ข้อมูลเศรษฐกิจญี่ปุ่น


นโยบายส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ของประเทศญี่ปุ่น

27/05/2015

ปัญหา และการปรับปรุงนโยบาย

1. ปัญหาจากการดาเนินการนโยบาย Feed in Tariff ( FIT )

หลังจากที่ได้ดำเนินนโยบาย FIT มากว่า 2 ปี ได้ส่งผลในทางบวกสำหรับภาพรวมด้านพลังงานของประเทศญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกันจากการที่การลงทุนด้านพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็แฝงไว้ด้วยปัญหาต่างๆ เช่น ด้านการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบสายส่งไฟฟ้า การเกิดภาวะฟองสบู่ของพลังงานแสงอาทิตย์ (การที่ภาคเอกชนจำนวนมากขอรับรองเป็นผู้ผลิตพลังงานทดแทน) หรือการแบกรับภาระค่าใช้งานไฟฟ้าของผู้ใช้งานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากการสนับสนุนการดำเนินนโยบาย FIT เป็นต้น

1.1    ปัญหาจากการปรับอัตรารับซื้อพลังงานทดแทน สืบเนื่องจากอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์มีราคาลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตั้งแต่มีการใช้นโยบายรับซื้อพลังงานทดแทนแบบ FIT ในปี 2556 ได้มีการปรับลดราคารับซื้อพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์อย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่นในส่วนของการลงทุนด้านพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัยจากเริ่มต้นในปี 2555 ที่อัตรารับซื้อ 40 เยนต่อ kWh ต่อมาปี 2556 มีอัตรารับซื้อที่ 36 เยนต่อ kWh และล่าสุดปี 2557 มีอัตรารับซื้อที่ 32 เยนต่อ kWh จึงทำให้มีผู้ขอลงทุนด้านพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันต่อการปรับราคาที่จะลดลงจากเดิม โดยอัตรารับซื้อจะถูกกำหนดตั้งแต่เมื่อทำการขอลงทะเบียนสัญญาเชื่อมต่อกับบริษัทไฟฟ้า ดังจะเห็นได้จากจำนวนผู้ที่ได้รับรองผู้ประกอบกิจการพลังงานแสงอาทิตย์ในกำลังการผลิต 10 kW ขึ้นไป ในเดือนมีนาคม 2557 มีมากถึง 180,000 ราย (เพิ่มจากเดือนก่อนหน้า 44%) คิดเป็นกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นถึง 26,000,000 kW (เพิ่มจากเดือนก่อนหน้า 73%)
จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น ทำให้มีหลายบริษัทที่ได้รับสิทธิในอัตรารับซื้อสูง ไม่ได้มีการลงทุนจริงในทันที แต่จะรอเวลาเพื่อให้ราคาอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ลดลงก่อนแล้วจึงลงทุน ดังจะเห็นได้จากกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมของผู้ประกอบการที่ได้ลงทะเบียนกับ METI ณ เดือนมีนาคม 2557 มีถึง 71,780,000 kW แต่ในความเป็นจริงแล้ว กำลังการผลิตไฟฟ้าที่ได้รับการรับรองที่มีการผลิตจริงมีเพียง 11,860,000 kW เท่ำนั้น ทำให้การประเมินพลังงานไฟฟ้ามีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงมาก ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาพลังงานทดแทนของประเทศญี่ปุ่นในอนาคต
1.2    การแบกรับภาระของผู้ใช้บริการไฟฟ้า การคิดค่าบริการการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ค่าไฟฟ้าทั่วไป และค่าไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ซึ่งค่าไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนนั้น จะถูกนำไปใช้ในการสนับสนุนการรับซื้อพลังงานทดแทนของผู้ประกอบการโรงไฟฟ้า โดยรัฐบาลได้จัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบการจัดการค่าใช้จ่ายเป็นผู้บริหารจัดการค่าไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน