ข่าวกงสุล


วิธีป้องกันตนเองเมื่อเกิดแผ่นดินไหว

09/10/2009

หลัก 10 ประการในการเตรียมพร้อมรับแผ่นดินไหว

  1. เตรียมป้องกันมิให้เฟอร์นิเจอร์ล้มหรือตกหล่นลงมา - ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการล้มของเฟอร์นิเจอร์ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ และอื่นๆ ให้อยู่กับที่มิให้เคลื่อนที่ได้
  2. เตรียมการป้องกันในเรื่องอุบัติเหตุไว้ให้พร้อม - เตรียมป้องกันมิให้ชั้นวางภาชนะหรือกระจกหน้าต่างกระเด็นออกมา
  3. ตรวจดูสภาพความแข็งแรงของอาคารหรือรั้วบ้าน - ในกรณีที่เป็นรั้วคอนกรีตหรืออิฐ ควรเสริมรั้วให้แข็งแรงมิให้ล้มลงมาได้
  4. เตรียมพร้อมในการดับเพลิง - ควรเรียนรู้และฝึกการดับเพลิงในขณะที่แผ่นดินไหวยังไม่รุนแรง
  5. เตรียมพร้อมในเรื่องการป้องกันไฟไหม้ - ควรถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าเสมอเมื่อไม่ใช้
  6. เตรียมอุปกรณ์สำหรับเวลาเกิดเหตุฉุกเฉินไว้เสมอ - และเก็บอุปกรณ์ไว้ให้เป็นที่
  7. พูดคุยกับสมาชิกในครอบครัว - เกี่ยวกับเส้นทางและสถานที่หลบภัย
  8. ศึกษาเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติภัย - ศึกษาเส้นทางจากบ้านไปยังจุดหลบภัย
  9. เรียนรู้เรื่องการหนีภัยในเหตุการณ์แผ่นดินไหวในอดีต - เข้ารับฟังการบรรยายหรือการฝึกอบรมเกี่ยวกับการหนีภัยในเหตุการณ์แผ่นดินไหวในอดีตที่หน่วยดับเพลิงหรือหน่วยงานอื่นจัดขึ้น
  10. หาความรู้และเทคนิคต่างๆเกี่ยวกับแผ่นดินไหว - ควรเข้ารับการอบรมการฝึกซ้อมป้องกันภัยอย่างสม่ำเสมอ เช่น การป้องกันตนเอง การป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ การปฐมพยาบาล ฯลฯ


หลักปฏิบัติ 10 ประการเมื่อเกิดแผ่นดินไหว

  1. ป้องกันตนเองและครอบครัว - เมื่อรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือน ควรรีบเข้าไปหลบอยู่ใต้โต๊ะหรือเก้าอี้ที่ทนทาน เพื่อป้องกันสิ่งของตกใส่ศีรษะ โดยปกติแรงสั่นสะเทือนจะหยุดภายใน 1 นาที
  2. รีบดับแก๊สเมื่อรู้สึกว่ามีแผ่นดินไหว - เพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัย ควรดับแก๊สให้เป็นนิสัยถึงแม้ว่าจะเป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็ก
  3. อย่ารีบผลีผลามออกไปข้างนอก - ควรดูสถานการณ์รอบตัวก่อนว่าปลอดภัยจึงค่อยออกไป
  4. เมื่อเริ่มเกิดแผ่นดินไหว ให้เปิดประตูเตรียมไว้สำหรับให้มีทางออก - โดยเฉพาะอาคารที่สร้างด้วยคอนกรีต เพราะเมื่อเกิดแผ่นดินไหวประตูอาจจะเปิดไม่ออกและทำให้หนีออกไปข้างนอกไม่ได้
  5. ระวังสิ่งของตกใส่เวลาอยู่ข้างนอก - กำแพงอาจพังหรือหน้าต่างอาจแตกลงมาใส่ตัวเราได้ ควรระวังศีรษะเป็นพิเศษ และควรอยู่ที่ในที่บริเวณกว้างๆ
  6. ปฏิบัติตามคำแนะนำของพนักงานเมื่ออยู่ในห้างสรรพสินค้าต่างๆ - ความโกลาหลมักเกิดขึ้นในบริเวณที่มีคนอยู่มาก ไม่ควรตกใจและต้องมีสติอยู่ตลอดเวลา
  7. จอดรถไว้ด้านซ้าย และห้ามจอดในที่ห้ามจอด - การไม่รักษากฎจะทำให้เกิดความวุ่นวาย ควรเปิดวิทยุเพื่อฟังข่าวสารและทำตามคำแนะนำนั้น
  8. ระวังภูเขาหรือหน้าผาถล่มและสึนามิ - ถ้าอยู่ในบริเวณดังกล่าวควรรีบหนีไปในที่ปลอดภัย
  9. ควรเดินด้วยเท้า และนำของติดตัวให้น้อยที่สุด - การใช้รถจะทำให้การจราจรติดขัดและขัดขวางเส้นทางรถดับเพลิงหรือรถพยาบาล
  10. ควรติดตามข้อมูลที่เชื่อถือได้ ไม่ควรเชื่อข่าวลือ - ควรรับฟังข่าวความเคลื่อนไหวจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้เท่านั้น


ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดแผ่นดินไหว

เมื่ออยู่ภายในอาคาร

  1. ขณะอยู่ในบ้าน
    • เข้าไปหลบใต้โต๊ะ หรือถ้าไม่มีให้ใช้หมอนหรือผ้าหนาๆ คลุมศรีษะเพื่อป้องกันของตกใส่
    • เปิดประตูหรือหน้าต่างเตรียมไว้เพื่อเป็นทางออก (ประตูหรือหน้าต่างอาจเปิดไม่ออกหลังแผ่นดินไหว)
    • รีบปิดแก๊สและดับไฟ ก่อนออกจากบ้านให้ปิดวาล์วแก๊สและตัดคัทเอาท์ไฟฟ้าด้วย
    • ถ้าอยู่ชั้น 2 ไม่ต้องลงมาข้างล่าง (ชั้น 2 ปลอดภัยกว่าชั้น 1)
    • ใส่รองเท้า ไม่ควรเดินเท้าเปล่า (เพราะเศษแก้วอาจบาดได้)
    • ดูแลความปลอดภัยให้เด็กและผู้สูงอายุ
    • อย่ารีบร้อนเวลาออกไปข้างนอก ระวังเศษแก้วที่ตกอยู่ตามพื้น
  2. ขณะอยู่ในที่ทำงาน
    • ใช้กระเป๋าปกป้องศีรษะ และรีบหลบไปอยู่ใต้โต๊ะ
    • ระวังชั้นหนังสือล้มลงมา บริเวณที่ไม่มีสิ่งของวางอยู่จะปลอดภัยที่สุด
    • เวลาเดินระวังสิ่งของที่ตกหล่นอยู่บนพื้น
  3. ที่ร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้า
    • ใช้กระเป๋าปกป้องศีรษะ และระวังอย่าไปอยู่ใกล้ชั้นวางของที่ล้มได้ง่าย
    • หลบไปอยู่ใต้โต๊ะ หรือยืนอยู่ใกล้ๆ เสาหรือกำแพง
    • อย่ารีบร้อนหาทางออกเอง ให้ทำตามที่พนักงานบอก
    • ห้ามใช้ลิฟต์ ให้ใช้บันไดแทน
    • ถ้าอยู่ในลิฟต์ที่ค้าง ให้ติดต่อภายนอกโดยโทรศัพท์ฉุกเฉินภายในลิฟต์แล้วรอคนมาช่วยเหลือ
  4. ขณะอยู่ใต้ดิน
    • หาที่ยืนใกล้กับเสาใหญ่ๆ หรือกำแพง
    • หากไฟดับ อย่าตกใจเพราะไฟฉุกเฉินจะสว่างขึ้นในไม่ช้า
    • อย่ารีบแย่งไปรวมตัวกันที่ทางออก ขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ (ปกติแล้วใต้ดินจะปลอดภัยกว่าด้านบน)
    • ถ้าเกิดไฟไหม้ ให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากและจมูกแล้วคลานต่ำๆไปตามแนวกำแพงจนถึงทางออก (ตามทิศทางของควันไฟ)


