ปฏิทิน
ติดต่อ
สถานทูต
TH
EN
JP
Toggle navigation
หน้าแรก
เกี่ยวกับสถานทูต
สารจากเอกอัครราชทูต
ข่าว/ประกาศจากรัฐบาล
รายนามเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว
รายชื่อข้าราชการ สอท. ณ กรุงโตเกียว
สถานกงสุลกิตติมศักดิ์
หน่วยงานไทยในญี่ปุ่น
วันหยุดประจำปี
ประวัติทำเนียบ สอท. ณ กรุงโตเกียว
ข่าว/กิจกรรม
ข้อมูลน่ารู้
เกี่ยวกับญี่ปุ่น
ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น
หมายเลขโทรศัพท์ที่ควรทราบ
วัดไทยในญี่ปุ่น
วัดญี่ปุ่นที่เกี่ยวข้องกับไทย
ข้อความจากสถานทูตฯ
บทความที่น่าสนใจ
บริการประชาชนไทย
หนังสือเดินทาง
งานนิติกรณ์/ทะเบียนราษฎร
บัตรประชาชนไทย
แบบฟอร์ม/คำร้อง
สถานที่ราชการที่เกี่ยวข้อง
ตารางกงสุลสัญจร
การใช้ชีวิตในญี่ปุ่น
ลงทะเบียนคนไทยในญี่ปุ่น
ศึกษาต่อในญี่ปุ่น
ข่าว/ประกาศกงสุล
ติดต่อ
ติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ
แผนกกงสุล
แผนกอื่นๆ
ปฏิทิน
ติดต่อ
สถานทูต
TH
EN
JP
หน้าแรก
เกี่ยวกับสถานทูต
ข่าว/กิจกรรม
ข้อมูลน่ารู้
บริการประชาชนไทย
ข่าว/ประกาศกงสุล
ติดต่อ
หน้าแรก
ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ/การเมือง
ข้อมูลเศรษฐกิจญี่ปุ่น
การก่อสร้างสนามกีฬาแห่งชาติญี่ปุ่น เพื่อรองรับการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิก ปี ค.ศ. 2020
ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ/การเมือง
ข้อมูลเศรษฐกิจญี่ปุ่น
ข้อมูลการเมืองญี่ปุ่น
ข้อมูลเศรษฐกิจญี่ปุ่น
การก่อสร้างสนามกีฬาแห่งชาติญี่ปุ่น เพื่อรองรับการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิก ปี ค.ศ. 2020
14/09/2015
รบ.ญี่ปุ่นได้จัดทำแผนสร้างสนามกีฬาแห่งชาติแห่งใหม่ตั้งแต่ปี 2555 ก่อนที่จะทราบผลว่าได้รับเลือกได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิก – พาราลิมปิก ปี ค.ศ. 2020 เมื่อเดือน ก.ค. 56 โดยในแผนในตอนแรก มีความตั้งใจที่จะให้สนามกีฬาดังกล่าวสามารถจุผู้ชมได้ 80,000 คน เพื่อใช้แข่งขันกรีฑา ฟุตบอล และรักบี้ และหากเป็นไปได้จะต้องสามารถประยุกต์ใช้ในการจัดคอนเสิร์ตหรือกิจกรรมอื่น ๆ ได้ด้วย ภายใต้งบประมาณที่ไม่สูงมากนัก ซึ่งที่ผ่านมา รบ. มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีญี่ปุ่น (MEXT) เป็นผู้รับผิดชอบในการคัดเลือกผู้ออกแบบและก่อสร้าง ซึ่ง MEXT ได้มอบหมายให้ Japan Sport Council (JSC) เป็นผู้ดำเนินการอีกทีหนึ่ง โดย JSC ได้คัดเลือกให้บริษัท Zaha Hadid Architect ของอังกฤษเป็นผู้รับผิดชอบในการออกแบบสนามกีฬาดังกล่าว
ในตอนแรกเมื่อปี 2555 JSC คาดว่า งปม.สำหรับการก่อสร้างสนามกีฬาแห่งชาติดังกล่าวจะอยู่ที่ 130,000 ล้านเยน แต่ต่อมา ได้มีการประเมินว่าหากจะก่อสร้างตามแบบที่บริษัท Zaha Hadid Architect ออกแบบไว้ จะมีค่าก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 300,000 ล้านเยน ซึ่งทำให้ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าสูงเกินไป ซึ่ง JSC ได้พยายามปรับแบบให้มี คชจ.ที่ต่ำลง และต่อมาเมื่อวันที่ 28 พ.ค. 57 ได้เปิดเผยแบบที่ปรับใหม่ และประกาศรับสมัครผู้ก่อสร้าง โดยตั้ง งปม. ไว้ที่ 162,500 ล้านเยน และกำหนดระยะเวลาก่อสร้าง 42 เดือน ซึ่งจะต้องแล้วเสร็จในเดือน มี.ค. 62