METI จะนำข้อมูลกำลังการผลิตที่เริ่มเดินเครื่องจริงมาใช้คำนวณค่าไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนต่อ kWh โดยปี 2557 ค่าไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนอยู่ที่ 0.75 เยนต่อ kWh โดยเฉลี่ยแล้วแต่ละครัวเรือนจะต้องจ่ายค่าบริการต่อเดือนประมาณเดือนละ 225 เยน (2,700 เยนต่อปี) (ประมาณการการใช้ไฟเดือนละ 300kWh) แต่จากข้อมูลปริมาณพลังงานทดแทนของ METI ณ เดือนมีนาคม 2557 มีกำลังการผลิตที่ได้รับการรับรองรวม 71,780,000 kW คิดเป็นมูลค่ารวม 2.78 ล้านล้านเยน หากกำลังการผลิตดังกล่าวเริ่มทำการผลิตจริงทั้งหมด ค่าบริการไฟฟ้าทดแทนจะสูงถึง 3.12 เยนต่อ kWh ส่งผลให้ค่าบริการเฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือนสูงขึ้นเป็น 935 เยน ซึ่งอาจจะเป็นภาระต่อภาคประชาชนผู้ใช้บริการได้
1.3    ปัญหาระบบเครือข่ายส่งไฟฟ้า แม้ว่าประเภทของพลังงานทดแทนที่อยู่ขอบข่ายการดำเนินการนโยบายการรับซื้อพลังงานทดแทนแบบ FIT ประกอบไปด้วย พลังงานจากแสงอาทิตย์ ลม น้ำ ความร้อนจากใต้พื้นดิน และชีวมวล แต่จากการที่พลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์มีราคารับซื้อที่สูงกว่าพลังงานทดแทนประเภทอื่น และสะดวกรวดเร็วในการดำเนินการ จึงทำให้ผู้ประกอบการให้ความสนใจในการดำเนินกิจการผลิตไฟฟ้ำพลังงานแสงอาทิตย์เป็นจำนวนมาก ปริมาณไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จึงเพิ่มขึ้นอย่ำงรวดเร็ว มีผลให้ระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูงรวมถึงระบบหม้อแปลงที่มีอยู่ไม่สามารถรองรับปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากแสงอาทิตย์ได้ ทำให้ผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่จำนวนมากระงับการให้การรับรองเชื่อมต่อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเข้ำสู่ระบบสายส่ง
ในการแก้ปัญหานี้ต้องมีการเพิ่มหรือเสริมระบบสายส่งขึ้นมาใหม่ โดยค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างต้องใช้เงินลงทุนสูงถึง 200-300 ล้านเยนต่อกิโลเมตร ปัจจุบันได้กำหนดให้ค่าก่อสร้างเป็นภาระของผู้ประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน แต่ก็พบว่าผู้ประกอบการดังกล่าวส่วนใหญ่ไม่สามารถลงทุนในส่วนนี้ได้ นอกจากนั้นยังมีปัญหาเกี่ยวกับวิธีการคิดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างร่วมกันของผู้ประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนหลายรายที่เข้ามาเชื่อมต่อกับระบบอีกด้วย
1.4    ข้อจำกัดของการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ แม้แสงอาทิตย์เป็นแหล่งที่ไม่มีวันหมด แต่ก็ยังมีข้อจำกัดคือ สามารถรับแสงอาทิตย์ได้เฉพาะในเวลากลางวันเท่านั้น รวมถึงสภาพภูมิอากาศยังเป็นปัจจัยสำคัญ เนื่องจากคุณภาพของพลังงานแสงอาทิตย์จะแปรผันตามความเข้มของแสงอาทิตย์และระยะเวลาที่รับแสงอาทิตย์ เมื่อพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์มีสัดส่วนที่สูงจะส่งผลต่อสมดุลในการใช้ไฟฟ้าในระบบ ซึ่งจะมีความเสี่ยงการเกิดปัญหาไฟฟ้าดับ เนื่องจากโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ไม่สามารถปรับการจ่ายไฟฟ้าให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของไฟฟ้าทดแทนที่เข้ำสู่ระบบได้ทัน ซึ่งนี่ก็คืออีกหนึ่งสาเหตุที่ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ต้องระงับการรับรองการเชื่อมต่อเป็นการชั่วคราว

