![](/upload/iblock/ca4/001.png)
![](/upload/iblock/2a7/002.png)
![](/upload/iblock/00a/003.png)
![](/upload/iblock/6af/004.png)
![](/upload/iblock/c4c/005.png)
12/02/2010
สถานเอกอัครราชทูตฯ ขอสรุปสาระสำคัญการแก้ไขกฎหมายควบคุมการเข้าเมืองและผู้อพยพ ในส่วนโครงการฝึกปฏิบัติงานเทคนิคซึ่งจะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ เพื่อเป็นข้อมูล ดังนี้
๑. สาเหตุสำคัญของการปรับปรุงระบบการฝึกงานและฝึกปฏิบัติงานเทคนิค ได้แก่
๑.๑ ญี่ปุ่นถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนานาชาติเรื่องการใช้แรงงานราคาถูก การฝ่าฝืนกฎหมายแรงงานและการจ่ายค่าจ้างของบริษัทผู้รับผู้ฝึกงาน
๑.๒ เพื่อเพิ่มความคุ้มครองให้แก่ผู้ฝึกงาน ให้ได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายแรงงานตั้งแต่ปีแรกที่เริ่มฝึกงาน
๑.๓ เพื่อเพิ่มความเข้มงวดในการควบคุมองค์กรผู้รับให้มีการจัดการที่ดี และการขจัดนายหน้าผิดกฎหมาย
๒. เนื้อหาสำคัญที่แก้ไขปรับปรุงคือ
๒.๑ ประเภทวีซ่า
เปลี่ยนประเภทวีซ่า จากเดิม วีซ่า "ผู้ฝึกงาน" ในปีแรก เป็นวีซ่าประเภทใหม่ "ฝึกปฏิบัติงานเทคนิค ๑" ระยะเวลาวีซ่า ๑ ปี หลังจากเสร็จสิ้นการอบรมหลังเข้าประเทศญี่ปุ่นระยะไม่เกิน ๒ เดือนแล้ว สัญญาการจ้างงานจะเริ่มมีผลบังคับใช้ทันทีที่เริ่มฝึกงาน หมายถึง ผู้ฝึกงานจะได้รับการคุ้มครองและสิทธิตามกฎหมายแรงงานเช่นเดียวกับแรงงานญี่ปุ่น เมื่อฝึกงานใกล้ครบ ๑ ปี จะต้องสอบวัดระดับฝีมือแรงงาน (พื้นฐานระดับ ๒) ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับการเปลี่ยนวีซ่าเป็น "ฝึกปฏิบัติงานเทคนิค ๒" ระยะเวลาวีซ่า ๑ ปี สามารถจะต่ออายุได้อีก ๑ ปี รวมระยะเวลาการฝึกปฏิบัติงานทั้งหมด ๓ ปี
๒.๒ การห้ามเรียกเก็บเงินหรือหลักทรัพย์ค้ำประกันต่างๆจากผู้ฝึกปฏิบัติงานเทคนิค
ห้ามมิให้องค์กรผู้ส่ง หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรียกเก็บเงินหรือหลักทรัพย์ ค้ำประกันต่างๆจากผู้ฝึกปฏิบัติงานเทคนิคโดยเด็ดขาด โดยจะเพิ่มการตรวจสอบในขั้นตอนของการยื่นขอวีซ่า กำหนดให้ต้องยื่นสัญญาที่องค์กรผู้ส่งทำกับผู้ฝึกปฏิบัติงานเทคนิค โดยต้องระบุจำนวนและรายการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายอย่างชัดเจน
๒.๓ การฝึกอบรมเตรียมตัวก่อนเดินทาง และหลังจากเข้าประเทศญี่ปุ่น
ตามระบบใหม่ กำหนดให้ต้องมีการจัดอบรมภาคทฤษฎีให้แก่ผู้ฝึกปฏิบัติงานเทคนิคเป็นระยะไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๖ ของระยะวีซ่าฝึกปฏิบัติงานเทคนิค ๑ (ไม่น้อยกว่า ๒ เดือน) ในกรณีที่องค์กรผู้ส่งจัดฝึกอบรมเตรียมตัวก่อนเดินทางมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ เดือน (และต้องไม่ต่ำกว่า ๑๖๐ ชั่วโมง) หลังจากเดินทางเข้าญี่ปุ่นแล้วองค์กรผู้รับจะต้องจัดอบรมภาคทฤษฎีเพิ่มเติมอีกเป็นระยะไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๑๒ ของระยะวีซ่าฝึกปฏิบัติงานเทคนิค ๑ (ไม่น้อยกว่า ๑ เดือน)
เนื้อหาการฝึกอบรมที่กำหนดคือ
ภาษาญี่ปุ่น
๒.๔ เพิ่มความเข้มงวดในการบริหารจัดการ ดูแลการฝึกงานขององค์กรผู้รับ
โดยกำหนดให้องค์กรผู้รับต้องดำเนินตามระเบียบต่างๆ อาทิ
๒.๕ เพิ่มบทลงโทษองค์กรผู้รับที่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง จากเดิมที่ระงับการรับผู้ฝึกงานนานสุด ๓ ปี เป็น ๕ ปี (ตัวอย่างกรณีร้ายแรง เช่น ยึดหนังสือเดินทาง บัตรต่างด้าวไม่จ่ายค่าจ้าง ตามกฎหมาย การยืมชื่อผู้อื่นรับผู้ฝึกงาน เป็นต้น) หากพบการกระทำผิดในกรณีต่อไปนี้ จะไม่พิจารณาการออกวีซ่า ได้แก่
๓. การเข้าประเทศของผู้ฝึกงานในช่วงเชื่อมต่อของการบังคับใช้กฎหมาย
๓.๑ ผู้ฝึกงานที่เดินทางเข้าญี่ปุ่นในระยะ ๖ เดือนก่อนวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓
จะได้รับวีซ่า "ผู้ฝึกงาน" ระยะเวลาวีซ่า ๖ เดือน และหลังจากวันเข้าญี่ปุ่น ๖ เดือนจะได้รับการเปลี่ยนวีซ่าเป็น "ฝึกปฏิบัติงานเทคนิค ๑" ระยะเวลาวีซ่า ๖ เดือน เมื่อเข้าญี่ปุ่นใกล้ครบ ๑ ปีต้องผ่านการทดสอบวัดระดับฝีมือ (พื้นฐานระดับ ๒) แล้วจึงได้รับการเปลี่ยนวีซ่าเป็น "ฝึกปฏิบัติงานเทคนิค ๒" ระยะเวลาวีซ่า ๑ ปี และเมื่อครบปีที่ ๒ ก็สามารถขยายวีซ่า "ฝึกปฏิบัติงานเทคนิค ๒" ระยะเวลาวีซ่า ๑ ปีได้อีก ๑ ครั้ง รวมระยะเวลาฝึกงานทั้งหมด ๓ ปี
๓.๒ ผู้ฝึกงานที่องค์กรผู้รับยื่นขอวีซ่าหลังวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๓ จะได้รับวีซ่า "ฝึกปฏิบัติงานเทคนิค ๑" ระยะเวลาวีซ่า ๑ ปี จะต้องเดินทางเข้าญี่ปุ่นหลังวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ภายใต้เงื่อนไขรูปแบบการฝึกงานตามกฎหมายใหม่ที่บังคับใช้
ทั้งนี้ แผนภูมิเปรียบเทียบระบบเดิมและการฝึกงานระบบใหม่ และเปรียบเทียบจุดเวลาที่เข้าประเทศและประเภทวีซ่า ตามเอกสารแนบ