ข้อมูลเศรษฐกิจญี่ปุ่น


รายงานความคืบหน้าสถานการณ์ด้านพลังงานของญี่ปุ่น

27/07/2015

  1. การรื้อถอนเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เก่า 5 เตาใน ญป.


    เมื่อเดือน มี.ค. 58 บริษัท Japan Atomic Power Company (JAPC) ร่วมด้วย บ. ไฟฟ้าคันไซ บ. ไฟฟ้าคิวชูและ บ. ไฟฟ้าจูโคคุ ประกาศร่วมกันเกี่ยวกับการรื้อถอนเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เก่า 5 เตาที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 40 ปี ได้แก่ เตาฯ สึรุกะ หมายเลข 1 (JAPC) และเตาฯ มิฮามะ หมายเลข 1-2 (บ.ไฟฟ้าคันไซ) ใน จ.ฟุคุอิ / เตาฯ เกนไค หมายเลข 1 (บ.ไฟฟ้าคิวชู) ใน จ.ซากะ / เตาฯ ชิมาเนะ หมายเลข 1 (บ.ไฟฟ้าจูโคคุ) ในเมืองมัทสึเอะ เนื่องจากหลังเกิดอุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้าฟุคุชิมะไดอิจิ ญป. ได้ออกมาตรการกำหนดอายุการใช้งานของเตาปฏิกรณ์ฯ เป็น 40 ปี ซึ่งหากเกินกว่านั้น มีทางเลือกคือ จะต้องรื้อถอนเตาฯ หรือยืดอายุการใช้งาน ซึ่งจะต้องเพิ่มเงินทุนสูงในหลัก 1 ล้านล้านเยนขึ้นไป อย่างไรก็ตาม โดยที่ เตาฯ ทั้ง 5 เตาดังกล่าว มีกำลังการผลิตน้อย เพียงประมาณเตาละ 340,000-560,000 kW ทั้ง 4 บริษัทจึงมีความเห็นตรงกันในการรื้อถอน ทั้งนี้ หลังจากรื้อถอนเตาฯ ทั้ง 5 เตาดังกล่าว จะทำให้ญี่ปุ่นเหลือเตาปฏิกรณ์ฯ ทั้งหมด 43 เตาทั่วประเทศ

  2. ความคืบหน้าในการพิจารณาเปิดใช้โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ของญี่ปุ่น

    • เตาฯ หมายเลข 1 - 2 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เซ็นได ใน จ. คาโกะชิมะ เป็นโรงไฟฟ้าฯ ที่ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบความปลอดภัยของ คกก. กฎระเบียบด้านนิวเคลียร์ (Nuclear Regulation Authority: NRA) เป็นแห่งแรกในเดือน ก.ย. 57 และได้รับการตรวจสอบขั้นสุดท้ายและได้รับอนุญาตให้สามารถเปิดใช้งานเตาฯ หมายเลข 1 และ 2 ของโรงไฟฟ้าฯ อีกครั้งเมื่อเดือน มี.ค. 58 โดยหลังจากนั้น เมื่อวันที่ 7 - 10 ก.ค. 58 บ. ไฟฟ้าคิวชู ได้เสร็จสิ้นการขนย้ายแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์เข้าสู่เตาฯ หมายเลข 1 และมีเป้าหมายเปิดใช้งานเตาฯ หมายเลข 1 อีกครั้งในกลางเดือน ส.ค. 58 ซึ่งหากเป็นไปตามกำหนดการ จะเป็นการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี ทั้งนี้ สำหรับเตาฯ หมายเลข 2 อยู่ระหว่างการดำเนินการ และคาดว่าจะสามารถเปิดใช้งานได้ภายในปีนี้เช่นกัน

    • เตาฯ หมายเลข 3 - 4 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทาคาฮามะ ใน จ.ฟุคุอิ เมื่อวันที่ 12 ก.พ. 58 NRA ได้ลงมติอย่างเป็นทางการให้โรงไฟฟ้าฯ ทาคาฮามะ ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบความปลอดภัยเพื่อที่จะสามารถเริ่มเปิดใช้ได้อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ปชช. ในเมืองทาคาฮามะ ได้ยื่นเรื่องเรียกร้องให้ระงับการเปิดใช้โรงไฟฟ้าฯ ทาคาฮามะ และศาล จ. ฟุคุอิ ได้ตัดสินให้ระงับการเปิดใช้โรงไฟฟ้าฯ ดังกล่าว ซึ่งเป็นการตัดสินโดยศาลเพื่อระงับใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นครั้งแรกในประวัติการณ์และมีผลบังคับใช้ทันทีหลังจากคำตัดสิน อย่างไรก็ตาม บ. ไฟฟ้าคันไซจะทำการยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฯ ในชั้นต่อไป

  3. สถานการณ์ล่าสุดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุคุชิมะไดอิจิ ใน จ.ฟุคุชิมะ

