนาภูมิภาคเอเชียไปทิศทางไหน
      2. มาตรฐานด้านธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่สุด เนื่องจากไม่มีกฎเกณฑ์การบริหาร อำนาจการตัดสินใจที่ชัดเจน
      3. มาตรการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมไม่ชัดเจน
      4. ขอบเขตการมีส่วนร่วมขององค์กร รปท. และนานาชาติ

    • ศ. Ito ให้ความเห็นว่า

      1. สัดส่วนของการออกเงินลงทุน ซึ่งได้กำหนดให้ ปท. นอกภูมิภาคในอัตราร้อยละ 25 - 30 ขณะที่ ปท. ในภูมิภาคลงทุนร้อยละ 70 - 75 และคำนวณสัดส่วนตาม GDP ของแต่ละ ปท. จีนก็น่าจะได้เป็นผู้ออกเงินลงทุนอันดับหนึ่งและยังมีอำนาจใช้สิทธิยับยั้ง (Veto) อีกด้วย
      2. ไม่มี คกก. ประจำที่สำนักงานใหญ่
      3. เงื่อนไขในการให้กู้ยืมไม่ชัดเจน
      4. จีนยังคงกู้ยืมเงินจากธนาคารโลกและจะสามารถเป็นฝั่งปล่อยกู้ให้กับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศได้หรือไม่
      5. AIIB อาจจะกลายเป็นคู่แข่งกับหน่วยงานระหว่างประเทศอื่น ๆ ดังเช่น ธนาคารโลกหรือ ADB

  3. ท่าทีของจีน

    โดย น.ส. Yun Sun วิเคราะห์ว่า


    1. สัดส่วนของการออกเงินลงทุน ซึ่งได้กำหนดให้ ปท. นอกภูมิภาคในอัตราร้อยละ 25 - 30 ขณะที่ ปท. ในภูมิภาคลงทุนร้อยละ 70 - 75 และคำนวณสัดส่วนตาม GDP ของแต่ละ ปท. จีนก็น่าจะได้เป็นผู้ออกเงินลงทุนอันดับหนึ่งและยังมีอำนาจใช้สิทธิยับยั้ง (Veto) อีกด้วย

    2. การจัดตั้ง AIIB ถือว่าจีนประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง เนื่องจากในระยะแรกเกิดข้อกังขาถึงความไม่พร้อมของจีน โดยเฉพาะการไม่เปิดให้ประเทศนอกภูมิภาคเข้าร่วม แต่ภายหลังเมื่อเปิดโอกาสให้ประเทศนอกภูมิภาคเข้าร่วมได้ด้วย ประเทศกลุ่ม EU ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง ซึ่งเป็นสิ่งที่จีนไม่ได้คาดหวังมากก่อน เพราะจีนกังวลในเรื่องของการแบ่งส่วนผู้ถือหุ้นและสิทธิในการออกเสียง

    3. ต้องดูว่าจีนจะให้ AIIB เป็น ธ. เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคซึ่งจีนจะต้องรับความเสี่ยงสูง หรือเป็น ธ. เพื่อการลงทุนที่แสวงหากำไร

    4. จีนต้องตระหนักถึงมาตรฐานด้านธรรมาภิบาลและข้อกำหนดที่ใช้ได้จริง

    5. นานาชาติไม่ควรด่วนตัดสินจีน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง Veto หรือการใช้ AIIB เป็นเครื่องมือนโยบาย ตปท. เพราะมี ปท. ร่วมเป็นสมาชิกกว่า 50 ปท. ช่วยคานอำนาจ ปท. ที่พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะสหรัฐฯ และ ญป. มีบทบาทสำคัญในการชี้ให้จีนตระหนักว่าต้องดำเนินการอย่างมีกฎเกณฑ์ หากจีนทำได้สำเร็จก็จะเป็นการสร้างพื้นฐานที่ดี

  4. การเข้าร่วม AIIB ของญี่ปุ่น

    • ผศ. Lipscy ให้ความเห็นว่า

      1. AIIB เป็นสถาบันที่มีลักษณะแตกต่างกันกับ IMF และที่ผ่านมาก็มีสถาบันที่คล้ายคลึงกับธนาคารโลก หรือ ADB จำนวนมากอยู่แล้ว AIIB จึงเป็นเพียงอีกสถาบันหนึ่งที่เพิ่มขึ้นมา ไม่ได้มีผลกระทบต่อธนาคารโลกหรือ ADB
      2. แม้ว่าจีนอาจจะใช้เงินกู้ยืมเพื่อพัฒนา ปท. ของตน แต่ ปท. อื่น ๆ ก็สามารถใช้เงินกู้เพื่อพัฒนา ปท. ได้เช่นกัน นอกจากนี้ AIIB จะเปิดโอกาสให้ ปท. ต่าง ๆ มีบทบาทต่อทิศทางของนโยบาย ตปท. ทางด้าน ศก. ของจีนได้มากขึ้น
      3. สหรัฐฯ และ ญป. ควรเข้าร่วม AIIB ตั้งแต่ระยะแรกในการจัดตั้ง เนื่องจากเป็นโอกาสที่ดีที่จะมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางให้กับจีนในอนาคต โดยเฉพาะการสนับสนุนวิธีการขยายอำนาจของจีนอย่างสันติ และการพัฒนาระบบธรรมาภิบาลและการดำเนินงาน

    • ต่อข้อสังเกตของ ผศ. Lipscy นั้น ศ. Kawai ให้ความเห็นว่า หาก ญป. และสหรัฐฯ จะตัดสินใจเข้าร่วม AIIB แต่ก็น่าจะยังคงเสียเปรียบจีนอยู่ดี เนื่องจาก ในกรณีที่ ญป. เข้าร่วม AIIB จะมีอัตราสิทธิการออกเสียงเพียงร้อยละ 9 และสหรัฐฯ ซึ่งเป็น ปท. นอกภูมิภาค ก็จะมีอัตราสิทธิการออกเสียงระดับต่ำเช่นกัน ขณะที่จีนมีถึงร้อยละ 21 นอกจากนี้ พฤติกรรมของจีนในภูมิภาคเอเชียที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะเป็นการสร้างปัญหาความขัดแย้ง จึงยากที่จะเชื่อได้ว่า การดำเนินงานของ AIIB จะเป็นไปอย่างสันติและโปร่งใส ทั้งนี้ การเข้าร่วม AIIB ของกลุ่ม EU เป็นการตัดสินใจเพื่อผลประโยชน์ทาง ศก. เท่านั้น




Back to the list