2. แนวทางการแก้ไขปัญหา

หลังจากที่โรงไฟฟ้าของภูมิภาคต่างๆ ได้ระงับการดำเนินการตามนโยบายรับซื้อพลังงาน FIT METI ได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อหานโยบายที่เหมาะสมในการขยายการดำเนินการตามนโยบาย FIT ในอนาคต ดังนี้

2.1    การปรับปรุงนโยบายการรับซื้อพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน
     2.1.1    การปรับปรุงขอบข่ายของผู้ผลิตไฟฟ้าที่ต้องถูกควบคุมการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ ที่ผ่านมามีข้อกำหนดให้ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่สามารถตัดการจ่ายไฟฟ้าของผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ไม่ให้จ่ายเข้าไปในสายส่งได้ปีละ 30 วันโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยสำหรับไฟฟ้าที่ไม่ได้ถูกนำเข้าสู่ระบบในวันนั้นๆ แม้ว่าในวันนั้นจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ก็ตาม ซึ่งข้อกำหนดนี้ ที่ผ่านมาครอบคลุมเฉพาะผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลมที่มีขนาดกำลังการผลิตตั้งแต่ 500 kW ขึ้นไป แต่เพื่อให้เกิดการใช้สายส่งให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด จึงได้ขยายขอบข่ายไปยังผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลมที่มีขนาดกำลังการผลิตต่ำกว่า 500 kW ด้วย ทั้งนี้ การตัดการจ่ายไฟเข้าสู่ระบบจะตัดการจ่ายไฟของโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัย (ตั้งแต่ 10 kWh ขึ้นไป) เป็นลำดับแรกก่อนโครงการผลิตพลังงานผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในที่อยู่อำศัย (ต่ำกว่า 10 kWh)
     2.1.2    การเพิ่มความละเอียดในการควบคุมการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ จากที่ระบุใน 1) ได้มีการกำหนดกฎ 30 วัน ต่อปีที่ทางผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ไม่ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าให้แก่ผู้ประกอบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม แม้ว่าจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ก็ตาม ซึ่งจะทำการตัดการรับไฟฟ้าเป็นหน่วยต่อวัน แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นการควบคุมรายชั่วโมง เพื่อให้มีการควบคุมไฟฟ้าเข้าไปในสายส่งให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยพลังงานแสงอาทิตย์กำหนด 360 ชั่วโมงต่อปี และพลังงานลมได้มีการปรับเป็น 720 ชั่วโมงต่อปี โดยผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่สามารถเลือกตัดการจ่ายไฟฟ้าตามเวลาที่เหมาะสมในรายชั่วโมงได้
     2.1.3    การกำหนดให้ติดตั้งระบบควบคุมการผลิตพลังงานระยะไกล จากที่ระบุใน 1) และ 2) จึงกำหนดให้ผู้ประกอบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนที่เข้าข่ายต้องติดตั้งระบบควบคุมการจ่ายไฟระยะไกล เพื่อให้สามารถดำเนินการตามที่ระบุใน 1) และ 2) ได้ เป็นการใช้สายส่งให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงสามารถปรับสมดุลระหว่างการจ่ายไฟฟ้าและการใช้ไฟฟ้าได้ง่ายขึ้น
     2.1.4    การเพิ่มเงื่อนไขในการรับรองการเป็นผู้ประกอบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนจากที่กล่าวข้างต้น การรับรองการเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนประกอบด้วย 2 ส่วน คือ การรับรองอุปกรณ์จากรัฐมนตรีกระทรวง METI ซึ่งจะทำการรับรองในส่วนของอุปกรณ์และการส่งไฟฟ้ำ และการรับรองการเชื่อมต่อเครือข่ายสายส่งไฟฟ้าของผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ ดังนั้น ที่ผ่านมามีผู้ประกอบการหลายรายที่ได้รับการรับรองอุปกรณ์จาก METI แล้ว แต่ไม่ลงทุนก่อสร้างจริง รอระยะเวลาให้อุปกรณ์มีราคาลดลง แล้วจึงทำการก่อสร้าง เพื่อแก้ไขปัญหานี้ METI จึงได้เพิ่ม "มาตรการ 180 วัน" เป็นเงื่อนไขเพิ่มเติมสำหรับผู้ประกอบการพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ตั้งแต่ 50 kWh ขึ้นไป โดยกำหนดให้ภายใน 180 วัน นับจากวันที่ได้รับการรับรองอุปกรณ์จาก METI ผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนต้องยื่นหนังสือเพื่อยืนยันสถานที่ดำเนินการ และการจัดหาอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินการ หากไม่สามารถเตรียมการได้ทัน สามารถยืดเวลาออกไปได้อีก 180 วัน (รวมทั้งหมด 360 วัน ) ซึ่งถ้าเกินกำหนดเวลาแล้วยังไม่สามารถเตรียมการได้ จะถือว่าการรับรองที่ได้รับทั้งหมดเป็นโมฆะ

