ข้อมูลเศรษฐกิจญี่ปุ่น


ข้อมูลเศรษฐกิจเขตคิวชูและชูโกกุของญี่ปุ่น ประจำเดือน มี.ค. 2558

01/04/2015

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและภาวะการค้า ประจำเดือนมีนาคม 2558 (ประเทศญี่ปุ่น เขตคิวชูและชูโกกุ)

1. ภาวะการค้าในเขตคิวชูและชูโกกุ ในเดือน ม.ค. 58

  • ภาวะการค้าในเขตคิวชูและชูโกกุโดยรวมมีมูลค่าการค้า 16,714 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 14.7 ของมูลค่าการค้ารวมของญี่ปุ่น เป็นการส่งออกมูลค่า 8,273 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และนำเข้ามูลค่า 8,441 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 25.8
  • การค้าในเขตคิวชูและชูโกกุกับไทย คิดเป็นมูลค่า 513 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่งออกไปไทยมูลค่า 309 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และนำเข้ามูลค่า 204 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6
  • สินค้าหลักที่นำเข้าจากไทยในเขตนี้ ได้แก่ ยางและผลิตภัณฑ์ยาง ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ อุปกรณ์โทรศัพท์และอุปกรณ์ไฟฟ้า เลนส์แว่นตาและเลนส์กล้องถ่ายรูป ไก่แปรรูป/กุ้งปรุงแต่ง แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ อุปกรณ์กีฬา ผลิตภัณฑ์พลาสติก และอาหารสัตว์ เป็นต้น
  • สินค้าที่ส่งออกไปไทย ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดทองแดง เครื่องจักรกล เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ แผงวงจรไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ พลาสติกและผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ชิ้นส่วนยานยนต์ และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น

2. ประชาชนยังคงมีความมั่นใจในการใช้จ่ายเพื่อการบริโภค สภาวะการจ้างงาน และรายได้มีแนวโน้มดีขึ้น ภาคการก่อสร้างของภาครัฐ และการก่อสร้างที่อยู่อาศัยทั้งอยู่อาศัยเองและให้เช่ามีแนวโน้มขยับตัวดีขึ้น

3. ยอดขายในห้างสรรพสินค้า โดยเฉพาะเสื้อผ้าสตรีชะลอตัวลง ในขณะที่อาหารและเครื่องดื่มยังคงไปได้ดี รวมทั้งยอดขายในซุปเปอร์มาเก็ตทั้งอาหารเช่นกัน ส่วนยอดขายเครื่องใช้- ไฟฟ้าภายในบ้านเริ่มขยับตัวดีขึ้น และรถยนต์รุ่นใหม่ได้เริ่มเปิดตัวในตลาดมากขึ้น

4. การลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิต และไม่ใช่ภาคการผลิตขยับตัวดีขึ้น โดยภาคอุตสาหกรรมหลักในเขตคิวชู ประกอบด้วย รถยนต์ เครื่องจักรกล และผลิตภัณฑ์เคมี และอุตสาหกรรมต่อเรือ มีแนวโน้มดีขึ้น รวมทั้งเซมิคอนดักเตอร์ขยับดีขึ้น เนื่องจากความต้องการในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น

5. บริษัทวิจัยธุรกิจ Tekoku Data Bank Co., Ltd. สำรวจการขึ้นค่าจ้างของบริษัทในเขตชูโกกุ จำนวน 613 บริษัท พบว่าในปี 2014 ร้อยละ 65.4 บริษัทมีการปรับค่าจ้างเพิ่มขึ้น และร้อยละ 31.2 ไม่มีการปรับ สำหรับแนวโน้มในปี 2015 นั้น ร้อยละ 48.9 ตอบว่ามีแผนจะเพิ่มค่าจ้าง ขณะที่ร้อยละ 26.4 ตอบว่าไม่มีแผนปรับขึ้นค่าจ้างแต่อย่างใด ซึ่งสัดส่วนบริษัทที่ไม่ปรับค่าจ้างนี้นับเป็นสัดส่วนต่ำสุดนับตั้งแต่บริษัทเริ่มทำการสำรวจในปี 2006 เป็นต้นมา นอกจากนี้พบว่าในปี 2015 นี้ ภาคบริการมีสัดส่วนของบริษัทที่มีแนวโน้มจะทำการปรับเพิ่มค่าแรงมากที่สุด คือ ร้อยละ 60 ตามมาด้วยภาคการผลิต และภาคการเงินการธนาคาร โดยเหตุผลหลักในการปรับเพิ่มค่าแรงคือ ต้องการดึงดูดบุคคลากรไว้กับองค์กรและการที่บริษัทมีแผนขยายกิจการจึงต้องการบุคคลากรรองรับ

