งานนิติกรณ์/ทะเบียนราษฎร


การแจ้งเกิด หรือ ขอสัญชาติไทยให้บุตร

ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 เป็นต้นไป หากต้องการขอสัญชาติไทยและสูติบัตรไทยให้บุตร สามารถยื่นคำร้องขอแจ้งเกิดบุตรได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ โดยเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้

เอกสารบิดามารดาไทย

  1. คำร้องขอจดทะเบียนคนเกิด สามารถดาวน์โหลดได้จากทางเว็บไซต์ หรือขอรับได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
  2. หนังสือเดินทางฉบับจริง
  3. บัตรประจำตัวประชาชนไทยตัวจริง
  4. ทะเบียนบ้านฉบับจริง
  5. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อหรือใบเปลี่ยนนามสกุล หากเคยเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลมาก่อน
  6. ใบสำคัญการสมรส สำเนาทะเบียนสมรส หรือทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวสมรส (กรณีบิดามารดาสมรส)
  7. ใบสำคัญการหย่า สำเนาทะเบียนหย่า หรือทะเบียนฐานะแห่งครอบครัวหย่า (กรณีมารดาเคยหย่า)
  8. บัตรประจำตัวคนต่างด้าว (ไซริวการ์ด)

เอกสารบิดามารดาญี่ปุ่น

  1. คำร้องนิติกรณ์ สามารถดาวน์โหลดได้จากทางเว็บไซต์ หรือขอรับได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
  2. หนังสือเดินทางฉบับจริง หรือใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ตัวจริง
  3. ทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น หรือโคเซกิโทฮงฉบับจริง 1 ชุด ซึ่งผ่านการประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นไม่เกิน 3 เดือน

เอกสารของบิดามารดาต่างชาติที่ไม่ใช่คนญี่ปุ่น

  1. คำร้องนิติกรณ์ สามารถดาวน์โหลดได้จากทางเว็บไซต์ หรือขอรับได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
  2. หนังสือเดินทางฉบับจริง
  3. บัตรประจำตัวคนต่างด้าว (ไซริวการ์ด)
  4. กรณีบิดาเป็นทหารประจำการในฐานทัพสหรัฐอเมริกาประจำประเทศญี่ปุ่น กรุณานำบัตรประจำตัวทหารมาแสดงด้วย

เอกสารบุตร

  1. หนังสือรับรองการเกิด หรือชุทโชโทโดเคะคิไซจิโคโชเมโช ออกโดยที่ว่าการอำเภอญี่ปุ่น หรือกระทรวงยุติธรรมญี่ปุ่น ซึ่งผ่านการประทับตรารับรองจากกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นไม่เกิน 3 เดือน
    ***ในกรณีที่บุตรเกิดในฐานทัพสหรัฐอเมริกา กรุณานำหนังสือรับรองการเกิด (Consular Report of Birth Abroad) ออกโดยสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาประจำประเทศญี่ปุ่น และใบเกิดจากโรงพยาบาล (Birth Certification) ไปยื่นคำร้องขอแจ้งเกิดที่อำเภอญี่ปุ่นที่ฐานทัพฯ ตั้งอยู่ พร้อมขอหนังสือรับรองการเกิด หรือชุทโชโทโดเคะคิไซจิโคโชเมโช***
  2. คำแปลภาษาไทยของหนังสือรับรองการเกิด (ชุทโชโทโดเคะคิไซจิโคโชเมโช) พร้อมค่าธรรมเนียมในการรับรองเอกสาร ในข้อ 1. และข้อ 2. จำนวน 6,000 เยน (ตัวอย่างคำแปลหนังสือรับรองการเกิด)
  3. รูปถ่าย ถ่ายรวมกัน 3 คน และเห็นหน้าทุกคนชัดเจน 1 รูป
  4. หากเคยแจ้งเกิดบุตรที่สถานเอกอัครราชทูตฯ แล้วก่อนหน้านี้ กรุณาเตรียมสำเนาสูติบัตรของบุตรคนก่อนมาด้วย

หมายเหตุ

กรณีบิดามารดายังไม่ได้จดทะเบียนสมรสหรือบิดามารดาสมรสภายหลังบุตรเกิด บิดามารดาต้องมายื่นคำร้อง
ด้วยตนเองที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว โดยนำผลการตรวจ DNA ฉบับภาษาอังกฤษที่ระบุความสัมพันธ์ระหว่างบิดาและบุตรมาแสดง