2.2    การปรับปรุงนโยบายการรับซื้อพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน
ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ความเห็นว่า โรงงานไฟฟ้าจำเป็นที่จะต้องมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้แก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เช่น การนำเทคโนโลยีแบตเตอรี่ขนาดใหญ่เข้ามาใช้เพื่อให้การจ่ายไฟเข้าสู่ระบบมีความเสถียร หรือสามารถจ่ายไฟฟ้าปริมาณมากขึ้นเข้าสู่ระบบในช่วงที่มีความต้องการสูง การสร้างเครือข่ายพลังงานไฟฟ้าให้มีความเชื่อมโยงกันกับท้องถิ่นหรือภูมิภาคต่างๆ เพื่อสร้างสมดุลของการใช้ไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นสามารถรองรับการดำเนินนโยบายการบริการไฟฟ้าอิสระ(Electricity Liberalization) ของโรงไฟฟ้าต่างๆ ที่จะเริ่มในปี 2016
     2.2.1    การปรับปรุงนโยบายการรับซื้อพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน สืบเนื่องจากอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์มีราคาลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตั้งแต่มีการใช้นโยบายรับซื้อพลังงานทดแทนแบบ FIT ในปี 2556 ได้มีการปรับลดราคารับซื้อพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์อย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่นในส่วนของการลงทุนด้านพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัยจากเริ่มต้นในปี 2555 ที่อัตรารับซื้อ 40 เยนต่อ kWh ต่อมาปี 2556 มีอัตรารับซื้อที่ 36 เยนต่อ kWh และล่าสุดปี 2557 มีอัตรารับซื้อที่ 32 เยนต่อ kWh จึงทำให้มีผู้ขอลงทุนด้านพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันต่อการปรับราคาที่จะลดลงจากเดิม โดยอัตรารับซื้อจะถูกกำหนดตั้งแต่เมื่อทำการขอลงทะเบียนสัญญาเชื่อมต่อกับบริษัทไฟฟ้า ดังจะเห็นได้จากจำนวนผู้ที่ได้รับรองผู้ประกอบกิจการพลังงานแสงอาทิตย์ในกำลังการผลิต 10 kW ขึ้นไป ในเดือนมีนาคม 2557 มีมากถึง 180,000 ราย (เพิ่มจากเดือนก่อนหน้า 44%) คิดเป็นกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นถึง 26,000,000 kW (เพิ่มจากเดือนก่อนหน้า 73%) จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น ทำให้มีหลายบริษัทที่ได้รับสิทธิในอัตรารับซื้อสูง ไม่ได้มีการลงทุนจริงในทันที แต่จะรอเวลาเพื่อให้ราคาอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ลดลงก่อนแล้วจึงลงทุน ดังจะเห็นได้จากกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมของผู้ประกอบการที่ได้ลงทะเบียนกับ METI ณ เดือนมีนาคม 2557 มีถึง 71,780,000 kW แต่ในความเป็นจริงแล้ว กำลังการผลิตไฟฟ้าที่ได้รับการรับรองที่มีการผลิตจริงมีเพียง 11,860,000 kW เท่ำนั้น ทำให้การประเมินพลังงานไฟฟ้ามีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงมาก ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาพลังงานทดแทนของประเทศญี่ปุ่นในอนาคต
     2.2.2    การแก้ปัญหาโดยนำเทคโนโลยีมาใช้งาน หลังจากที่โรงไฟฟ้าของภูมิภาคต่างๆ ได้ระงับการดำเนินการตามนโยบายรับซื้อพลังงาน FIT METI ได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อหานโยบายที่เหมาะสมในการขยายการดำเนินการตามนโยบาย FIT ในอนาคต ดังนี้
  • การปรับปรุงขอบข่ายของผู้ผลิตไฟฟ้าที่ต้องถูกควบคุมการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ ที่ผ่านมามีข้อกำหนดให้ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่สามารถตัดการจ่ายไฟฟ้าของผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ไม่ให้จ่ายเข้าไปในสายส่งได้ปีละ 30 วันโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยสำหรับไฟฟ้าที่ไม่ได้ถูกนำเข้าสู่ระบบในวันนั้นๆ แม้ว่าในวันนั้นจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ก็ตาม ซึ่งข้อกำหนดนี้ ที่ผ่านมาครอบคลุมเฉพาะผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลมที่มีขนาดกำลังการผลิตตั้งแต่ 500 kW ขึ้นไป แต่เพื่อให้เกิดการใช้สายส่งให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด จึงได้ขยายขอบข่ายไปยังผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลมที่มีขนาดกำลังการผลิตต่ำกว่า 500 kW ด้วย ทั้งนี้ การตัดการจ่ายไฟเข้าสู่ระบบจะตัดการจ่ายไฟของโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัย (ตั้งแต่ 10 kWh ขึ้นไป) เป็นลำดับแรกก่อนโครงการผลิตพลังงานผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในที่อยู่อำศัย (ต่ำกว่า 10 kWh)
  • การเพิ่มความละเอียดในการควบคุมการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ จากที่ระบุใน 1) ได้มีการกำหนดกฎ 30 วัน ต่อปีที่ทางผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ไม่ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าให้แก่ผู้ประกอบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม แม้ว่าจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ก็ตาม ซึ่งจะทำการตัดการรับไฟฟ้าเป็นหน่วยต่อวัน แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นการควบคุมรายชั่วโมง เพื่อให้มีการควบคุมไฟฟ้าเข้าไปในสายส่งให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยพลังงานแสงอาทิตย์กำหนด 360 ชั่วโมงต่อปี และพลังงานลมได้มีการปรับเป็น 720 ชั่วโมงต่อปี โดยผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่สามารถเลือกตัดการจ่ายไฟฟ้าตามเวลาที่เหมาะสมในรายชั่วโมงได้
  • การกำหนดให้ติดตั้งระบบควบคุมการผลิตพลังงานระยะไกล จากที่ระบุใน 1) ได้มีการกำหนดกฎ 30 วัน ต่อปีที่ทางผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ไม่ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าให้แก่ผู้ประกอบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม แม้ว่าจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ก็ตาม ซึ่งจะทำการตัดการรับไฟฟ้าเป็นหน่วยต่อวัน แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นการควบคุมรายชั่วโมง เพื่อให้มีการควบคุมไฟฟ้าเข้าไปในสายส่งให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยพลังงานแสงอาทิตย์กำหนด 360 ชั่วโมงต่อปี และพลังงานลมได้มีการปรับเป็น 720 ชั่วโมงต่อปี โดยผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่สามารถเลือกตัดการจ่ายไฟฟ้าตามเวลาที่เหมาะสมในรายชั่วโมงได้
  • การเพิ่มเงื่อนไขในการรับรองการเป็นผู้ประกอบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนจากที่กล่าวข้างต้น การรับรองการเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนประกอบด้วย 2 ส่วน คือ การรับรองอุปกรณ์จากรัฐมนตรีกระทรวง METI ซึ่งจะทำการรับรองในส่วนของอุปกรณ์และการส่งไฟฟ้ำ และการรับรองการเชื่อมต่อเครือข่ายสายส่งไฟฟ้าของผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ ดังนั้น ที่ผ่านมามีผู้ประกอบการหลายรายที่ได้รับการรับรองอุปกรณ์จาก METI แล้ว แต่ไม่ลงทุนก่อสร้างจริง รอระยะเวลาให้อุปกรณ์มีราคาลดลง แล้วจึงทำการก่อสร้าง เพื่อแก้ไขปัญหานี้ METI จึงได้เพิ่ม "มาตรการ 180 วัน" เป็นเงื่อนไขเพิ่มเติมสำหรับผู้ประกอบการพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ตั้งแต่ 50 kWh ขึ้นไป โดยกำหนดให้ภายใน 180 วัน นับจากวันที่ได้รับการรับรองอุปกรณ์จาก METI ผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนต้องยื่นหนังสือเพื่อยืนยันสถานที่ดำเนินการ และการจัดหาอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินการ หากไม่สามารถเตรียมการได้ทัน สามารถยืดเวลาออกไปได้อีก 180 วัน (รวมทั้งหมด 360 วัน ) ซึ่งถ้าเกินกำหนดเวลาแล้วยังไม่สามารถเตรียมการได้ จะถือว่าการรับรองที่ได้รับทั้งหมดเป็นโมฆะ

