ปฏิทิน
ติดต่อ
สถานทูต
TH
EN
JP
Toggle navigation
หน้าแรก
เกี่ยวกับสถานทูต
สารจากเอกอัครราชทูต
ข่าว/ประกาศจากรัฐบาล
รายนามเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว
รายชื่อข้าราชการ สอท. ณ กรุงโตเกียว
สถานกงสุลกิตติมศักดิ์
หน่วยงานไทยในญี่ปุ่น
วันหยุดประจำปี
ประวัติทำเนียบ สอท. ณ กรุงโตเกียว
ข่าว/กิจกรรม
ข่าว/ประกาศกงสุล
ข้อมูลน่ารู้
เกี่ยวกับญี่ปุ่น
ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น
หมายเลขโทรศัพท์ที่ควรทราบ
วัดไทยในญี่ปุ่น
วัดญี่ปุ่นที่เกี่ยวข้องกับไทย
ข้อความจากสถานทูตฯ
บทความที่น่าสนใจ
ติดต่อ
ติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ
แผนกกงสุล
แผนกอื่นๆ
บริการประชาชนไทย
หนังสือเดินทาง
งานนิติกรณ์/ทะเบียนราษฎร
บัตรประชาชนไทย
แบบฟอร์ม/คำร้อง
สถานที่ราชการที่เกี่ยวข้อง
ตารางกงสุลสัญจร
การใช้ชีวิตในญี่ปุ่น
ลงทะเบียนคนไทยในญี่ปุ่น
ศึกษาต่อในญี่ปุ่น
ปฏิทิน
ติดต่อ
สถานทูต
TH
EN
JP
หน้าแรก
เกี่ยวกับสถานทูต
ข่าว/กิจกรรม
ข่าว/ประกาศกงสุล
ข้อมูลน่ารู้
ติดต่อ
บริการประชาชนไทย
หน้าแรก
ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ/การเมือง
ข้อมูลการเมืองญี่ปุ่น
การเลือกตั้งประธานพรรค LDP
ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ/การเมือง
ข้อมูลเศรษฐกิจญี่ปุ่น
ข้อมูลการเมืองญี่ปุ่น
ข้อมูลการเมืองญี่ปุ่น
การเลือกตั้งประธานพรรค LDP
21/10/2015
1. การเลือกตั้ง ปธ. พรรค LDP
ตามที่วาระการดำรงตำแหน่ง ปธ. พรรค ของ นรม. อาเบะจะสิ้นสุดลงในปลายเดือน ก.ย. 58 พรรค LDP จึงกำหนดจะประกาศรับสมัครผู้ลงชิงตำแหน่ง ปธ. พรรคในวันที่ 8 ก.ย. 58 และกำหนดให้วันที่ 20 ก.ย. 58 เป็นวันลงคะแนนเสียง โดยหากในวันที่ 8 ก.ย. 2558 ไม่มีผู้สมัครเข้าช่วงชิงตำแหน่งก็จะถือว่า นรม. อาเบะได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งต่อไปอีกสมัยโดยไม่มีคู่แข่ง และจะหมดวาระอีกครั้งปลายเดือน ก.ย. 61
มีรายงานว่า นางเซโกะ โนดะ (ส.ส. 8 สมัย) ซึ่งเคยดำรงตำแหน่ง รมต.ใน รบ.นรม.ฟุคุดะ และ รบ. นรม. อะโซ และเคยถูกจับตามองว่าจะเป็น นรม. หญิงคนแรกของญี่ปุ่น จะลงชิงตำแหน่งในครั้งนี้ แต่ไม่สามารถรวบรวมรายชื่อสมาชิกรัฐสภาในพรรคได้ถึง 20 คน จาก 402 คน (ส.ส. 289 / ส.ว. 113) ตามเงื่อนการลงสมัคร นอกจากนี้ กลุ่มหลักต่าง ๆ 7 กลุ่มภายในพรรคซึ่งมี ส.ส./ส.ว. สังกัดอยู่ประมาณ 280 คน นับเป็นร้อยละ 70 ของสมาชิกรัฐสภาของพรรค รวมถึงผู้ที่ไม่ได้สังกัดกลุ่มใด ๆ ในพรรค เช่น นายซะดะคะสึ ทะนิกะคิ ลขธ. พรรคและนายนายชิเกะรุ อิชิบะ รมต. ประจำ สนง.ครม. (ดูแลเขตยุทธศาสตร์พิเศษแห่งชาติและดูแลการฟื้นฟูท้องถิ่น) ซึ่งเคยได้คะแนนเสียงสูงในการเลือกตั้ง ปธ. พรรค เมื่อปี 2555 ได้ประกาศแล้วว่าจะสนับสนุน นรม. อาเบะต่อไป จึงคาดการณ์กันโดยทั่วไปว่า นรม. อาเบะ น่าจะได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งต่อไป
