ข้อมูลเศรษฐกิจญี่ปุ่น


ข้อมูลเศรษฐกิจเขตคิวชูและชูโกกุของญี่ปุ่น ประจำเดือน กพ. 2558

04/03/2015

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและภาวะการค้า ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2558 (ประเทศญี่ปุ่น เขตคิวชูและชูโกกุ)

1. ภาวะการค้าในเขตคิวชูและชูโกกุ ในเดือน ก.พ. 57

  • ภาวะการค้าในเขตคิวชูและชูโกกุโดยรวมมีมูลค่าการค้า 222,675 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 14.8 ของมูลค่าการค้ารวมของญี่ปุ่น เป็นการส่งออกมูลค่า 104,244 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และนำเข้ามูลค่า 118,431 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.0
  • การค้าในเขตคิวชูและชูโกกุกับไทย คิดเป็นมูลค่า 5,951 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยส่งออกไปไทยมูลค่า 3,710 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และนำเข้ามูลค่า 2,241 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2
  • สินค้าหลักที่นำเข้าจากไทยในเขตนี้ ได้แก่ ยางและผลิตภัณฑ์ยาง ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ อุปกรณ์โทรศัพท์และอุปกรณ์ไฟฟ้า เลนส์แว่นตาและเลนส์กล้องถ่ายรูป ไก่แปรรูป/กุ้งปรุงแต่ง แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ อุปกรณ์กีฬา ผลิตภัณฑ์พลาสติก และอาหารสัตว์ เป็นต้น
  • สินค้าที่ส่งออกไปไทย ได้แก่ เหล็กแผ่นรีด ทองแดง เครื่องจักรกล เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ ชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ พลาสติกและผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ชิ้นส่วนยานยนต์ และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น

2. ประชาชนยังคงมีความมั่นใจในการใช้จ่ายเพื่อการบริโภค สภาวะการจ้างงาน และรายได้มีแนวโน้มดีขึ้น ภาคการก่อสร้าง ของภาครัฐ และการก่อสร้างที่อยู่อาศัยทั้งอยู่อาศัยเองและให้เช่ายังคงลดลง


3. ยอดขายในห้างสรรพสินค้า โดยเฉพาะเสื้อผ้าสตรีชะลอตัวลง ในขณะที่อาหารและเครื่องดื่มยังคงไปได้ดี รวมทั้งยอดขายในซุปเปอร์มาเก็ตทั้งอาหาร และของเล่นเด็กเช่นกัน ส่วนยอดขายเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเริ่มขยับตัวดีขึ้น แต่รถยนต์รุ่นใหม่ได้เริ่มเปิดตัวในตลาดมากขึ้น


4. การลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิต และไม่ใช่ภาคการผลิตขยับตัวดีขึ้น ประมาณร้อยละ 23.9 และร้อยละ 8.7 ตามลำดับ โดยภาคอุตสาหกรรมหลักในเขตคิวชู ประกอบด้วย รถยนต์ เครื่องจักรกล และผลิตภัณฑ์เคมี และอุตสาหกรรมต่อเรือ มีแนวโน้มดีขึ้น รวมทั้งเซมิคอนดักเตอร์ขยับดีขึ้น เนื่องจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น สำหรับเหล็กยังคงไม่ดีขึ้น เนื่องจากภาคการก่อสร้างยังคงชะลอตัวลง


5. สำนักงาน Keidanren สาขาชูโกกุรายงานภาวะเศรษฐกิจของเขตชูโกกุว่าโดยรวมแล้วมีการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องโดยนโยบาย Abenomics ส่งผลบวกชัดเจนต่อภาคการลงทุน การส่งออก ในเขตชูโกกุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการผลิตในเขตจังหวัดฮิโรชิมาและโอกายามา ทั้งนี้เห็นว่ารัฐควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมอุตสาหกรรมการเกษตรและประมงในท้องถิ่นให้มากขึ้นเพื่อเป็นตัวช่วยขับเคลื่อนภาวะเศรษฐกิจในเขตนี้ให้เติบโตได้ต่อเนื่อง


6. บริษัทขนาดใหญ่ในเขตชูโกกุที่มีกำไรสูงขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2-4 ของปี 2014 มีจำนวนมากขึ้น จากรายงานของบริษัท ขนาดใหญ่ในเขตชูโกกุที่เข้าตลาดหลักทรัพย์จำนวน 53 ราย ซึ่งมียอดขายคิดเป็นร้อยละ 64 ของยอดขายรวมของบริษัทขนาดใหญ่ทั้งหมดในเขตชูโกกุ พบว่ามีจำนวนบริษัทที่มีผลประกอบการกำไรสูงขึ้นจำวน 34 ราย สูงขึ้นจากปี 2013 ที่มีเพียง 29 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการที่มีสัดส่วนการส่งออกสูง เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ เคมีภัณฑ์ ซึ่งได้รับอานิสงฆ์จากค่าเงินเยนที่อ่อนตัวลงรวมทั้งการเดินหน้าด้านนวัตกรรมและการพัฒนาทั้งด้านตัวผลิตภัณฑ์และการตลาดอย่างต่อเนื่อง ส่วนอุตสาหกรรมที่พึ่งพิงการนำเข้าสูง เช่น วัสดุก่อสร้างประเภทไม้พื้น บรรจุภัณฑ์จากวัสดุนำเข้า ได้รับผลในทางกลับกันทำให้กำไรลดลงอย่างเห็นได้ชัด ประเด็นที่กำลังถูกจับตามองในขณะนี้คือการทำกำไรสูงขึ้นของบริษํทขนาดใหญ่เหล่านี้จะสามารถส่งผลต่อไปยัง SMEs และการปรับขึ้นค่าจ้างของพนักงานในเขตเศรษฐกิจชูโกกุได้มากน้อยแค่ไหนในช่วงต่อไป