สรุปข้อวินิจฉัยเรื่องสัญชาติของบุคคล ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 กรณีบุคคลที่เกิดนอกราชอาณาจักรไทย ดังนี้

กรณีที่

สถานภาพของบิดาและมารดาขณะเกิด

ช่วงเวลาที่เด็กเกิด

สัญชาติเด็ก

ข้อกฎหมาย

สัญชาติบิดา

การสมรส

สัญชาติมารดา

1

ไทย

จดทะเบียน

ไทย

ก่อน 26 ก.พ. 35

ไทย

มาตรา 7 (1)

ตั้งแต่ 26 ก.พ. 35

ไทย

มาตรา 7 (1)

2

ไทย

ไม่จด

ไทย

ก่อน 26 ก.พ. 35

ไทย

มาตรา 7 (1) / มาตรา 10

ตั้งแต่ 26 ก.พ. 35

ไทย

มาตรา 7 (1)

3

ไทย

จดทะเบียน

อื่นๆ

ก่อน 26 ก.พ. 35

ไทย

มาตรา 7 (1)

ตั้งแต่ 26 ก.พ. 35

ไทย

มาตรา 7 (1)

4

ไทย

ไม่จด

อื่นๆ

ก่อน 26 ก.พ. 35

ไทย

มาตรา 7(1) แบบมีเงื่อนไขต้องผ่านพิสูจน์ความสัมพันธ์ตามมาตรา 7 วรรคสอง

ตั้งแต่ 26 ก.พ. 35

ไทย

(กฎหมายมาตราเดียวกัน)

5

ไทย

ไม่จด

อื่นๆ

ตั้งแต่เกิดถึงปัจจุบัน

ไม่ได้ไทย

ถ้าไม่ผ่านการพิสูจน์ความสัมพันธ์การเป็นบิดาและบุตร

6

อื่นๆ

จดทะเบียน

ไทย

ก่อน 26 ก.พ. 35

ไทย

มาตรา 7 (1) / มาตรา 10

ตั้งแต่ 26 ก.พ. 35

ไทย

มาตรา 7 (1)

7

อื่นๆ

ไม่จด

ไทย

ก่อน 26 ก.พ. 35

ไทย

มาตรา 7 (1) / มาตรา 10

ตั้งแต่ 26 ก.พ. 35

ไทย

มาตรา 7 (1)

คำถามเกี่ยวกับสัญชาติ

Q. จะขอสัญชาติไทยให้กับบุตรที่เกิดในประเทศญี่ปุ่นได้หรือไม่ และต้องทำอย่างไร

A. บุตรของคนไทยที่เกิดในประเทศญี่ปุ่น จะได้สัญชาติไทยตามกฎหมายเมื่อไปแจ้งเกิดที่สถานเอกอัครราชทูตฯ หรือสถานกงสุลใหญ่ จากนั้น สถานเอกอัครราชทูตฯ หรือสถานกงสุลใหญ่ จะออกสูติบัตรให้ โดยบิดามารดาไทยจะต้องยื่นคำร้องด้วยตนเอง แบ่งเป็นกรณีได้ดังนี้

1. กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนสมรส ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถมายื่นคำร้องเพียงผู้เดียวได้

2. กรณีมารดาไทย ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับบิดาของบุตร และมารดาไม่ประสงค์ใส่ชื่อบิดาในสูติบัตรของบุตร มารดาสามารถยื่นคำร้อง ขอแจ้งเกิดให้บุตรเพียงผู้เดียวได้

3. กรณีมารดาไทย ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับบิดาของบุตร แต่มารดาประสงค์ใส่ชื่อบิดาในสูติบัตรของบุตร มารดาและบิดาจะต้องมาให้ถ้อยคำเพื่อประกอบการยื่นคำร้องขอแจ้งเกิดให้บุตรที่สถานเอกอัครราชทูตฯ โดยนำผลการตรวจ DNA ระบุความสัมพันธ์ระหว่างบิดาและบุตรมาแสดง

Q. หากไม่แจ้งเกิดให้บุตร จะมีผลอย่างไร

A. บุตรจะไม่มีสัญชาติไทย และไม่สามารถขอทำหนังสือเดินทางไทยและบัตรประจำตัวประชาชนไทยได้

Q. บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย หมายถึงอะไร

A. บุตรที่เกิดในระหว่างสมรส หรือบุตรที่บิดาได้จดทะเบียนรับรองเป็นบุตรแล้ว

Q. การได้สัญชาติไทยย้อนหลังคืออะไร

A. เดิมพระราชบัญญัติสัญชาติ ปี พ.ศ. 2508 ยินยอมให้บุคคลได้สัญชาติไทยในวงจำกัด ต่อมาเมื่อมีการแก้ไขพระราชบัญญัติสัญชาติในปี พ.ศ. 2535 จึงเปิดโอกาสให้บุคคลได้รับสัญชาติไทยได้มากขึ้น รวมทั้งผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัติสัญชาติฉบับแก้ไขมีผลบังคับใช้ด้วย ดังนั้น ผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 และมิได้สัญชาติไทยเมื่อแรกเกิดจึงได้รับสัญชาติไทยเป็นการย้อนหลัง

