




12/01/2016
1.1 การหารือทวิภาคี
ในการเยือนครั้งนี้ นรม. Abe ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะ ปธน.Pranab Mukherjee เมื่อ 12 ธ.ค. 58 / หารือวิภาคีกับ นรม. Narendra Modi เมื่อ 12 ธ.ค. 58 เป็นเวลาถึงกว่า 1 ชม. และรับการเข้าเยี่ยมคารวะของ Smt.Sushma Swaraj รมว.กต.อินเดีย เมื่อ 11 ธ.ค. 58 สาระสำคัญ ดังนี้
1.1.1 การเข้าเยี่ยมคารวะ ปธน. Pranab Mukherjee นรม. ญป.
ได้แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ฝนตกหนักที่เจนไนและอวยพรวันเกิดครบรอบ 80 ปี ของ ปธน. และย้ำถึง คสพ. ญป. – อินเดีย ที่เป็น “Special Strategic and Global Partnership” และ ปธน. อินเดีย เห็นพ้องว่า คสพ.ญป. – อินเดียมีความแน่นแฟ้น โดย ผู้นำทั้งสอง ปท. มี คสพ. ที่ดีต่อกัน เห็นได้จากการที่ นรม. Modi เลือกเยือน ญป. เป็นแห่งแรกนอกภูมิภาค และ มี คสพ.ทางศก.ที่แน่นแฟ้น โดย ศก. อินเดียพัฒนาได้เพราะ ODA ญป. ซึ่งรถไฟฟ้าใต้ดินในกรุงนิวเดลีเป็นสัญลักษณ์ของ คสพ. ดังกล่าว
1.1.2 การหารือทวิภาคีกับ นรม. Modi
- นรม. ญป. ย้ำว่า คสพ. ญป.-อินเดีย ถือเป็น คสพ.ทวิภาคีที่เปี่ยมไปด้วยโอกาสและศักยภาพมากที่สุดในโลก โดยความร่วมมือระหว่างกันนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อสอง ปท. แล้ว ยังจะนำมาซึ่งสันติภาพและความรุ่งเรืองของประชาคมโลก
- ในด้านการเมือง-ความมั่นคง นรม.อินเดีย กล่าวสนับสนุน พรบ.ความมั่นคงของญี่ปุ่น ซึ่งจะส่งผลดีต่อสันติภาพของโลก และในความร่วมมือด้านความมั่นคง ผู้นำทั้งสองยินดีที่ในการเยือนครั้งนี้ มีการลงนาม คตล. ในด้านนี้ที่สำคัญ 2 คตล. ได้แก่ คตล.เกี่ยวกับการถ่ายทอดอุปกรณ์และเทคโนโลยีด้านกลาโหม และ คตล.เกี่ยวกับมาตรการด้านความมั่นคงสำหรับการปกป้องข้อมูลด้านกลาโหม และในความร่วมมือด้านนิวเคลียร์ ก็มีการลงนาม คตล.เกี่ยวกับความร่วมมือด้านการใช้พลังงานนิวเคลียร์โดยสันติ ซึ่งจะนำไปสู่โอกาสทางธุรกิจด้านพลังงานของเอกชนญี่ปุ่น
- ในด้าน ศก. นรม.อินเดีย ยินดีที่สามารถตกลงที่จะใช้ระบบรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่นได้ ซึ่งจะส่งผลดีต่อ ศก.ของอินเดียโดยรวม โดย นรม.ญี่ปุ่น ขอบคุณที่เลือกใช้ระบบของญี่ปุ่น ซึ่งมีมาตรฐานด้านความปลอดภัยและความแม่นยำของระบบที่สูง และหวังว่าจะนำไปสู่การนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้ในเส้นทางอื่น ๆ ในอินเดียต่อไป อนึ่ง ในระหว่างการเยือนดังกล่าวมีการลงนาม MOC เกี่ยวกับระบบรถไฟความเร็วสูงเส้นทาง Mumbai – Ahmedabad ซึ่งญี่ปุ่นจะให้เงินกู้ร้อยละ 0.1 ระยะเวลาการชำระเงินคืน 50 ปี และ Grace Period 15 ปี และ MOC เกี่ยวกับความร่วมมือด้านเทคโนโลยีระบบราง
