เศรษฐกิจญี่ปุ่นหลังการปรับเพิ่มอัตราภาษีผู้บริโภคเป็นร้อยละ 8
18/06/2014
ผลกระทบต่อ ศก.ญป. ในช่วงที่ผ่านมา หลังจากการปรับเพิ่มอัตราภาษีผู้บริโภคเป็นร้อยละ 8 เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2557
1. ผลกระทบต่อ ศก.ญป. ในภาพรวม |
1.1 |
|
สนง.ครม.ญี่ปุ่น และธนาคารชาติญี่ปุ่น (BOJ) ยังมีมุมมองในเชิงบวกต่อ ศก.ญป. หลังการปรับเพิ่มอัตราภาษีผู้บริโภค โดยประเมินสภาวะ ศก. ประจำเดือน พ.ค. 2557 ว่า แม้อุปสงค์จะได้รับผลกระทบหลังการปรับเพิ่มอัตราภาษีผู้บริโภค แต่ ศก.ญี่ปุ่นยังคงฟื้นตัวอย่างช้า ๆ และได้ประเมินภาวะ ศก.ญป. หลังจากนี้ไว้ในระดับเดียวกันเช่นกัน |
1.2 |
|
การปรับเพิ่มอัตราภาษีผู้บริโภคเป็นร้อยละ 8 ส่งผลทำให้การบริโภคในเดือน เม.ย. 2557 ลดลงร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการลดลงของการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารร้อยละ 1.49 โดยเฉพาะอาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เครื่องปรุงรส และเหล้า นอกจากนี้ การใช้จ่ายในด้านคมนาคมและการสื่อสาร รวมทั้งผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ภายในบ้านก็ลดลง เนื่องจากมีการบริโภคเป็นจำนวนมากในเดือน มี.ค. 2557 ก่อนการปรับขึ้นภาษีผู้บริโภคแล้ว อย่างไรก็ดี รัฐบาลญี่ปุ่นและนักเศรษฐศาสตร์ญี่ปุ่นคาดว่าการบริโภคจะได้รับผลในเชิงลบในระยะสั้นเท่านั้น ซึ่งจะเห็นได้จากดัชนีจิตวิทยาผู้บริโภคประจำเดือน พ.ค. 2557 ที่ได้เริ่มปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้งหลังจากที่ปรับลดลงในเดือน เม.ย. 2557 ซึ่ง สนง.ครม.ญี่ปุ่น ได้ปรับเพิ่มการประเมินจิตวิทยาผู้บริโภคจาก "มีการบริโภคที่ลดลง" ในเดือน เม.ย. 2557 เป็น "มีการบริโภคที่ฟื้นตัวขึ้น" ในเดือน พ.ค. 2557 |
1.3 |
|
ดัชนีราคาสินค้าในญี่ปุ่นประจำเดือน พ.ค. 2557 ปรับเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 2.7 ในเดือน เม.ย. 2557 และร้อยละ 4.4 ในเดือน พ.ค. 2557 ซึ่งสินค้าที่มีราคาปรับเพิ่มสูงที่สุด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เพิ่มร้อยละ 25.3 เครื่องซักผ้า เพิ่มร้อยละ 10.6 โทรทัศน์ เพิ่มร้อยละ 10.1) อาหารสัตว์ เพิ่มร้อยละ 22.3 ค่าไฟ ค่าแก๊ส และค่าน้ำ เพิ่มร้อยละ 14.1 อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาโดยไม่ได้นำอัตราภาษีผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นมารวม พบว่าดัชนีราคาสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ในเดือน เม.ย. 2557 และร้อยละ 1.6 ในเดือน พ.ค. 2557 ซึ่งถือว่าอยู่ในการคาดการณ์ของ รบ.ญป. และ BOJ ที่ตั้งเป้าอัตราเงินเฟ้อที่ร้อยละ 2 ภายในปี งปม. ค.ศ. 2014 - 2016 |
2. ผลกระทบต่อภาคส่วนต่าง ๆ ของญี่ปุ่น |
ในช่วงที่ผ่านมาได้มีการจัดทำแบบสำรวจโดย สนง.วิจัยหลายแห่งของญี่ปุ่น ซึ่งโดยส่วนใหญ่พบว่า การปรับเพิ่มอัตราภาษีผู้บริโภคส่งผลกระทบในระยะสั้นเท่านั้น โดยมีตัวอย่างของผลสำรวจ ดังนี้ |
2.1 |
|
ก.คลัง และ สนง.ครม.ญี่ปุ่น ได้จัดทำผลสำรวจการประเมินสภาวะ ศก. ของบริษัทเอกชนขนาดใหญ่พบว่า บริษัทส่วนใหญ่มองภาวะ ศก. ช่วงเดือน เม.ย. – มิ.ย. 2557 ในเชิงลบเนื่องจากได้รับผลกระทบจากยอดขายที่ลดลงหลังการปรับเพิ่มอัตราภาษีผู้บริโภค ทำให้การผลิตและการวางแผนการจำหน่ายสินค้าใหม่ ๆ ต้องชะลอไปด้วย อย่างไรก็ดี มองว่า ศก.จะกลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็วในงวดเดือน ก.ค. – ก.ย. 2557 |
