สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ในประเทศญี่ปุ่น ประจำวันที่ 3 มิถุนายน 2563

03/06/2020

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 ในประเทศญี่ปุ่น ประจำวันที่ 3 มิถุนายน 2563


ผู้ติดเชื้อสะสมในญี่ปุ่น 17,000 คน (เพิ่มขึ้น 51 คนจากวันก่อนหน้า) / เสียชีวิต 901 คน (เพิ่มขึ้น 3 คนจากวันก่อนหน้า) รายละเอียดเอกสารแนบ


จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อสะสมมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่

(1) กรุงโตเกียว 5,283 คน

(2) จังหวัดโอซากา 1,783 คน

(3) จังหวัดคานากาวะ 1,371 คน

(4) จังหวัดฮอกไกโด 1,099 คน

(5) จังหวัดไซตามะ 1,000 คน


เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2563 พบผู้ติดเชื้อในกรุงโตเกียวเพิ่มอีก 12 คน ซึ่งนับเป็นวันที่ 3 ติดต่อกันที่พบผู้ติดเชื้อในกรุงโตเกียวมากกว่า 10 คน แม้จะเป็นตัวเลขที่ลดลงจากวันที่ 2 มิถุนายน 2563 ซึ่งมีผู้ติดเชื้อสูงถึง 34 คน ก็ตาม


เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2563 เมืองคิตะคิวชู พบผู้ติดเชื้อเพิ่มเติมจำนวน 6 คน ซึ่งเป็นการพบผู้ติดเชื้อติดต่อกันเป็นเวลา 11 วัน รวมผู้ติดเชื้อในเมืองฯ ทั้งสิ้น จำนวน 119 คน


เมื่อช่วงค่ำวันที่ 2 มิถุนายน 2563 กรุงโตเกียว ได้ประกาศ Tokyo Alert เพื่อแจ้งเตือนประชาชนเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของเชื้อฯ โดยกรุงโตเกียวได้เปลี่ยนสีไฟที่ศาลาว่าการกรุงโตเกียวและสะพานเรนโบว์บริดจ์เป็นสีแดง Tokyo Alert เป็นไปตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ หลังจากที่เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2563 พบผู้ติดเชื้อรายใหม่จำนวน 34 คน และในช่วงที่ผ่านมา กรุงโตเกียวมี 2 ข้อที่เกินเกณฑ์การผ่อนคลายมาตรการ กล่าวคือ

1) อัตราเฉลี่ยจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ใน 1 สัปดาห์อยู่ที่จำนวน 16.3 คน ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์การปรับใช้มาตรการผ่อนคลาย โดยจะต้องมีอัตราผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่ำกว่า 20 คน อย่างไรก็ดี การพบผู้ติดเชื้อรายใหม่มากกว่า 30 คนต่อวันในรอบช่วงเวลา 19 วัน ยังเป็นที่น่ากังวล

2) อัตราผู้ที่ไม่ทราบเส้นทางการติดเชื้ออยู่ที่ร้อยละ 50 ซึ่งเท่ากับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ต้องต่ำกว่าร้อยละ 50 พอดี

3) อัตราผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นต่อสัปดาห์ปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 2.15 เกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดว่าจะต้องต่ำกว่าสัปดาห์ก่อนหน้าซึ่งกำหนดไว้ที่ระดับ 1


สมาคมการแพทย์ฉุกเฉินแห่งญี่ปุ่นและสมาคมการแพทย์อื่น ๆ อีก 3 แห่งได้เสนอข้อแนะนำต่างๆ เพื่อป้องกันการเกิดโรคลมแดดในขณะสวมหน้ากากอนามัยในช่วงฤดูร้อนที่กำลังมาถึง ได้แก่

(1) ถอดหน้ากากอนามัยออกหยุดพักเป็นระยะ ๆ และควรดื่มน้ำเพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำโดยยังคงรักษาระยะห่างจากคนอื่น

(2) ใช้ม่านเพื่อกันไม่ให้อุณหภูมิในห้องเพิ่มสูงขึ้น ในช่วงที่มีการเปิดหน้าต่างระบายอากาศในห้องเพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ และ

(3) แนะนำให้เริ่มออกกำลังกายแบบไม่หักโหมที่บ้านหรือออกไปเดินเล่น เพื่อปรับร่างกายให้ชินกับความร้อนก่อนที่จะถึงฤดูร้อน และเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องเฝ้าระวังผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคลมแดดเมื่ออยู่ในที่ร่ม


ข้อมูลจากเว็บไซต์ NHK  

https://www3.nhk.or.jp/news/special/coronavirus/

https://www3.nhk.or.jp/news/special/coronavirus/data/



Tags:   COVID-19