เมื่ออยู่ภายนอกอาคาร

  1. บริเวณเขตที่พักอาศัย
    • อยู่ให้ห่างจากรั้วบ้าน เสา สายไฟฟ้า และอาคารบ้านเรือน
    • ระวังเศษกระจกหรือกระเบื้องหลังคาที่จะตกลงมา แล้วรีบหนีไปที่สวนสาธารณะ หรือสนามกว้างๆ
  2. บริเวณย่านการค้าหรือสำนักงาน
    • อย่ายืนอยู่กับที่ ใช้กระเป๋าหรือสิ่งอื่นๆ ปกป้องศีรษะแล้วรีบหนีไปตึกที่ปลอดภัยหรือลานกว้างๆที่อยู่บริเวณใกล้ๆ (ระวังตัวเองจากเศษกระจก ป้าย ฯลฯ ที่จะตกลงมา)
    • อยู่ให้ห่างจากตึกไม้ที่มีทางเข้ากว้างๆ เครื่องขายของอัตโนมัติ หรือกำแพง
    • ระวังอย่าเข้าใกล้สายไฟฟ้าที่ตกลงมา
  3. บริเวณชายทะเลหรือหน้าผา
    • รีบหนีไปในที่ปลอดภัยให้เร็วที่สุด อย่าอยู่บริเวณภูเขาหรือหน้าผาเด็ดขาดเนื่องจากอาจมีการทรุดตัวได้
    • หากอยู่บริเวณชายฝั่งทะเล ให้หนีไปอยู่ที่สูง
    • ติดตามข้อมูลและคำเตือนเกี่ยวกับสึนามิ และอย่าไปอยู่ใกล้ชายฝั่ง


ขณะอยู่ในยานพาหนะ

  1. บนรถไฟหรือรถไฟใต้ดิน
    • จับที่จับให้มั่นคงเพราะอาจมีการเบรคกะทันหัน (รถไฟอาจหยุดวิ่งอัตโนมัติเมื่อแผ่นดินไหวมีความแรงถึงระดับหนึ่ง)
    • อย่าพยายามออกจากรถด้วยตัวเอง
    • คอยฟังประกาศและปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ (ปกติแล้วในรถไฟใต้ดินจะปลอดภัยกว่าด้านบน)
  2. ขณะกำลังขับรถยนต์
    • ถ้ารู้สึกว่าแผ่นดินไหว ค่อยๆลดความเร็วลง จอดรดที่ด้านซ้ายของถนนแล้วดับเครื่อง
    • อย่าออกจากรถจนกว่าการสั่นสะเทือนจะหยุดลง ให้ฟังข้อมูลต่างๆ จากวิทยุ
    • ปฏิบัติตามคำสั่งของตำรวจ
    • เวลาออกจากรถ ให้ปิดประตูโดยไม่ต้องล็อครถ แล้วเสียบกุญแจรถทิ้งไว้
    • ไม่หนีภัยโดยใช้รถยนต์


สิ่งของที่ควรนำติดตัวไปเวลาหนีภัย

  1. สิ่งที่ควรนำติดตัวไปในตอนแรก
    • สิ่งที่ควรนำติดตัวไปทันทีเมื่อเกิดแผ่นดินไหว


อาหารและน้ำ ยา เสื้อผ้า ของใช้ทั่วไป
  • ขนมปังกรอบ
  • อาหารกระป๋อง
  • บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
  • น้ำดื่ม
  • ไม้ขีดไฟหรือไฟแช็ค
  • จาน แก้วกระดาษ ตะเกียบ
  • มีดและที่เปิดกระป๋อง
  • พลาสเตอร์ปิดแผล
  • ผ้าก๊อซ
  • ผ้าพันแผลและผ้าสามเหลี่ยม
  • ยาฆ่าเชื้อ(แอลกอฮอลล์)
  • ยาลดไข้
  • ยาแก้ปวดท้อง
  • ยาแก้หวัด
  • ยาแก้ปวด
  • ยาหยอดตา
  • ยาสามัญประจำบ้านอื่นๆ
  • ปรอทวัดไข้
  • ชุดชั้นใน
  • เสื้อโค้ท
  • ถุงเท้า
  • ถุงมือ
  • ผ้าเช็ดหน้า
  • ผ้าขนหนู
  • กระดาษทิชชู่
  • หมวกกันน็อค
  • ไม้ขีดไฟหรือไฟแช็ค
  • ผ้าปูพลาสติก
  • เสื้อกันฝน
  • ผ้าอนามัย
  • ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

วิทยุ แสงสว่าง ของมีค่า
  • วิทยุแบบพกพา
  • ถ่านหรือแบตเตอรี่สำรอง
  • ไฟฉาย
  • ถ่านหรือแบตเตอรี่สำรอง
  • เทียนไข
  • เงินสด
  • สมุดบัญชีและอินคัง *
  • หนังสือเดินทางและบัตรประจำตัวคนต่างด้าว
  • พันธบัตรต่างๆ
  • บัตรประกันสุขภาพ(สำเนา)

