ข้อมูลเศรษฐกิจญี่ปุ่น


สรุปสถานการณ์เกษตรที่สำคัญจากสื่อญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 7 - 16 สิงหาคม 2557

08/10/2014

1. ญี่ปุ่นเร่งผลิตธัญพืชอาหารสัตว์เพื่อเพิ่มอัตราการพึ่งพาตนเองด้านอาหาร

(The Japan Agri News: วันที่ 7 สิงหาคม 2557)
อัตราการพึ่งพาตนเองด้านอาหารของญี่ปุ่นปี 2556 อยู่ที่ 39% ซึ่งถือว่าต่ำที่สุด ในบรรดาประเทศอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ โดยเมื่อปี 2554 อัตราการพึ่งพาตนเองด้านอาหารของแคนาดาอยู่ที่ 258% ฝรั่งเศส 129% อเมริกา 127% เยอรมัน 92% อังกฤษ 72% ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นตั้งเป้าไว้ที่ 50% ในปี 2563 อัตราการพึ่งพาตนเองด้านธัญพืช ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดอำนาจของประเทศนั้น กำลังลดลงทั่วโลก แม้แต่ในญี่ปุ่น อัตราการพึ่งพาตนเองด้านธัญพืชและธัญพืชอาหารสัตว์อยู่ที่ 28% อยู่ลำดับที่ 125 จาก 178 ประเทศที่มีการสำรวจ ซึ่งเทียบเท่ากับบางประเทศในทวีปแอฟริกา ญี่ปุ่นจึงต้องวางระบบให้สามารถพึ่งพาตนเองด้านอาหารได้เช่นประเทศอุตสาหกรรมประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพึ่งพาตนเองด้านธัญพืชอาหารสัตว์ รัฐบาลญี่ปุ่นจึงให้การอุดหนุนทางการเงินแก่เกษตรกรที่ปลูกพืชยุทธศาสตร์ เช่น ข้าวชนิดที่ใช้ทำอาหารสัตว์หรือแป้ง ข้าวสาลี ถั่วเหลือง พืชอาหารสัตว์อื่นๆ เป็นต้น

2. ยอดการส่งออกสินค้าเกษตรญี่ปุ่นครึ่งปีแรกสูงกว่าปี 56

(The Japan Agri News: วันที่ 13 สิงหาคม 2557)
จากประกาศกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และ ประมง ของญี่ปุ่น พบว่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารในครึ่งปีแรก (มกราคม-มิถุนายน 2557) มีมูลค่า 284 พันล้านเยน สูงขึ้น 10% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปี 2556 แม้ว่าปี 2556 มูลค่าทางการค้าของญี่ปุ่นสูงถึง 550.5 พันล้านเยน อันเป็นผลมาจากการลดค่าเงินเยน ประกอบกับอาหารญี่ปุ่นเป็นที่นิยมมาก ส่วนครึ่งปีแรกของปี 2557 มูลค่าการส่งออกเนื้อโคและข้าวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยการส่งออกข้าวมีมูลค่า 0.6 พันล้านเยน (ไม่รวมข้าวเพื่อการบริจาค) สูงกว่าปีที่แล้ว 42% สาเก 5.5 พันล้านเยน สูงขึ้น 9% เนื้อโค 3.5 พันล้าน สูงขึ้น 27% นมผง 1.2 พันล้านเยน สูงขึ้น 70% รัฐบาลญี่ปุ่นตั้งเป้าเพิ่มมูลค่าการส่งออกเป็น 1 ล้านล้านเยนในอีก 6 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ ญี่ปุ่นใช้วิธีการเจรจาให้ประเทศนำเข้าที่กฎระเบียบเข้มงวดเนื่องจากกรณีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะระเบิด ให้ผ่อนผันกฎระเบียบการนำเข้าสินค้าเกษตรญี่ปุ่น เพื่อขยายปริมาณการส่งออกให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว

3. ญี่ปุ่นพัฒนาวิธีการเพิ่มสารอาหารในไข่ไก่

(The Japan Agricultural News: วันที่ 17 สิงหาคม 2557)
อัตราการพึ่งพาตนเองด้านอาหารของญี่ปุ่นปี 2556 อยู่ที่ 39% ซึ่งถือว่าต่ำที่สุด ในบรรดาประเทศอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ โดยเมื่อปี 2554 สถาบันวิจัยปศุสัตว์ ส่วนเทคนิคอุตสาหกรรม จังหวัดอาโอโมริ ทำการวิจัยพัฒนาการเพิ่มสารอาหารในไข่ไก่ พบว่าเมื่อผสมองุ่นและแครอทในอาหารไก่ ไข่ไก่จะมีสารโพลีฟีนอล (ช่วยต้านอนุมูลอิสระ) และเบต้าแคโรทีนในปริมาณที่สูงขึ้น ทั้งนี้ คณะวิจัยได้หมักเศษองุ่นที่ได้จากโรงงานผลิตไวน์ในจังหวัดอาโอโมริกับแบคทีเรีย Lactobacillus และนำแครอทที่ขนาดไม่ได้มาตรฐานพร้อมลำต้นและใบมาอบแห้ง แล้วบดให้ละเอียด นำเศษองุ่นหมักและแครอทบดแห้งผสมเข้ากับอาหารไก่ในอัตราส่วน 1 ต่อ 9 ขณะนี้ไม่พบว่ามีผลกระทบต่อไข่หรือไม่พบว่ามีผลทำให้ไข่แตกแต่อย่างใด เศษองุ่นมีคุณสมบัติช่วยเพิ่มสารโพลีฟีนอลและวิตามินอีในไข่ไก่ ส่วนหัว ลำต้น และใบแครอทช่วยเพิ่มสารเบต้าแคโรทีน มากขึ้นถึง 14 เท่า แต่มีข้อเสียเรื่องค่าใช้จ่าย เนื่องจากแครอทที่ต้องอบแห้งและบด ทำให้ต้นทุนสูงกว่าอาหารไก่ทั่วๆ ไป กิโลกรัมละ 15 เยน ขณะที่เศษองุ่นมีต้นทุนต่ำกว่าอาหารไก่ 7 เยน สถาบันฯ กล่าวว่า ต้นทุนการผลิตสูงจะส่งผลให้ราคาขายสูงด้วยเช่นกัน ปัจจุบัน สถาบันฯ กำลังวิจัยการผสมมันเทศและสาหร่ายทะเลในอาหารไก่

4. ญี่ปุ่นพร้อมส่งออกข้าวของจังหวัดฟุกุชิมะ

(channelnewsasia.com: วันที่ 19 สิงหาคม 2557)
ญี่ปุ่นส่งออกข้าวที่ปลูกในจังหวัดฟุกุชิมะอีกเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ประเทศต่างๆ ยกเลิกการนำเข้าเนื่องจากหวาดกลัวการปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี ทั้งนี้ สหภาพสมาคมสหกรณ์การเกษตรญี่ปุ่น (Zen-Noh) ซึ่งเป็นผู้ค้าส่งรายใหญ่สินค้าเกษตรญี่ปุ่นเปิดเผยว่า จะจัดส่งข้าวที่ปลูกห่างจากโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะประมาณ 60 – 80 กิโลเมตร ปริมาณ 300 กิโลกรัมไปยังประเทศสิงคโปร์ เป็นรุ่นแรก เจ้าหน้าที่จังหวัดฟุกุชิมะกล่าวว่า ข้าวที่ผลิตในจังหวัดฟุกุชิมะได้รับการตรวจเช็คสารกัมมันตภาพรังสีทุกรุ่นก่อนส่งขายในท้องตลาด โดยรัฐบาลกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยที่ 100 เบคเคอเรลต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ ก่อนเกิดเหตุดรงไฟฟ้าฟุกุชิมะระเบิด มีการส่งออกข้าว ท้อ และ แอปเปิล ปีละมากกว่า 100 ตัน ไปยังฮ่องกงและไต้วัน อย่างไรก็ตาม เมื่อปี 2555 ได้มีการส่งออกท้อและแอปเปิลไปยังประเทศไทย และเมื่อปี 2556 มีการส่งออกผลไม้ต่างๆ ไปยังมาเลเซียด้วย



Back to the list