- ในด้านการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ นรม.ญี่ปุ่น แจ้งว่า เพื่อเป็นการสนับสนุนข้อคิดริเริ่มในการปฏิรูป ศก.อินเดียของ นรม.อินเดีย และเพื่อเป็นการสนับสนุนโอกาสของธุรกิจญี่ปุ่น NEXI และ JBIC ได้จัดตั้งกองทุนสำหรับธุรกิจญี่ปุ่นที่จะลงทุนในอินเดียมูลค่า 1.5 ล้านล้านเยน และเตรียมที่จะให้ ODA แก่อินเดียมูลค่า 400,000 ล้านเยน เพื่อใช้ในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานโดยรอบนิคมอุตสาหกรรมในอินเดียที่ธุรกิจญี่ปุ่นลงทุนอยู่ และเป็นการสนับสนุนนโยบาย High Quality Infrastructure ของญี่ปุ่น ในการนี้ จึงขอความร่วมมือให้อินเดียปรับปรุงระบบที่เกี่ยวข้อง อาทิ ระบบภาษี ที่คาดการณ์ได้ เพื่อทำให้การดำเนินธุรกิจของญี่ปุ่นมีความคล่องตัวมากขึ้น นอกจากนี้ ยังเห็นพ้องที่จะร่วมมือกันในการส่งเสริม Connectivity เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคเอเชียใต้และ อช.ตอ.ฉต. ซึ่ง นรม.อินเดีย แสดงความขอบคุณและแจ้งว่า ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพสูงมีความสำคัญต่ออินเดียอย่างมาก และคาดหวังการถ่ายทอดเทคโนโลยีขั้นสูงในด้านนี้จากญี่ปุ่น
- ในด้านการแลกเปลี่ยนระหว่าง ปชช. ผู้นำทั้งสองได้ตั้งเป้าหมายจำนวนนักเรียนต่างชาติของอินเดียในญี่ปุ่นจำนวน 10,000 คน ในระยะ 5 ปีต่อจากนี้
อนึ่ง ภายหลังการหารือทวิภาคี ผู้นำทั้งสองได้ลงนามใน Japan and India Vision 2025 Special Strategic and Global Partnership Working Together for Peace and Prosperity of the Indo-Pacific Region and the World และ Factsheet คสพ.ทวิภาคี ญี่ปุ่น – อินเดีย
1.1.3 การรับการเข้าเยี่ยมคารวะของ รมว.กต.อินเดีย รมว.กต.อินเดีย
ยินดีที่ นรม.Abe เดินทางเยือนอินเดียเป็นครั้งที่ 3 และการเยือนในครั้งนี้มีผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมอย่างมาก นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะเดินหน้ากระชับความร่วมมือระหว่าง ญป.-อินเดีย-สหรัฐฯ อีกด้วย
1.2 ท่าทีของสื่อมวลชนญี่ปุ่น
สื่อมวลชนญี่ปุ่นให้ความสนใจต่อการเยือนอินเดียของ นรม.Abe เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะประเด็นที่ รบ.อินเดีย ได้ตัดสินใจที่จะสร้างรถไฟความเร็วสูงสายแรกในเส้นทางระหว่าง Mumbai-Ahmedabad ระยะทาง 505 ก.ม. โดยใช้ระบบชินคันเซนของ ญป. ซึ่งถือเป็นความสำเร็จของ รบ.ญี่ปุ่น หลังจากที่พ่ายแพ้ในการแข่งขันในโครงการรถไฟความเร็วสูงที่อินโดนีเซีย โดยในปี 2556 อินเดียถือเป็นประเทศที่ญี่ปุ่นให้เงินกู้มากเป็นลำดับที่ 2 (มูลค่า 4.4564 ล้านเยน) รองจากอินโดนีเซีย (มูลค่า 4.722 ล้านเยน) แต่หากพิจารณาถึงเงินกู้เพื่อใช้ในโครงการระบบรางแล้ว อินเดียมีมูลค่าสูงที่สุด ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 29 ของมูลค่าเงินกู้ทั้งหมด โดยสาเหตุที่อินเดียเลือกญี่ปุ่นแม้ว่าค่าใช้จ่ายในการใช้ระบบของญี่ปุ่นจะสูงกว่าระบบของจีนถึงร้อยละ 40 เนื่องจาก คสพ.อินเดีย – ญี่ปุ่น ที่แน่นแฟ้นในหลายมิติ และเพื่อคานอำนาจจีน