2. นายโทรุ ฮะชิโมะโตะ นายกเทศมนตรีเมืองโอซากา ประกาศลาออกจากพรรค JRP
เมื่อวันที่ 27 ส.ค. 58 นายโทรุ ฮะชิโมะโตะ นายกเทศมนตรีเมืองโอซากา/ทปษ. สูงสุดของพรรค Japan Restoration Party (JRP) หรือพรรค Ishin no Kai และนายอิจิโร มัทสึอิ ผวจ. โอซากา/ทปษ. พรรค JRP ประกาศลาออกจากพรรค และจะวางมือจากการเมืองระดับประเทศ เพื่อมุ่งเน้นการเมืองท้องถิ่นโดยเฉพาะการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเมืองโอซากาและการเลือกตั้ง ผวจ. โอซากา ที่จะมีขึ้นในเดือน พ.ย. ศกนี้
มีรายงานว่า นายโทรุ ฮะชิโมะโตะ และนายอิจิโร มัทสึอิ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งพรรค JRP มีปัญหากับผู้บริหารพรรคชุดปัจจุบัน เนื่องจาก ทั้งสองมีความใกล้ชิดและมีความคิดใกล้เคียงกับ รบ. นรม. อาเบะ ซึ่งไม่ตรงกับแนวทางของ หน. พรรค และ ลขธ. พรรคคนปัจจุบันที่ย้ายมาจากพรรคฝ่ายค้านอื่น ซึ่งมุ่งเน้นการปฏิรูปและรวมตัวกับพรรคฝ่ายค้านอื่นมากกว่า
นายโทรุ ฮะชิโมะโตะ เคยถูกจับตามองว่าเป็นนักการเมืองหนุ่มไฟแรงที่ต้องการนำพรรค JRP ให้เป็นพรรคทางเลือกที่ 3 มีนโยบายหลัก คือ การยกระดับ จ. โอซากาให้มีฐานะการปกครองเทียบเท่ากรุงโตเกียว และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แม้จะไม่ได้รับการยอมรับจากชาวเมืองโอซากาเรื่องการยุบเมืองโอซากาเพื่อแบ่งเขตการปกครองภายใน จ. โอซากาใหม่ แต่ก็ยังเป็นนักการเมืองท้องถิ่นที่ได้รับความนิยมจากชาวโอซากาอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ นายฮะชิโมะโตะยังมีความคิดเรื่อง พ.ร.บ. ความมั่นคงใกล้เคียงกับ นรม. อาเบะด้วย
การลาออกของนายฮะชิโมะโตะ ในช่วงก่อนลงมติผ่านร่าง พ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง น่าจะเป็นประโยชน์ต่อ รบ. ญป. เพราะเป็นการลดความโดดเด่นของพรรค JRP ซึ่งคัดค้านร่าง พ.ร.บ. นี้
3. อัตราการสนับสนุน ครม. นรม.อาเบะ
จากการสำรวจอัตราการสนับสนุน ครม.นรม.อาเบะ โดย นสพ. Sankei ในช่วงวันที่ 15 - 16 ส.ค. 58 ซึ่งเป็นช่วงหลังจากที่ นรม.อาเบะ มีแถลงการณ์ในโอกาสครบรอบ 70 ปี หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปรากฏว่าประชาชนร้อยละ 43.1 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 จากการสำรวจเมื่อวันที่ 18 - 19 ก.ค. 58 ซึ่งต่ำสุดตั้งแต่ ครม.นรม.อาเบะ เข้ารับตำแหน่ง ในขณะที่อัตราการไม่สนับสนุนอยู่ที่ร้อยละ 45.0 ลดลงร้อยละ 7.6 แต่ยังสูงกว่าอัตราการสนับสนุน ทั้งนี้ ในการสำรวจของสำนักข่าวอื่น ๆ อัตราการสนับสนุน ครม. นรม.อาเบะ ก็มีทิศทางที่ฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยเช่นเดียวกัน
ปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อการฟื้นตัวของอัตราการสนับสนุนฯ ได้แก่ แถลงการณ์ในโอกาสครบรอบ 70 ปี ของ นรม.อาเบะ เมื่อวันที่ 14 ส.ค. 58 ซึ่งประชาชนญี่ปุ่นเห็นด้วยถึงร้อยละ 57.3 เมื่อเทียบกับผู้ไม่เห็นด้วยร้อยละ 31.3 และการทบทวนแผนการก่อสร้างสนามกีฬาแห่งชาติแห่งใหม่ของญี่ปุ่นเพื่อรองรับการเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันโอลิมปิกและพาราลิมปิก ปี 2563 ซึ่งประชาชนพอใจที่ รบ.ญี่ปุ่น พิจารณาแผนก่อสร้างและงบประมาณใหม่ ถึงร้อยละ 71.7
อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่ส่งผลลบต่ออัตราการสนับสนุนฯ ได้แก่ (1) การพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ความมั่นคง ซึ่งประชาชนยังคัดค้าน ร้อยละ 56.4 ซึ่งมากกว่าผู้ที่สนับสนุน ซึ่งมีเพียงร้อยละ 34.3 (2) การเปิดใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งเมื่อวันที่ 11 ส.ค. 58 มีการเปิดใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เซ็นไดที่ จ.คาโกะชิมะ ซึ่งผ่านมาตรฐานความปลอดภัยจาก รบ.ญี่ปุ่นแล้ว ทำให้เป็นประเด็นขึ้นมาอีกครั้ง โดยมีอัตราผู้ไม่เห็นด้วยร้อยละ 56.7 มากกว่าผู้ที่เห็นด้วยที่อยู่ที่ร้อยละ 35.8 และ (3) อาจจะต้องจับตามองทิศทางของ ศก.ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลดีต่ออัตราการสนับสนุนฯ ในช่วงที่ผ่านมา แต่อาจจะส่งผลลบในระยะต่อไป เนื่องจากอัตราการเติบโตของ Real GDP ญี่ปุ่น ประจำงวดเดือน เม.ย. - มิ.ย. 58 ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 17 ส.ค. 58 ลดลง ร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งถือเป็นการลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาส จากการบริโภคส่วนบุคคลและการส่งออกที่ลดลง และมีความกังวลต่อทิศทางของ ศก.จีน ซึ่งอาจส่งผลต่อ ศก.ญี่ปุ่นในระยะต่อไป และได้ทำให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นลดลงอย่างรุนแรงและค่าเงินเยนเริ่มกลับมาแข็งค่าในระยะนี้
พรรค LDP ยังเป็นพรรคที่ประชาชนสนับสนุนมากที่สุดที่ร้อยละ 35.8 ขณะที่พรรคอื่น ๆ ยังมีอัตราการสนับสนุนที่ต่ำ เช่น พรรค DPJ ร้อยละ 10.8 พรรค JRP ร้อยละ 6.0 พรรค Komei ร้อยละ 5.1 พรรค Japanese Communist Party (JCP) ร้อยละ 5.1 และพรรค Social Democratic Party (SDP) ร้อยละ 2.1 เป็นต้น
Tags:
เลือกตั้ง
,
อาเบะ
,
ญี่ปุ่น
,
japan
Back to the list