3. การดำเนินการในอนาคต

หลังจากที่ได้ประกาศปรับปรุงนโยบายการรับซื้อพลังงานทดแทนแบบ FIT บางส่วนในเดือนตุลาคม 2557 แล้ว ยังมีอีกหลายส่วนที่ภาครัฐจำเป็นต้องมีการดำเนินการปรับปรุงเพิ่มเติมอีก เช่น

  • การระงับการขอรับรองการผลิตไฟฟ้าของผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่
  • วิธีการและระยะเวลาในการปรับปรุงราคาการรับซื้อพลังงานทดแทน รวมทั้งการปรับลดราคาการรับซื้อพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์
  • การให้ความสำคัญกับพลังงานทดแทนประเภทอื่นที่มีความเสถียรในการผลิตพลังงาน เช่น พลังงานน้ำ หรือพลังงานจากความร้อนใต้พิภพ
  • การลดภาระของผู้ใช้ไฟฟ้าในส่วนค่าบริการไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนโดยการกำหนดเพดานกำลังไฟฟ้าในการคำนวณค่าบริการ
  • การพิจารณาระบบการประมูลรูปแบบใหม่ โดยให้สิทธิพิเศษในการคัดเลือกผู้ที่สามารถผลิตไฟฟ้าในราคาที่ต่ำ
  • การสนับสนุนด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการส่วนหนึ่ง ในการลงทุนการเชื่อมต่อเครือข่ายการไฟฟ้า และการจัดเก็บพลังงาน

โดยการปรับปรุงนโยบายต่างๆดังกล่าว ได้รับการจับตามองจากผู้ลงทุนด้านพลังงานทดแทนเป็นอย่างมาก ซึ่งภาครัฐจำเป็นต้องมีการดำเนินการอย่างรอบคอบ เพื่อกำหนดนโยบายใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาด้านพลังงานทดแทนในอนาคตต่อไป




Back to the list