




20/10/2009
กล้วย เป็นไม้ล้มลุกสูงประมาณ 2-4.5 เมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดิน เติบโตได้ดีในดินร่วน ส่วนต่าง ๆ ของกล้วย มีชื่อเรียกเฉพาะไม่เหมือนต้นไม้ชนิดอื่น ดังนี้
ในบรรดาพืชและต้นไม้ที่มีอยู่ในโลก มีน้อยชนิดที่คนเราจะใช้ประโยชน์ได้จากพืชนั้นทุกส่วน เชื่อหรือไม่ว่า เราใช้ประโยชน์จากกล้วยได้มากกว่าที่คิด
เช่น กาบใบที่หุ้มลำต้นสามารถนำมาเป็นเยื่อกระดาษได้ หยวกกล้วย นำมาสับเป็นอาหารอย่างดีสำหรับเลี้ยงหมู หรือนำมากรีดเป็นเส้นยาวแล้วเอาไปตากแห้ง กลายเป็น “เชือกกล้วย” ที่เหนียวดีแท้ ปัจจุบัน มีการนำเชือกกล้วยมาย้อมสี เพื่อมาสานเป็นสินค้าหัตถกรรมราคาดี หรือนำหยวกกล้วยมาตัดเป็นแว่นตกแต่งเป็นกระทงใช้ลอยในวันลอยกระทง
วันลอยกระทง เป็นวันในประเพณีประจำปีของไทยในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ชาวไทยจะทำกระทงจากใบตองและหยวกกล้วยเพื่อลอยในแม่น้ำเพื่อขอขมาพระแม่คงคา
นอกจากใช้ประดิษฐ์เป็นกลีบบัวสำหรับทำกระทงในวันลอยกระทงแล้ว คนไทยจะนิยมใช้ประดิษฐ์เป็นกระทงสำหรับเป็นภาชนะใส่อาหาร หรือห่อของสด ห่ออาหาร เช่น คนไทยทางภาคเหนือมักใช้ใบตองห่อข้าวเหนียวร้อนๆ จะได้เพิ่มกลิ่นข้าวให้น่ารับประทานยิ่งขึ้น ทางภาคกลางนิยมใช้ห่ออาหารก่อนนำไปนึ่ง เช่น ข้าวต้มมัด ห่อข้าวเหนียวนำไปย่างไฟ ห่อหมก เป็นต้น กลิ่นใบตองที่โดนความร้อนจะทำให้อาหารมีกลิ่นเชิญชวนน่าทานกว่าปกติ
แม้กระทั่งก้านใบ หรือก้านกล้วย ก็ยังนำมาใช้ประดิษฐ์เป็นของเล่นสำหรับเด็กขี่เล่นแทนม้า หรือ “ขี่ม้าก้านกล้วย ” เพื่อให้เด็กมีจินตนาการ ได้เล่นเพื่อสุขภาพจิตและร่างกายแข็งแรง ปัจจุบันการละเล่น “ขี่ม้าก้านกล้วย” เลือนหายจากสังคมไทยตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม อย่างไรก็ดี ยังมีความพยายามรักษาวัฒนธรรมการละเล่นพื้นบ้านสำหรับเด็กไทยไว้ในงานวัฒนธรรมต่างๆ รวมทั้ง ใช้การละเล่น “ขี่ม้าก้านกล้วย” เป็นสัญลักษณ์การแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 20 หรือ สุโขไทเกมส์ โดยเป็นรูปเด็กชายไทย “รุ่งอรุณ” ไว้ผมจุกขี่ก้านกล้วยเป็นสัญลักษณ์การจัดงาน การละเล่นพื้นบ้านอื่นๆ ที่ใช้ก้านกล้วยเป็นส่วนสำคัญ คือ “ยิงปืนก้านกล้วย” ซึ่งปัจจุบันหาดูไม่ได้แล้ว เป็นการนำก้านกล้วยโดยเอาก้านกล้วยมาบากเป็นระยะๆ โดยไม่ให้ขาดออกจากกัน เวลาเล่นตั้งท่าเหมือนยิงปืน แล้วเอามือปาดก้านกล้วยที่ตั้งขึ้นเพราะการบากทำให้เกิดเสียงดังเหมือนเสียงปืน
สามารถแปรรูปเป็นอาหารได้หลายอย่าง เช้น แป้งกล้วยจากกล้วยน้ำว้า สามารถนำมาผสมกับแป้งสาลีหรือแป้งอื่นทำขนมเค้ก ขนมไทยและคุกกี้ได้