    • เตาฯ หมายเลข 1 - 2 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เซ็นได ใน จ. คาโกะชิมะ เป็นโรงไฟฟ้าฯ ที่ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบความปลอดภัยของ คกก. กฎระเบียบด้านนิวเคลียร์ (Nuclear Regulation Authority: NRA) เป็นแห่งแรกในเดือน ก.ย. 57 และได้รับการตรวจสอบขั้นสุดท้ายและได้รับอนุญาตให้สามารถเปิดใช้งานเตาฯ หมายเลข 1 และ 2 ของโรงไฟฟ้าฯ อีกครั้งเมื่อเดือน มี.ค. 58 โดยหลังจากนั้น เมื่อวันที่ 7 - 10 ก.ค. 58 บ. ไฟฟ้าคิวชู ได้เสร็จสิ้นการขนย้ายแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์เข้าสู่เตาฯ หมายเลข 1 และมีเป้าหมายเปิดใช้งานเตาฯ หมายเลข 1 อีกครั้งในกลางเดือน ส.ค. 58 ซึ่งหากเป็นไปตามกำหนดการ จะเป็นการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี ทั้งนี้ สำหรับเตาฯ หมายเลข 2 อยู่ระหว่างการดำเนินการ และคาดว่าจะสามารถเปิดใช้งานได้ภายในปีนี้เช่นกัน

    • เตาฯ หมายเลข 3 - 4 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทาคาฮามะ ใน จ.ฟุคุอิ เมื่อวันที่ 12 ก.พ. 58 NRA ได้ลงมติอย่างเป็นทางการให้โรงไฟฟ้าฯ ทาคาฮามะ ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบความปลอดภัยเพื่อที่จะสามารถเริ่มเปิดใช้ได้อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ปชช. ในเมืองทาคาฮามะ ได้ยื่นเรื่องเรียกร้องให้ระงับการเปิดใช้โรงไฟฟ้าฯ ทาคาฮามะ และศาล จ. ฟุคุอิ ได้ตัดสินให้ระงับการเปิดใช้โรงไฟฟ้าฯ ดังกล่าว ซึ่งเป็นการตัดสินโดยศาลเพื่อระงับใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นครั้งแรกในประวัติการณ์และมีผลบังคับใช้ทันทีหลังจากคำตัดสิน อย่างไรก็ตาม บ. ไฟฟ้าคันไซจะทำการยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฯ ในชั้นต่อไป

    • การรื้อถอนเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ บ.ไฟฟ้าโตเกียว (TEPCO) เสร็จสิ้นการย้ายแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้วทั้งหมดออกจากเตาฯ หมายเลข 4 เมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 57 ส่วนเตาฯ หมายเลข 1-3 นั้น รบ. ญป. ได้ทำการประชุมเกี่ยวกับการรื้อถอนและการกำจัดน้ำปนเปื้อนรังสีเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 58 ที่ผ่านมาและได้ปรับแก้ไขกำหนดการต่าง ๆ โดยเลื่อนการย้ายแท่งเชื้อเพลิงจากเตาฯ หมายเลข 3 จากเดิมในปี 2558 ไปเป็นปี 2560 และจากเตาฯ หมายเลข 1-2 จากเดิมในปี 2560 ไปเป็นปี 2563 เนื่องจากเตาฯ ทั้ง 3 มีกัมมันตรังสีอยู่ในระดับสูงเป็นผลให้การเตรียมการและการปฏิบัติงานล่าช้าลง ส่วนแกนปฏิกรณ์บางส่วนที่หลอมละลายในเตาฯ หมายเลข 1 - 3 นั้น คาดว่าจะสามารถเริ่มเคลื่อนย้ายได้ภายในปี 2564 ทั้งนี้ การรื้อถอนเตาฯ ทั้งหมดจะใช้เวลาทั้งสิ้น 30 - 40 ปี 

    • การกำจัดน้ำปนเปื้อนรังสี TEPCO ตั้งเป้าหมายลดปริมาณน้ำบาดาลที่ไหลเข้ามาปะปนในบริเวณอาคารเตาปฏิกรณ์ฯ ซึ่งในขณะนี้มีปริมาณวันละ 300 ตันให้เหลือต่ำกว่าวันละ 100 ตัน ภายในปี งปม. 2559 โดยจะเร่งกระบวนการสร้างกำแพงน้ำแข็งสกัดน้ำบาดาลให้เร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ TEPCO จะเริ่มพิจารณาค้นหาวิธีกำจัดน้ำหลังบำบัดกัมมันตรังสีแล้วแต่ยังคงปนเปื้อนด้วย Tritium อยู่ ตั้งแต่ต้นปี 2559 เป็นต้นไป

    • สถานที่เก็บกักกากกัมมันตรังสีชั่วคราว เมื่อวันที่ 7 ม.ค. 58 จ. ฟุคุชิมะ เมืองโอคุมะและเมืองฟุตาบะ ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุคุชิมะไดอิจิ ได้ร่วมข้อตกลงความปลอดภัยฉบับใหม่กับ TEPCO ซึ่งระบุขอบข่ายความรับผิดชอบของ TEPCO และ รบ. ในการรื้อถอนเตาฯ อย่างชัดเจน และเพิ่มสิทธิให้แก่องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นในการดูแลควบคุมให้มากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งยกเลิกข้อตกลงฉบับเก่าซึ่งกำหนดขึ้นตั้งแต่ปี 2519 และเมื่อวันที่ 13 ม.ค. 58 นายกเทศมนตรีเมืองฟุตะบะได้แถลงยอมรับการก่อสร้างสถานที่เก็บกักกากกัมมันตรังสีชั่วคราว โดยจะใช้ที่ดินกว้างกว่า 16 ตร.กม. คร่อมพื้นที่เมืองฟุตะบะและเมืองโอคุมะ