JSC ได้ตัดสินใจให้บริษัท Taisei Construction เป็นผู้รับผิดชอบในการก่อสร้างสนามกีฬาแห่งชาติส่วนหลัก และบริษัท Takenaka Construction รับผิดชอบการก่อสร้างหลังคา อย่างไรก็ดี บริษัททั้งสองได้เสนอแผนการก่อสร้างที่ต้องใช้ งปม. รวมกันถึง 300,000 ล้านเยน และใช้เวลาการก่อสร้าง 50 เดือน ซึ่งจะแล้วเสร็จในเดือน พ.ย. 62 ซึ่งจะไม่ทันใช้ในการจัดการแข่งขัน Rugby World Cup ในเดือน ก.ย. 62 ทำให้ต่อมา MEXT และ JSC เจรจากับบริษัททั้งสอง โดยขอปรับแบบใหม่ส่วนหนึ่งและให้ใช้วัสดุที่มีราคาถูกลงให้อยู่ภายในวงเงินรวม 252,000 ล้านเยน ซึ่งกระนั้นก็ตาม ยังได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับ งปม.ก่อสร้างที่บานปลายจากเดิมที่ประกาศไว้เกือบ 2 เท่า และแหล่งเงิน งปม. โดย MEXT ได้ให้เหตุผลของการบานปลายของ งปม. ว่า เกิดจากการที่สนามกีฬาดังกล่าวมีโครงสร้างที่มีรูปโค้งขนาดใหญ่ การที่ค่าวัสดุก่อสร้างและค่าจ้างแรงงานเพิ่มสูงขึ้น และการปรับขึ้นของอัตราภาษีผู้บริโภค
นรม.อาเบะ ได้ทราบปัญหา งปม. ดังกล่าว เมื่อเดือน มิ.ย. 58 จึงได้แต่งตั้งให้นาย Toshiaki Endo เป็น รมว.ประจำ สนง.รมต. (รับผิดชอบเรื่องโอลิมปิก) ขึ้นมาโดยเฉพาะ ซึ่งจะมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงและจะรับช่วงดำเนินการเรื่องนี้ต่อภายใต้ความรับผิดชอบของทำเนียบรัฐบาล และเมื่อวันที่ 21 ก.ค. 58 จัดให้มีการประชุม ครม. เรื่องโอลิมปิกโดยเฉพาะ โดยมี รมว. Endo เป็นประธาน และมีนาย Yoshihide Suga เลขาธิการ ครม. และนายHakubun Shimomura รมว. MEXT เป็นรองประธาน และมีนาย Akihiro Ota รมว.ที่ดิน ระบบโครงสร้างพื้นฐาน คมนาคมและการท่องเที่ยว และนาย Taro Aso รอง นรม. และ รมว.คลัง เป็นผู้ดูแลด้านการลดงบประมาณการก่อสร้าง และมี นรม. ชินโซ อาเบะ เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวด้วย โดยได้ตัดสินใจให้ทบทวนแผนการก่อสร้างใหม่ทั้งหมดโดยเริ่มใหม่จากศูนย์ โดยปรับการออกแบบใหม่ และให้แนวทางว่า การจัดกีฬาโอลิมปิกเป็นสิ่งที่ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วม และจะต้องสร้างความสุขให้แก่ประชาชน ดังนั้น จะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างให้น้อยลงมากที่สุด และจะเดินหน้าก่อสร้างสนามกีฬาฯ ให้ทันใช้ในการแข่งขันโอลิมปิกได้อย่างดีที่สุด
รบ. ญป. คาดว่าจะสามารถวางแผนก่อสร้างใหม่ได้ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปีนี้ หลังจากนั้นจะคัดเลือกผู้ออกแบบ/ผู้รับเหมาก่อสร้างในช่วงเดือน ม.ค. - ก.พ. 59 และประเมินไว้ว่าจะมีเวลาในการออกแบบรวมถึงการก่อสร้างทั้งหมดประมาณ 50 เดือน ซึ่งจะมีกำหนดแล้วเสร็จประมาณต้นปี 2563 นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 7 ส.ค. 58 รบ. ญป. ได้แถลงแนวทางเกี่ยวกับสนามกีฬาใหม่ว่าต้องการให้ภาคเอกชนดูแลใช้ประโยชน์หลังเสร็จสิ้นการจัดกีฬาโอลิมปิก - พาราลิมปิก ปี 2063 ซึ่ง รบ. จะเปิดการประกวดออกแบบ/ก่อสร้างสนามกีฬาโดยต้องการให้ผู้ร่วมประกวดร่างแผนงานให้ครอบคลุมตั้งแต่การออกแบบ การก่อสร้าง รวมถึงการใช้ประโยชน์หลังการจัดกีฬาโอลิมปิก – พาราลิมปิกดังกล่าวต่อไป