เป็นอาหารของคนไทยที่เป็นเอกลักษณ์ มักทานเป็นของแกล้มกับผัดไทย ปลีกล้วยมีวิตามินซีสูง เป็นกากใยอาหารอย่างดี ใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง นอกจากนี้ หัวปลียังเหมาะสำหรับสตรีเพิ่งมีบุตรเพราะจะช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนมแม่ได้ เปลือกกล้วย ด้านในของเปลือกกล้วยใช้ทาบรรเทาผื่นคันบริเวณที่ยุงกัดได้
กล้วย เป็นผลไม้ที่คนไทยคุ้นเคยมานาน ทำนองเดียงกับคนยุโรปคุ้นเคยกับแอปเปิ้ล ในสังคมไทยสมัยก่อนมีความเชื่อหลายอย่างเกี่ยวข้องกับกล้วย เช่น หญิงมีครรภ์จะไม่รับประทานกล้วยแฝดเพราะเกรงว่าทานกล้วยแฝดจะมีทารกแฝด
นอกจากนี้ กล้วยเป็นส่วนหนึ่งของจินตนาการและความเชื่อเรื่องวิญญาณ เช่น ห้ามปลูกกล้วยตานีในบริเวณที่อยู่อาศัย ด้วยเชื่อว่าวิญญาณนางตานีที่อยู่ในต้นกล้วยจะทำให้ผู้อาศัยเดือดร้อน หรือไม่เดินผ่านดงกล้วยตานีในเวลากลางคืนเพราะกลัวเจอวิญญาณนางตานี เรื่องนางตานีเป็นเรื่องเล่าจากคนสมัยก่อนที่คนสมัยปัจจุบันฟังด้วยความสนุกสนาน
เป็นกล้วยมีเมล็ดใหญ่สีดำหรือสีแดง ชื่อ "ตานี" มาจากชื่อเดิมเมืองปัตตานีในภาคใต้ของไทย กล้วยตานีมีลำต้นสูงใหญ่กว่ากล้วยชนิดอื่น ใบกล้วยตานีเหนียวเหมาะสำหรับการห่อของและใช้ประดิษฐ์เช่นกระทง บายศรี เป็นต้น
เมื่อแรกเกิด อาหารชนิดแรกที่มารดาให้ทารกวัย 3 เดือน ถึง 2 ขวบ ได้ทานนอกจากน้ำนมแม่ ก็คือข้าวบดกับกล้วยน้ำว้า ปัจจุบัน มีอาหารสำเร็จรูปปรุงง่าย สำหรับเด็กทารก การทำข้าวบดกับกล้วยน้ำว้าก็ไม่ค่อยนิยมในสังคมเมือง แต่ก็ยังมีมารดาหลายคนที่ยังบดกล้วยสุกป้อนให้ทารกกินอยู่
นอกจากนี้ ในพิธีมงคลต่างๆ กล้วยเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ในงานแต่งงานแบบไทยแท้ๆ ต้องใช้กล้วยเป็นส่วนประกอบในขบวนแห่ขันหมาก หรือใช้กล้วยทั้งเครือเพราะเชื่อว่าเป็นความอุดมสมบูรณ์ มีลูกจำนวนมากเหมือนเครือกล้วย และความสงบร่มเย็น
เมื่อประกอบพิธีขึ้นบ้านใหม่ก็ต้องใช้ต้นกล้วยผูกกับเสาเอกเพื่อทำพิธียกเสาเอกเป็นปฐมฤกษ์ รวมทั้งการทำพิธีบายศรีสู่ขวัญก็ต้องใช้ใบตองประดิษฐ์และประดับบนพานประกอบพิธี หรือแม้กระทั่งพิธีกรรมไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อก็จะใช้ผลกล้วยเป็นเครื่องประกอบพี
ไม่เพียงพิธีมงคลเท่านั้น กล้วยยังเป็นวัสดุสำคัญสำหรับพิธีฌาปนกิจศพตามประเพณีไทยด้วย โดยใช้กาบกล้วยเป็นวัสดุตกแต่งเมรุประกอบพิธีฌาปนกิจศพ ซึ่งปัจจุบันชาวชนบทก็ยังคงใช้กาบกล้วยในพิธีดังกล่าวอยู่
เพราะกล้วยเป็นผลไม้ที่คนไทยคุ้นเคยเป็นอย่างดี ราคาไม่แพง หาได้ง่ายทั่วไป และหาทานได้ตลอดทั้งปี
จึงกลายเป็นสำนวนไทยที่ใช้กันทั่วไปและคนไทยคุ้นเคยกันดีในความหมายว่า ง่ายมากๆ ไม่ลำบากยากเข็ญแม้แต่น้อย
เช่น "เรื่องกล้วยๆ" หรือ "ของกล้วยๆ" หรือสำนวน "ปอกกล้วยเข้าปาก"