2.2 |
|
สำนักวิจัยของ นสพ. Nikkei ได้สำรวจผลกระทบของการเพิ่มอัตราภาษีผู้บริโภคต่อภาคครัวเรือนญี่ปุ่นในช่วงวันที่ 17 – 20 พ.ค. 2557 จำนวน 882 คน พบว่า ร้อยละ 42.8 เห็นว่า การเพิ่มอัตราภาษีผู้บริโภคไม่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ร้อยละ 25 รู้สึกถึงผลกระทบ แต่รับมือได้โดยประหยัดและออม และร้อยละ 32.2 รู้สึกถึงผลกระทบ อย่างไรก็ดี เมื่อสอบถามถึงระดับของเงินเดือนที่ได้รับเมื่อเทียบกับช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ร้อยละ 25 ตอบว่าลดลง ซึ่งสูงกว่าร้อยละ 14 ที่ตอบว่าเพิ่มขึ้น ทำให้เห็นได้ว่า บริษัทที่ปรับเพิ่มเงินเดือนให้พนักงานในช่วงที่ผ่านมากระจุกตัวอยู่แค่บริษัทขนาดใหญ่กลุ่มหนึ่ง แต่ SMEs ยังไม่ค่อยปรับเพิ่มเงินเดือนเท่าใดนัก ซึ่งปัจจัยที่จะทำให้ภาคครัวเรือนจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นในอนาคต ขึ้นอยู่กับระดับเงินเดือนว่าจะเพิ่มขึ้นเท่าใด |
2.3 |
|
นสพ. Nikkei ได้ทำการสำรวจความเห็นของผู้บริหารระดับ CFO ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์จำนวน 300 บริษัท ในช่วงกลางเดือน พ.ค. – ต้น มิ.ย. 2557 เกี่ยวกับผลกระทบอัตราภาษีผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นต่อยอดขายของบริษัท พบว่า ร้อยละ 58 ตอบว่ายอดขายไม่ได้รับกระทบ ขณะที่ร้อยละ 38 ตอบว่า ยอดขายลดลงเล็กน้อยไม่เกินร้อยละ 10 และเมื่อถามเกี่ยวกับผลกระทบต่อกำไรของบริษัท พบว่าร้อยละ 63 ตอบว่าไม่มีผลกระทบ ขณะที่ร้อยละ 20 ตอบว่ากำไรลดลง โดยประเมินได้ว่า บริษัทส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในเดือน เม.ย. 2557 แต่เริ่มได้รับผลกระทบน้อยลงตั้งแต่เดือน พ.ค. 2557 ซึ่งตัวอย่างหนึ่งเห็นได้จากยอดจำหน่ายรถยนต์ในญี่ปุ่นในเดือน เม.ย. 2557 ลดลงร้อยละ 5.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ในเดือน พ.ค. 2557 ยอดจำหน่ายหดตัวลงในอัตราที่ลดลงเหลือร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งถือว่าเป็นผลกระทบที่น้อยกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ |
3. การรับมือต่อผลกระทบ |
3.1 |
|
ประเด็นที่ รบ.ญป. กังวลมากที่สุด ได้แก่ การหดตัวลงของการบริโภคจากราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อภาวะ ศก.ในภาพรวม โดยการที่จะทำให้การบริโภคยังคงเติบโตได้ จะต้องมีการปรับเพิ่มอัตราเงินเดือนของภาคครัวเรือน ดังนั้น ในช่วงที่ผ่านมา รบ.ญป. จึงพยายามรณรงค์และขอความร่วมมือจากบริษัทเอกชนให้เพิ่มเงินเดือน (เงินเดือนพื้นฐาน ค่าล่วงเวลาและโบนัส) ให้แก่พนักงาน อย่างไรก็ดี มีเพียงกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่เท่านั้นที่เพิ่มอัตราเงินเดือนให้แก่พนักงาน โดยผลการสำรวจของสมาพันธ์ธุรกิจ ญป. (เคดันเรน) พบว่า ในปี 2556 บริษัทขนาดใหญ่ของญี่ปุ่นปรับเพิ่มอัตราเงินเดือนให้แก่พนักงานเฉลี่ยคนละ 7,697 เยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.39 เมื่อเทียบกับอัตราเงินเดือนในปี 2555 อย่างไรก็ดี บริษัท SMEs ยังไม่ปรับเพิ่มเงินเดือน
เท่าใดนัก ซึ่ง รบ.ญป. จะยังคงรณรงค์ต่อไป |
3.2 |
|
รบ.ญป. ใช้มาตรการบรรเทาผลกระทบจากการขึ้นอัตราภาษีผู้บริโภคสำหรับผู้มีรายได้ต่ำ ครัวเรือนที่เลี้ยงดูบุตร โดยให้เงินช่วยเหลือพิเศษ โดยตั้งงบประมาณไว้มูลค่า 6 แสนล้านเยน (2 แสนล้านบาท) |