กิจกรรมที่ดำเนินการ เดือนกุมภาพันธ์ 2558 (ประเทศญี่ปุ่น เขตคิวชูและชูโกกุ)

1. กิจกรรมตามแผนงานประจำปี

  • จัดกำหนดการเข้าพบผู้นำเข้าสินค้าไทย และร้านอาหารไทยให้กับคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงพาณิชย์ และคณะฯ จำนวน 10 คน วันที่ 6-8 มี.ค. 58
  • ประสานงานกับ Kitakyushu City และ Kitakyushu Foreign Trade Association จัดเจรจาธุรกิจและเยี่ยมชมโรงงานให้กับคณะ ผู้แทนการค้ากลุ่มอุตสาหกรรมส่งเสริมรับช่วงการผลิตไทยวันที่ 19-20 มี.ค. 58
  • เตรียมการจัดเจรจาธุรกิจสินค้าสัตว์เลี้ยง ในวันที่ 7 เม.ย. 58 ณ เมืองฟูกูโอกะ
  • ร่วมกับ สลต. นำผู้ประกอบการสินค้าไลฟสไตล์จากไทย 18 ราย เข้าร่วมงานแสดงสินค้าและเจรจาการค้า Hoteres Japan 2015 ณ กรุงโตเกียว วันที่ 17-20 ก.พ. 2558
  • ร่วมกับ สลต. จัดเวิร์คช้อป วันที่ 23-24 ก.พ. 2558 ในไทย เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และประชุมกับผู้ประกอบการที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการเพื่อเตรียมการเข้าร่วมงาน Interpets Asia Pacific ณ กรุงโตเกียว และเจรจาการค้า ณ เมืองฟูกูโอกะ ในเดือน เม.ย. 58
  • ประสาน สลต. และผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นเตรียมการจัดคูหานิทรรศการสินค้าแฟชั่นสำหรับผู้สูงวัยในงาน BIFF & BIL 2015 ในไทย
  • ประสาน สอน. และผู้จัดงานแสดงสินค้า Tokyo Diet & Beauty Show 2015 สมัครเข้าร่วมงานและจองพื้นที่คูหาของกรม

2. กิจกรรมรักษาลูกค้าเดิมและแสวงหาลูกค้าใหม่ พบผู้นำเข้า 3 ราย

  • บริษัท Morimitsu Co., Ltd. ผู้ค้าส่งผลิตภัณฑ์สัตว์เลี้ยง
  • บริษัท Kyushu Pet Food Co., Ltd. ผู้ผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง
  • บริษัท Echo Trading Co., Ltd. ตัวแทนผลิตภัณฑ์สัตว์เลี้ยง

3. กิจกรรมกระชับความสัมพันธ์กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

  • พบกับ นาย Junichi Hasegawa, Manager, Fukuoka Asia Business Center เพื่อหารือเกี่ยวกับการจัดเจรจาธุรกิจสินค้าสัตว์เลี้ยงในวันที่ 7 เม.ย. 58
  • พบกับนาย Jun Yamaguchi, Assistant Chief, Kitakyushu City เพื่อหารือเกี่ยวกับการจัดเจรจาธุรกิจและเยี่ยมชมโรงงานให้กับคณะผู้แทนการค้ากลุ่มอุตสาหกรรมส่งเสริมรับช่วงการผลิตไทย วันที่ 19-20 มี.ค. 58
  • พบกับนาย kazuhisa Shimaoka, Head of World Business Square, Nishi-nippon City bank เพื่อหารือเกี่ยวกับการเชิญชวนลูกค้าเข้าร่วมเจรจาธุรกิจสินค้าสัตว์เลี้ยง
  • พบกับนาย Isao Kurauchi, President, Japan Veterinary Medical Associtation เพื่อหารือเกี่ยวกับการเชิญชวนลูกค้าเข้าร่วมเจรจาธุรกิจสินค้าสัตว์เลี้ยง
  • พบกับนาย Kazuyoshi Iwamoto, Vice-Chairman, Fukuoka Prefectural Assembly เพื่อหารือเกี่ยวกับการเชิญชวนลูกค้าเข้าร่วมเจรจาธุรกิจสินค้าสัตว์เลี้ยง

4. กิจกรรมอื่นๆ

  • เข้าร่วมสัมมนาเรื่อง Asia Finance Economic Forum จัดโดย Nishinippon City Bank ในวันที่ 24 ก.พ. 58
  • เข้าร่วมสัมมนาเรื่อง Urban-development Project of Fukuoka City
  • เข้าร่วมสัมมนาเรื่อง AEON Mall ASEAN Seminar
  • เข้าร่วมงานเลี้ยงกับนักธุรกิจญี่ปุ่น ของ Friendship Association between Fukuoka and Thailand



Back to the list