สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ในประเทศญี่ปุ่น ประจำวันที่ 10 พฤษภาคม 2564
- ผู้ติดเชื้อสะสมในประเทศ (สถานะวันที่ 9 พฤษภาคม 2564) 641,767 คน (เพิ่มขึ้น 6,493 คน นับเป็นวันที่ 3 ติดต่อกันที่ผู้ติดเชื้อเกินกว่า 6,000 คน/วัน)
- จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มรายวันมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กรุงโตเกียว 1,032 คน จังหวัดโอซากา 874 คน ฟูกูโอกะ 529 คน จังหวัดฮอกไกโด 506 คน คน จังหวัดไอจิ 473 คน
- ผู้เสียชีวิตสะสม 10,910 คน (เพิ่มขึ้น 64 คน)
- ผู้ติดเชื้ออาการรุนแรง 1,144 คน
- ผู้ที่รักษาหายสะสม 555,401 คน (12,832 คน)
รายละเอียดผู้ติดเชื้อทั่วประเทศตาม link สำนักข่าว NHK https://www3.nhk.or.jp/news/special/coronavirus/data-all/
รายละเอียดผู้ติดเชื้อรายจังหวัดตาม link สำนักข่าว NHK https://www3.nhk.or.jp/news/special/coronavirus/data/
พัฒนาการและมาตรการสำคัญ
- เมื่อ 7 พ.ค. 64 เวลา 20.30 น. นรม.ซูกะ ได้ประกาศขยายเวลาสถานการณ์ฉุกเฉินออกไปจนถึง 31 พ.ค. 64 จากเดิมที่จะสิ้นสุดในวันที่ 11 พ.ค. 64 และเพิ่มจังหวัดไอจิและฟูกูโอกะเข้าไปในประกาศครั้งนี้ จากเดิมที่มีกรุงโตเกียว จังหวัดโอซากา เฮียวโกะ และเกียวโต รวมจังหวัดภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินทั้งสิ้น 6 จังหวัด
- มาตรการภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน
o ขอให้ประชาชนให้ทำกิจกรรมนอกบ้านให้เสร็จในระยะเวลาสั้น และไม่ออกนอกบ้านหากไม่มีเหตุจำเป็น
o ใช้มาตรการที่คาดว่าจะมีประสิทธิภาพสูง เช่น ไม่ให้ร้านอาหารอนุญาตให้ลูกค้านำแอลกอฮอล์เข้ามาดื่มในร้าน นอกเหนือจากมาตรการที่ไม่ให้ร้านอาหารจำหน่ายแอลกอฮอล์ และปิดร้านคาราโอเกะแล้ว นอกจากนี้ จะมีการตรวจร้านอาหาร และใช้มาตรการอื่น ๆ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด
o ขอความร่วมมือให้พนักงานทำงานจากบ้านประมาณร้อยละ 70 ของพนักงานทั้งหมด และกำหนดเป้าหมายลดจำนวนผู้เดินทางออกนอกบ้านโดยไม่จำเป็น
o ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าที่มีพื้นที่รวมมากกว่า 1,000 ตร.ม. สามารถเปิดทำการได้ แต่ขอให้ปิดให้บริการในเวลา 20.00 น.
o สถานที่จัดงานอีเวนท์ต่าง ๆ สามารถเปิดให้ผู้ชมเข้าร่วมกิจกรรมได้สูงสุดไม่เกิน 5,000 คน หรือไม่เกินครึ่งหนึ่งของความจุของสถานที่ และปิดงานภายในเวลา 21.00 น.
o จะจัดเจ้าหน้าที่ตรวจบ้านพักคนชราอย่างเข้มงวด
o ขอให้ทุกคนปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเข้มงวด รวมไปถึงการสวมหน้ากาก ล้างมือ และหลีกเลี่ยงสถานที่แออัด เพื่อป้องกันมิให้นำเชื้อไปแพร่ระบาดในผู้สูงอายุ
o จะจัดตั้งกองทุนสนับสนุนฉุกเฉินให้แก่ประชาชนส่วนบุคคลที่มีความต้องการ และจะให้เงินช่วยเหลือแก่ภาคธุรกิจขนาดใหญ่ โดยเงินช่วยเหลือเป็นไปตามขนาดของธุรกิจ
- มาตรการวัคซีน
o ตั้งเป้าที่จะฉีดวัคซีนให้ได้ 1 ล้านโดสต่อวัน และฉีดวัคซีนโดสที่ 2 ให้แก่ผู้สูงอายุให้เสร็จสิ้นภายในปลายเดือน ก.ค. 64
o ตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป จะเริ่มการฉีดวัคซีนอย่างเต็มที่ทั่วประเทศ และจากวันที่ 24 พ.ค. 64 เป็นต้นไป จะจัดตั้งศูนย์ฉีดวัคซีนขนาดใหญ่ที่กรุงโตเกียวและจังหวัดโอซากา
o ตั้งเป้าที่จะเริ่มฉีดวัคซีนให้กับประชาชนทั่วไปในต้นเดือน มิ.ย. 64
- หลักเกณฑ์ในการพิจารณาเพื่อยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน คือ เมื่อระดับความรุนแรงของการแพร่เชื้อต่ำกว่าระดับ 4 และจะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจดำเนินการต่อไป