อนึ่ง รถไฟความเร็วสูงเส้นทาง Mumbai-Ahmedabad จะมีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 320 ก.ม./ ช.ม. งปม. การก่อสร้างประมาณ 1.8 ล้านล้านเยน ซึ่ง รบ. ญป. โดย JBIC จะให้ รบ. อินเดียกู้เงินเป็นวงเงินประมาณ 1.5 ล้านล้านเยน ทั้งนี้ JICA และ ก. รถไฟของอินเดียร่วมกันสำรวจเส้นทางรถไฟตั้งแต่เดือน ธ.ค. 56 และได้รายงานผลการสำรวจที่สนับสนุนให้ใช้เทคโนโลยีชินกันเซนของ ญป. ไปเมื่อเดือน ก.ค. 58 โครงการจะเริ่มก่อสร้างในปี 2560 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2566 ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาการเดินทางจาก 8 ช.ม. เหลือ 2 ช.ม. โดยกลุ่มธุรกิจ ญป. ที่เข้าร่วมโครงการนี้ ได้แก่ JR East / Kawasaki Heavy Industries / Hitachi อนึ่ง นอกจากโครงการนี้แล้ว รบ. อินเดียยังมีโครงการจะสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงอีก 7 เส้นทาง
2.1 อินเดียถือเป็นต่างชาติลำดับที่ 2 ที่ใช้ระบบรถไฟชินคันเซนของญี่ปุ่นต่อจากไต้หวัน ที่เปิดใช้ระบบในปี 2550
ในเส้นทาง Taipei – Gaoxiong ซึ่งเป็นการร่วมทุนของ 7 บริษัทญี่ปุ่น เช่น JR Central, Mitsui Corporation, Mitsubishi Heavy อย่างไรก็ดี ผลการดำเนินงานของรถไฟชินคันเซ็นของไต้หวันไม่สดใสนัก โดยการรถไฟของไต้หวันได้ลดการลงทุนในโครงการดังกล่าวลงเหลือร้อยละ 60 เมื่อปลายเดือน ต.ค. 58 เพื่อล้างผลขาดทุนสะสมที่จนถึงสิ้นเดือน มิ.ย. 58 อยู่ที่ 47,200 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน นอกจากนี้ ในช่วงปลายปีนี้ทางการไต้หวันจะออกเงินทุนช่วยเหลือมูลค่า 30,000 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน ทั้งนี้ เมื่อ 1 ธ.ค. 58 เพิ่งมีการเปิดใช้สถานีรถไฟแห่งใหม่ 3 สถานี / เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เปิดใช้เมื่อปี 2550 ซึ่งคาดว่าจะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวและธุรกิจได้มากขึ้น และในกลางปี 2559 มีแผนที่จะขยายเส้นทางไปสู่สถานี Nangang
2.2 โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงใน ตปท. อื่น ๆ ที่ ญป. มุ่งหวังจะเข้าไปมีส่วนร่วม มีดังนี้
- ไทย เส้นทางกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ระยะทาง 680 ก.ม. มีกำหนดเปิดให้บริการในปี 2563 วงเงิน 1.5 ล้านล้านเยน
- มาเลเซีย – สิงคโปร์ เส้นทางกรุงกัวลาลัมเปอร์ – สิงคโปร์ ระยะทาง 350 ก.ม. มีกำหนดเปิดให้บริการในปี 2563 (กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลง) วงเงิน 1.3 ล้านล้านเยน ซึ่งเป็นเส้นทางที่อยู่ในแผนที่ญี่ปุ่นจะผลักดันในเชิงรุกต่อไป
- ตอนใต้ของสหรัฐฯ เส้นทางระหว่าง Dallas – Houston ระยะทาง 400 ก.ม. มีกำหนดเปิดให้บริการในปี 2564 วงเงิน 1.5 ล้านล้านเยน โดยบริษัทที่รับผิดชอบหลัก ได้แก่ JR Central คาดว่าจะใช้ระบบที่มีความเร็ว 300 – 320 กม./ชม. ซึ่งจะเชื่อมต่อได้ในระยะเวลา 1 ชม.ครึ่ง
- ฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ เส้นทางระหว่าง San Francisco – Anaheim ระยะทาง 840 ก.ม. มีกำหนดเปิดให้บริการในปี 2571 วงเงิน 8.1 ล้านล้านเยน