  4. สถานการณ์ด้านพลังงานในภาพรวม

    • โครงสร้างสัดส่วนการใช้พลังงานของ ญป. เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 58 รบ. ญป. ลงมติเห็นชอบร่างโครงสร้างสัดส่วนการใช้พลังงานของปี 2576 (ค.ศ. 2030) ซึ่งระบุสัดส่วนการใช้พลังงานต่างๆ โดยจะลดอัตราการพึ่งพาพลังงานนิวเคลียร์ให้เหลือร้อยละ 20 - 22 และเพิ่มการใช้พลังงานแสงอาทิตย์รวมถึงพลังงานทดแทนอื่น ๆ ให้ขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 22 - 24 นอกจากนี้ พลังความร้อนจากถ่านหินซึ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นปริมาณมากนั้นจะลดลงเหลือร้อยละ 26 ส่วนพลังความร้อนจากก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จะลดลงเหลือร้อยละ 27 ทั้งนี้ รบ. ญป. ได้ตัดสินใจกำหนดเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 26 ภายในปี ค.ศ. 2030 ซึ่งจากการสำรวจในเดือน เม.ย. 58 ก. สิ่งแวดล้อม ญป. แถลงว่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศอยู่ที่ประมาณ 14.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาและเป็นปริมาณมากที่สุดเป็นอันดับสองในประวัติการณ์รองจากปี 2550 โดยมีสาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นของอัตราการพึ่งพาพลังความร้อนจากถ่านหินหลังเกิดเหตุระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุคุชิมะไดอิจิ

    • การส่งออกก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) รบ. ญป. จะผลักดันให้ บ. เอกชน ส่งออกก๊าซธรรมชาติเหลวให้มากยิ่งขึ้น โดยจะจัดการประชุมหารือร่วมกับ บ.เอกชนด้านพลังงานรายใหญ่ 6 - 7 ราย ในเดือน ส.ค. 58 เพื่อหารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการสร้างฐานเก็บ LNG และโรงผลิตพลังงานไฟฟ้าจาก LNG ในประเทศแถบเอเชียซึ่งกำลังต้องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้น้อยลง นอกจากนี้ ก. ศก. การค้าและ อก. ญป. (METI) จะเรียกร้องให้ยกเลิกสนธิสัญญาที่ห้ามมิให้ผู้นำเข้า LNG โอนขายแก่บุคคลที่สามในการประชุม LNG ระหว่างประเทศอีกด้วย ในขณะนี้ ญป. นำเข้า LNG ในส่วนแบ่งทางการตลาดร้อยละ 40 ของโลก แต่เนื่องจากการที่ประชากรลดน้อยลงทำให้ปริมาณการใช้ LNG ลดน้อยลงด้วย ญป. จึงต้องการเปิดช่องทางการซื้อขาย LNG ที่เหลืออย่างเสรี

    • การใช้ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ METI จะเพิ่มมาตรการใหม่เพื่อกระตุ้นให้มีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในระยะยาวมากยิ่งขึ้น โดยจะกำหนดหน้าที่ให้ผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ต้องควบคุมดูแลอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากโรงผลิตไฟฟ้าฯ ขนาดเล็กบางราย สร้างอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าได้ไม่สมบูรณ์เท่าที่ควรหรือขาดการดูแลรักษาอุปกรณ์ ทำให้การผลิตไฟฟ้าหยุดชะงักลงภายในไม่กี่เดือน ซึ่งหากมีการตรวจสอบสภาพอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้นานกว่า 10 ปี นอกจากนี้ ยังมีมาตรการอื่น ๆ เช่น การเรียกร้องให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจัดตั้งสมาคมผู้รับเหมาในการตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ในแต่ละพื้นที่ รวมถึงการคงสภาพการเชื่อมต่อเครือข่ายสายส่งไฟฟ้าหลังหมดสัญญาการรับซื้อไปแล้วเพื่อให้ผู้ผลิตฯ ขายไฟฟ้าได้ง่ายยิ่งขึ้น เป็นต้น ทั้งนี้ ระบบรับซื้อพลังงานทดแทนเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2555 โดยได้มีการกำหนดให้ บ. ไฟฟ้าขนาดใหญ่ต้องซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานทดแทนในอัตราราคาคงที่ในช่วงเวลาตั้งแต่ 10 - 20 ปี อนึ่ง สำหรับยอดการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนของปี งปม. ค.ศ. 2015 คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 1.8 ล้านล้านเยน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2555 ถึง 6 เท่า และจากการประเมินของ METI คาดว่าจะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 4 ล้านล้านเยน ในปี 2573




Back to the list