




07/05/2020
สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ในประเทศญี่ปุ่น ประจำวันที่ 7พฤษภาคม 2563
❖ ผู้ติดเชื้อในญี่ปุ่น 15,477 คน (เพิ่มขึ้น 105 คนจากวันก่อนหน้า) / เสียชีวิต 577 คน (เพิ่มขึ้น 11 คนจากวันก่อนหน้า) รายละเอียดตามเอกสารแนบ
❖ จังหวัดที่มีการติดเชื้อมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่
(1) กรุงโตเกียว 4,748 คน
(2) จังหวัดโอซากา 1,698 คน
(3) จังหวัดคานากาวะ 1,128 คน
(4) จังหวัดไซตามะ 918 คน
(5) จังหวัดฮอกไกโด 914 คน
❖ กรุงโตเกียวพบผู้ติดเชื้อมากที่สุด 38 คน โดยเป็นผู้ที่ไม่ทราบที่มาของการติดเชื้อ 12 คน รองลงมา ได้แก่ จังหวัดฮอกไกโด 23 คน และจังหวัดโอซากา 12 คน ตามลำดับ นอกจากนิ้ ยังพบการติดเชื้อในสถานพยาบาลอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม สื่อวิเคราะห์ว่า เนื่องจากไม่มีการแจ้งจำนวนการตรวจ PCR ควบคู่กับจำนวนผู้ติดเชื้อ กอปรกับเป็นช่วงวันหยุดยาว จึงยังไม่สามารถประเมินสถานการณ์การติดเชื้อที่แท้จริงได้
❖ พบการติดเชื้อในครอบครัวเพิ่มมากขึ้น โดยกระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นเห็นว่า อาจสืบเนื่องมาจากมีผู้ติดเชื้อประมาณ 2,000 คน หรือประมาณร้อยละ 23 ของผู้ติดเชื้อทั่วประเทศ ที่ยังไม่ได้ย้ายไปยังสถานที่ที่รัฐจัดให้ นอกจากนี้ สื่อยังรายงานด้วยว่า ร้อยละ 90 ของเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี ที่ติดเชื้อ จากจำนวนทั้งหมดประมาณ 242 ราย เป็นการติดเชื้อภายในเดือนเมษายน 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่ได้ไปโรงเรียน
❖ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2563 นายกรัฐมนตรีอาเบะกล่าวย้ำในรายการถ่ายทอดสดทาง Internet ว่า จังหวัดที่มีแนวโน้มผู้ติดเชื้อลดลงหรือไม่มีผู้ติดเชื้อแล้ว และระบบการให้บริการทางการแพทย์ยังมีความสามารถที่จะรองรับผู้ป่วยได้นั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถพิจารณาผ่อนคลายมาตรการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้โดยทันที เนื่องจากอำนาจในการตัดสินใจในช่วงดังกล่าวอยู่ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดทั้งหมด อย่างไรก็ตาม จะให้ผู้เชี่ยวชาญเสนอเกณฑ์การผ่อนคลายมาตรการ ภายในวันที่ 14 พฤษภาคม 2563
❖ หลายจังหวัดในญี่ปุ่นเริ่มกลับมาดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจบางส่วนอีกครั้ง ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2563 ได้แก่ อาโอโมริ อิวาเตะ มิยากิ อะคิตะ นีกาตะ ยามานาชิ นากาโนะ ชิสึโอกะ วาคายามะ โอคายามะ ยามากุจิ คางาวะ โคจิ ซากะ นางาซากิ คุมาโมโตะ คาโกชิมะ
❖ จังหวัดที่ขอความร่วมมือปิดกิจการจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 แต่อาจมีการยกเลิกก่อนกำหนด ได้แก่ โทจิกิ ฟุคุอิ ชิกะ มิยาซากิ (10 พฤษภาคม 2563) / โอกินาวะ (20 พฤษภาคม 2563) / ฟุคุชิมะ
❖ จังหวัดที่ขอความร่วมมือให้ปิดกิจการภายในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉิน - กุนมะ โทยามะ มิเอะ นาระ ฮิโรชิมะ โออิตะ
❖ จังหวัดที่ยังไม่มีกำหนดว่าจะยกเลิกขอความร่วมมือปิดกิจการ - ยามากาตะ ทตโทริ ชิมาเนะ เอฮิเมะ
❖ จังหวัดที่ไม่ได้ขอความร่วมมือปิดกิจการ - โทคุชิมะ
ข้อมูลจากเว็บไซต์ NHK
https://www3.nhk.or.jp/news/special/coronavirus/
https://www3.nhk.or.jp/news/special/coronavirus/data/