6. องค์กรเพื่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมจังหวัดฮิโรชิมา (Hiroshima Industrial Promotion Organization) รายงานผลการสำรวจประเทศที่เป็นที่สนใจของบริษัทสมาชิกในเชิงธุรกิจ โดยคำตอบที่ได้รับจากสมาชิก 53 บริษัท(จากสมาชิกทั้งหมด 214 บริษัท ) พบว่าประเทศที่ได้รับความสนใจสูงสุดคือ ประเทศไทย อันดับ 2 คือเวียดนามและอันดับ 3 คือ จีน โดยประเทศจีนซึ่งเคยติดอันดับ 1 มาตลอด 10 ปีที่ผ่านมาได้ตกไปอยู่อันดับ 3 โดยเหตุผลหลัก คือ ความกังวลเกี่ยวกับภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและสถานะความสัมพันธ์กับญี่ปุ่นที่เป็นปัญหาอยู่ ส่วนประเทศไทยนั้นขยับขึ้นมาจากอันดับ 2 ในปีที่แล้วมาเป็นอันดับ 1 ในปีนี้ โดยเหตุผลหลัก คือการรวมตัวของ AEC ซึ่งจะทำให้กลุ่มประเทศเหล่านี้มีความแข็งแกร่งมากขึ้น รวมทั้งแนวโน้มการขยายตัวของการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศในไทย ทำให้ญี่ปุ่นมองว่าไทยจะเป็นฐานการผลิตและตลาดส่งออกที่มีศักยภาพ


กิจกรรมที่ดำเนินการ เดือนมีนาคม 2558 (ประเทศญี่ปุ่น เขตคิวชูและชูโกกุ)

1. กิจกรรมตามแผนงานประจำปี

  • คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงพาณิชย์ และคณะฯ จำนวน 10 คนประชุมหารือและตรวจเยี่ยมสำนักงานฯ รวมทั้งพบกับร้าน Typhoon ผู้จำหน่ายเฟอร์นิเจอร์นำเข้าจากไทยและร้านดวงดี ร้านอาหารไทยที่ได้ Thai Select 4 ระหว่างวันที่ 6-8 มี.ค. 58
  • จัดเจรจาธุรกิจและเยี่ยมชมโรงงานให้กับคณะผู้แทนการค้ากลุ่มอุตสาหกรรมส่งเสริมรับช่วงการผลิตไทยวันที่ 19-20 มี.ค.58 ณ เมืองคิตะคิวชู
  • เข้าร่วมประชุมรับมอบนโยบายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และประชุมต่างๆ รวมทั้งจัดคณะผู้แทนการค้าเยี่ยมชมงาน BIFF & BIL 2015 จำนวน 16 ราย และ TIFF 2015 จำนวน 17 ราย ระหว่างวันที่ 10-17 มี.ค. 58 ในไทย
  • เชิญชวนผู้ประกอบการญี่ปุ่นเข้าร่วมเจรจาธุรกิจสินค้าสัตว์เลี้ยงในวันที่ 7 เม.ย. 58 ณ เมืองฟูกูโอกะ
  • ร่วมกับ สลต จัดทำคูหานิทรรศการสินค้าสำหรับผู้สูงวัยที่ได้รับการพัฒนาภายใต้โครงการพัฒนาสินค้าแฟชั่นสำหรับผู้สูงวัย จากผู้ประกอบการไทย 18 ราย ในงาน BIFF & BIL 2015 วันที่ 10-15 มีนาคม 2558
  • นำผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นไปให้คำแนะนำด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์แก่ผู้ประกอบการไทยและคัดเลือกผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมโครงการเพิ่มเติม โครงการพัฒนาตลาดสินค้าสำหรับธุรกิจโรงแรมและงานแต่งงานในญี่ปุ่น 2558 วันที่ 9-12 มีนาคม 2558

2. กิจกรรมตามแผนงานประจำปี

  • บริษัท Petek Ltd ผู้ค้าปลีกผลิตภัณฑ์สัตว์เลี้ยง
  • บริษัท Ethnic Market Bali Tai ผู้ค้าส่ง / ค้าปลีกสินค้าไลฟ์สไตล์

3. กิจกรรมตามแผนงานประจำปี

  • พบกับนาย Koji Higashi, Deputy Representative, Fukuoka Prefectural Government เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือในการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกัน
  • พบกับนาย Kazuo Onoe, Executive Director, Kitakyushu Foreign Trade Association เพื่อหารือเกี่ยวกับการจัดเจรจาธุรกิจให้กับคณะผู้แทนการค้ากลุ่มอุตสาหกรรมส่งเสริมรับช่วงการผลิตไทย วันที่ 19-20 มี.ค.58 และแนวทางความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ และอิเล็คทรอนิกส์ระหว่างกัน
  • พบกับนาย Hideharu Shibata, Executive Director, Industry and Economics Bureau, City of Kitakyushu เพื่อหารือเกี่ยวกับการจัดเจรจาธุรกิจและเยี่ยมชมโรงงานให้กับคณะผู้แทนการค้ากลุ่มอุตสาหกรรมส่งเสริมรับช่วงการผลิตไทย วันที่ 19-20 มี.ค.58 และแนวทางความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์และอิเล็คทรอนิกส์ระหว่างกัน
  • พบกับ Ms. Kozaki Chihiro, Manager, Industrial Promotion Section, The Kitakyushu Chamber of Commerce & Industry เพื่อหารือเกี่ยวกับการแนวทางความร่วมมือในการจัดคณะผู้แทนการค้าสินค้าอุตสาหกรรมไปไทย และจากไทยมาญี่ปุ่น

4. กิจกรรมตามแผนงานประจำปี

  • เข้าร่วมงานเลี้ยงนักธุรกิจญี่ปุ่น Mice Social Gathering จัดโดย Fukuoka City
  • เข้าร่วมงานเลี้ยงเปิดงาน Fukuoka Fashion Week จัดโดย Fukuoka City



Back to the list