




15/08/2014
1. | ภายใต้ยุทธศาสตร์การเติบโตฉบับใหม่ (New Growth Strategy) ของรัฐบาลญี่ปุ่น ได้มีนโยบายปฏิรูปอุตสาหกรรมการเกษตรในญี่ปุ่น ซึ่งรวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มในอุตสาหกรรมอาหารของญี่ปุ่น การส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ 6 ซึ่งเน้นการปรับตัวของภาคเกษตรกรรมญี่ปุ่นโดยนำอุตสาหกรรมการผลิตและบริการมาผสมผสานมากขึ้น รวมทั้งการส่งเสริมอาหารญี่ปุ่นในต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งเมื่ออาหารญี่ปุ่นได้รับความนิยมในต่างประเทศมากขึ้น ก็จะส่งผลดีต่อการส่งออกสินค้าเกษตรกรรมของญี่ปุ่น รวมทั้งข้าว ไปยังต่างประเทศมากขึ้น | |
2. | รัฐบาลญี่ปุ่นจะยกเลิกนโยบาย Fixed Price Direct Payment for Rice Production ซึ่งเป็นการให้เงินช่วยเหลือชาวนาในกรณีที่ราคาจำหน่ายข้าวต่ำกว่าต้นทุน โดยให้เงินช่วยเหลือแบบเหมาจ่าย 15,000 เยน ต่อพื้นที่เพาะปลูก 10 เอเคอร์ และนโยบาย Variable Price Direct Payment for Rice Production ซึ่งเป็นการให้เงินช่วยเหลือชาวนาในกรณีที่ราคาข้าวลดลงต่ำลงกว่าราคาขายมาตรฐาน โดยให้เงินช่วยเหลือแบบแปรผัน โดยให้เงินช่วยเหลือเต็มจำนวนจากส่วนต่างระหว่างราคาขายมาตรฐานกับราคาข้าวที่ต่ำกว่าราคามาตรฐาน ซึ่งเป็นนโยบายที่ใช้ตั้งแต่ปี 2553 โดยจะยกเลิกสำหรับข้าวที่ผลิตในปี 2561 เป็นต้นไป ทั้งนี้ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อชาวนาหลังจากการยกเลิกนโยบาย Fixed Price Direct Payment for Rice Production รัฐบาลญี่ปุ่นจะค่อย ๆ ลดระดับเงินช่วยเหลือลงไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่ปี 2557 - 2560 | |
นอกจากนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นจะปฏิรูปนโยบายการให้ความมั่นคงต่อชาวนา ตามกฎหมายความมั่นคงทางรายได้ต่อชาวนา (Act to Stabilize Farmer Income) ซึ่งเริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2550 ซึ่งประกอบด้วยนโยบาย Production Conditions Disparity Correction Measures (Geta) ซึ่งเป็นให้เงินช่วยเหลือแก่เกษตรกรผู้ผลิตข้าวสาลี ถั่วเหลือง และธัญพืช ซึ่งประสบความเสียเปรียบจากเงื่อนไขด้านการผลิตที่ตกลงกับต่างประเทศ และนโยบาย Income Decrease Mitigation Measure (Narashi) ซึ่งเป็น Safety Net การบรรเทาผลกระทบของชาวนาในกรณีที่รายได้จากการจำหน่ายผลผลิตลดลงต่ำกว่ารายได้มาตรฐาน โดยจะให้เงินช่วยเหลือร้อยละ 90 ของรายได้ที่ลดลงจากรายได้มาตรฐาน โดยจะปฏิรูปโดยให้ความช่วยเหลือเฉพาะชาวนาที่สำคัญ เช่น ชาวนาที่ได้รับการรับรอง ชาวนาเจ้าของฟาร์มประจำชุมชน ชาวนาใหม่ที่ได้รับการรับรอง โดยไม่คำนึงถึงเงื่อนไขด้านขนาดของพื้นที่เพาะปลูก และในระยะกลาง รัฐบาลญี่ปุ่นจะนำระบบการประกันรายได้สำหรับเกษตรผู้ผลิตสินค้าทางการเกษตรทุกชนิด โดยในระหว่างนี้จะทำการสำรวจ ศึกษาและพิจารณาต่อไป | ||
3. | รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังสนับสนุนให้มีการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ในระหว่างปีงบประมาณ 2556 – 2558 โดยจัดตั้งกองทุนสำหรับสนับสนุนเงินพิเศษให้กับอำเภอที่สามารถรวบรวมที่ดินจำนวนมากให้ธนาคารเพื่อการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเข้าไปดำเนินการ โดยได้มีการจัดตั้งธนาคารฯ ในทุกจังหวัดตั้งแต่เดือน มี.ค. 2557 เป็นต้นมา โดยธนาคารฯ จะยืมที่ของเกษตรกรสูงวัยหรือที่ประสบปัญหาในการเพาะปลูก แล้วรวมแปลงให้ขนาดใหญ่ขึ้นพร้อมสิ่งสาธารณูปโภคทางการเกษตรแล้วให้เกษตรกรรายใหญ่และบริษัทเกษตรยืมเพาะปลูก ทั้งนี้ ก.เกษตร ป่าไม้และประมงญี่ปุ่น จะจัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนเพื่อให้เงินอุดหนุนเจ้าของที่หรือเกษตรกรที่เพาะปลูกในที่จัดรูป โดยธนาคารฯ จะยืมที่เป็นระยะเวลา 10 ปี หรือมากกว่า และหากมีเกษตรกรมายืมต่อจากธนาคารฯ เจ้าของที่จะได้รับเงิน 20,000 เยน ต่อ 10 เอเคอร์ ซึ่งจะใช้อัตรานี้ไปจนถึงปี 2558 |