เมื่อ 28 ส.ค. 58 รบ. ญี่ปุ่น ได้จัดประชุม ครม. ด้านโอลิมปิกขึ้นอีกครั้งที่ทำเนียบ นรม. เพื่อหารือเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนแผนการสร้างสนามกีฬาแห่งชาติแห่งใหม่ และได้ลงมติเห็นชอบว่า จะลดพื้นที่ก่อสร้างสนามกีฬาฯ ลงเหลือ 195,000 ตร.ม. ลดลงร้อยละ 13 จากพื้นที่ก่อสร้างเดิม และตั้ง งปม. ค่าก่อสร้างสูงสุดไว้ที่วงเงิน 155,000 ล้านเยน ลดลงจากเดิมก่อนที่จะมีการทบทวนแผนการสร้างใหม่ถึง 100,000 ล้านเยน โดยมีแผนการให้สนามกีฬาดังกล่าวสามารถจุผู้ชมได้ 68,000 คนในช่วงจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และสามารถปรับขยายความจุให้เป็น 80,000 คนได้หลังจากเสร็จสิ้นกีฬาโอลิมปิกในปี 2563 ในกรณีที่ต้องการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกหรือกีฬาอื่น ๆ ยกเว้นกรีฑาต่อไป (เนื่องจากหากต้องการเพิ่มความจุให้เป็น 80,000 คน จะต้องจัดตั้งที่นั่งชมบนลู่วิ่ง จึงไม่สามารถจัดการแข่งขันกรีฑาได้) นอกจากนี้ ยังได้ตัดสินใจยกเลิกแผนเดิมที่จะจัดตั้งพิพิธภัณฑ์กีฬาและฟิตเนสคลับไว้ในสนามกีฬาดังกล่าว และย่อขนาดการสร้างหลังคาลงให้คงเหลือเฉพาะบริเวณที่นั่งผู้ชมเท่านั้นเพื่อลดต้นทุนในการก่อสร้างลง แต่ในขณะเดียวกัน จะยังคง concept “Universal Design” ซึ่งเป็นการออกแบบสำหรับมวลชนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ/ลดอุปสรรคให้กลุ่มผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ ในมาตรฐานสูงสุดของโลก อาทิ จัดตั้งลิฟท์หรือที่นั่งชมสำหรับผู้ใช้รถเข็น สำหรับแหล่งเงินทุนในการก่อสร้างนั้น รบ. จะทำการหารือขอความร่วมมือจากกรุงโตเกียวในลำดับต่อไป รบ. ญี่ปุ่นกำหนดให้การก่อสร้างสนามกีฬาฯ ให้แล้วเสร็จในปลายเดือน เม.ย. 63 อย่างไรก็ตาม รบ. จะขอความร่วมมือจากผู้รับเหมาฯ ให้เร่งก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในเดือน ม.ค. 63 ตามคำขอของ International Olympic Committee (IOC) หลังจากเสร็จสิ้นการประชุม ครม. โอลิมปิก Japan Sport Council (JSC) ได้สรุปเงื่อนไขการรับสมัครผู้ออกแบบ/ผู้รับเหมาก่อสร้างและเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 58
ปัญหาตราสัญลักษณ์โตเกียวโอลิมปิก ค.ศ. 2020 หลังจากการแถลงเปิดตัวตราสัญลักษณ์โตเกียวโอลิมปิก ค.ศ. 2020 เมื่อ 24 ก.ค. 58 ได้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่า สัญลักษณ์ดังกล่าวซึ่งออกแบบโดยนายเคนจิโร ซาโนะ ดีไซน์เนอร์ชาวญี่ปุ่น เป็นการขโมยทรัพย์สินทางปัญญาของตราสัญลักษณ์ของโรงละคร Theatre de Liege ในเบลเยี่ยม เนื่องจากมีความคล้ายคลึงกันมาก และดีไซน์เนอร์ชาวเบลเยี่ยมเจ้าของตราสัญลักษณ์ของโรงละครฯ ได้ออกมาร้องเรียนว่าถูกขโมยผลงานไปใช้เป็นตราสัญลักษณ์โตเกียวโอลิมปิก ค.ศ. 2020 อย่างไรก็ตาม นายซาโนะ ได้ออกมาปฏิเสธว่าไม่ได้ลอกผลงานดังกล่าว แต่ยอมรับว่าในอดีตเคยลอกผลงานเพื่อการโฆษณาบางชิ้นจริง และเคยถูกกล่าวหาในลักษณะนี้มาหลายครั้ง ทำให้ถูกโจมตีจากประชาชนชาวญี่ปุ่นมากยิ่งขึ้น เมื่อวันที่ 1 ก.ย. 58 คกก. จัดงานโตเกียวโอลิมปิก ค.ศ. 2020 ได้ประกาศยกเลิกการใช้ตราสัญลักษณ์กีฬาโอลิมปิก 2020 และระบุว่าสาเหตุที่ยกเลิกใช้ เนื่องจากมีข้อกังขามากมายเกี่ยวกับผลงานชิ้นนี้ และคาดว่าตราสัญลักษณ์ดังกล่าวจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชน จึงตัดสินใจจะให้มีการออกแบบตราสัญลักษณ์โอลิมปิก 2020 ขึ้นมาใหม่ให้เร็วที่สุด
Back to the list