* อินคัง คือ ตราประทับที่ใช้แทนลายเซ็น

* ถุงหนีภัยควรมีน้ำหนักไม่เกิน 15 กก.สำหรับผู้ชาย และไม่เกิน 10 กก.สำหรับผู้หญิง


สำหรับครอบครัวที่มีเด็กอ่อน สำหรับครอบครัวที่มีหญิงมีครรภ์
  • น้ำดื่ม
  • นม
  • ขวดนม
  • อาหารเด็กอ่อน
  • ช้อน
  • เสื้อผ้าสำหรับเปลี่ยน
  • ผ้าอ้อม
  • ผ้าสำหรับอุ้มเด็กไว้กับตัว (obui-himo)
  • ผ้าขนหนู
  • ผ้าเช็ดตัว
  • ผ้าห่มสำหรับเด็ก
  • ผ้าก๊อซ
  • ผ้าเช็ดหน้า
  • ถังน้ำ
  • ถุงพลาสติก
  • สบู่
  • สำลี
  • ผ้าก๊อซ
  • ผ้าผืนใหญ่สำหรับพันตัว
  • สำลีฆ่าเชื้อ
  • สิ่งจำเป็นสำหรับเด็กแรกเกิด
  • ถุงพลาสติก
  • สมุดคู่มือแม่และเด็ก
  • กระดาษหนังสือพิมพ์
  • สบู่

  1. สิ่งที่ควรนำติดตัวไปหลังจากการหนีภัยครั้งแรก
    • สำหรับใช้ชีวิตใน 3-4 วันหลังจากเกิดแผ่นดินไหว


อาหาร ของใช้อื่นๆ
  • ขนมปังกรอบ
  • อาหารกระป๋อง
  • บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
  • ข้าวสวยสำเร็จรูป
  • ขนม
  • น้ำสำหรับอาบหรือซักผ้า
  • ผ้าห่ม ถุงนอน
  • ถุงพลาสติก
  • ผ้าปูพลาสติก
  • ครีมล้างหน้า
  • แชมพูที่ไม่ใช้น้ำ
  • สบู่
  • ผ้าขนหนู (เล็กและใหญ่)
  • หม้อ กาน้ำ
  • แผ่นติดให้ความอุ่น
  • กระดาษทิชชู่
  • กระดาษทิชชู่
  • เทปกาว
  • ฟิล์มใสถนอมอาหาร
  • ชุดเข็มด้าย
  • ผ้าผืนใหญ่สำหรับพันตัว
  • แว่นตา คอนแทคเลนส์
  • เครื่องช่วยฟัง
  • ถังน้ำ
  • ที่ตักทราย
  • เชือก
  • มีดอเนกประสงค์

เครื่องดื่ม เชื้อเพลิง
  • คนละ 3 ลิตรต่อวัน
  • เตาไฟตั้งโต๊ะ
  • เชื้อเพลิงแข็ง
  • กระป๋องแก๊สสำรอง

สิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆเมื่อต้องหนีภัยเป็นเวลานาน
  • หม้อ
  • ห้องน้ำเคลื่อนที่
  • แผ่นติดให้ความอุ่น
  • ชุดเข็มด้าย
  • ชุดกันฝน
  • แผนที่
  • ผ้าผืนใหญ่สำหรับพันตัว
  • ของเด็กเล่น
  • หนังสืออ่านเล่น
  • หนังสือเรียน
  • คอมพิวเตอร์โน้ตบุค
  • อุปกรณ์ครื่องเขียน
  • เทปกาว (สำหรับซ่อมแซมสิ่งต่างๆ)

วิธีการรักษาอาหารและน้ำดื่มให้ใหม่อยู่เสมอ

ซื้อของทุกอย่างในปริมาณ 2 เท่าของที่จำเป็น แล้วค่อยๆนำมาออกมาใช้ทีละครึ่ง แล้วซื้อมาเพิ่ม ทำหมุนเวียนไปเรื่อยๆ จะทำให้มีน้ำและอาหารสำหรับการหนีภัยที่ใหม่อยู่เสมอ




แปลสรุปและรวบรวมจาก

http://www.metro.tokyo.jp/


ลิงค์เพิ่มเติม

สาระน่ารู้เกี่ยวกับแผ่นดินไหวในญี่ปุ่น




Back to the list