Q. ในสูติบัตรที่ออกโดยที่ว่าการเขต/อำเภอไทย ไม่ได้ระบุว่ามีสัญชาติไทย จะสามารถขอสัญชาติไทยให้บุตรได้หรือไม่

A. ได้ สำหรับบุคคลที่เกิดก่อนวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 สามารถยื่นคำร้องขอสัญชาติไทยให้บุตรย้อนหลังได้ ณ ที่ว่าการเขต/อำเภอที่มีชื่อบุตรอยู่ในทะเบียนบ้าน

Q. คนที่มีสิทธิได้รับสัญชาติไทย อายุมากกว่า 20 ปี ต้องการแจ้งเกิด สามารถแจ้งเกิดที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้หรือไม่ และจะถือว่าเป็นการเลือกสัญชาติหรือไม่

A. ได้ เนื่องจากไม่มีข้อห้ามไว้ และไม่ถือว่าเป็นการเลือกสัญชาติ

Q. บุคคลสัญชาติไทยที่ต้องการขอถือสัญชาติญี่ปุ่น ต้องดำเนินการอย่างไร

A. กรุณาติดต่อขอทราบรายละเอียดจากที่ว่าการอำเภอ/เขตญี่ปุ่น หรือกระทรวงยุติธรรมญี่ปุ่น (โฮมุเคียวคุ)

Q. คนไทยเมื่อแปลงสัญชาติเป็นคนต่างด้าว จะเสียสัญชาติไทยโดยทันทีหรือไม่

A. คนไทยที่แปลงสัญชาติเป็นคนต่างด้าวย่อมเสียสัญชาติไทย แต่การนี้จะมีผลก็ต่อเมื่อได้ขอสละสัญชาติไทย และมีประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเท่านั้น

Q. เด็กถือสองสัญชาติได้จนถึงอายุกี่ปี และหลังจากถึงอายุที่กำหนดแล้วต้องทำอย่างไร

A. เด็กถือสองสัญชาติได้จนถึงอายุ 20 ปี จากนั้นจึงทำการเลือกสัญชาติใดสัญชาติหนึ่ง

Q. การสละสัญชาติไทยต้องดำเนินการอย่างไร

A. ผู้ที่จะยื่นคำร้องขอสละสัญชาติไทยนั้น ต้องมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์

1. ผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำร้องต่อผู้บังคับการกองบังคับการกองบัญชาการตำรวจสันติบาล

2. ผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำร้องต่อผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนั้น

3. ผู้ที่พำนักอยู่ในต่างประเทศ ให้ยื่นคำร้องต่อสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลใหญ่ ที่ตั้งอยู่ในประเทศนั้น

*** สำหรับผู้ที่พำนักอยู่ในประเทศญี่ปุ่น สามารถดาวน์โหลดรายละเอียดได้จากทางเว็บไซต์ หรือขอรับเอกสารได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ

Q. บุคคลที่อ้างว่ามีสัญชาติไทยซึ่งเดินทางกลับจากต่างประเทศด้วยหนังสือเดินทางจากต่างประเทศหรือหนังสือสำคัญประจำตัว มีความประสงค์จะขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านโดยไม่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้มีสัญชาติไทย ควรทำอย่างไร

A. ให้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนที่เขต/อำเภอ เพื่อดำเนินการดังต่อไปนี้

1. เขต/อำเภอจะส่งตัวผู้ขอเพิ่มชื่อให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองพิสูจน์สัญชาติ

2. หากผู้ขอเพิ่มชื่อเป็นผู้มีสัญชาติไทย ให้เจ้าบ้านติดต่อเขต/อำเภอเพื่อสอบสวน

3. เขต/อำเภอจะกำหนดเลขประจำตัวประชาชนให้

4. เขต/อำเภอเพิ่มชื่อบุคคลดังกล่าวในทะเบียนบ้าน

Q. บุคคลที่เกิดในต่างประเทศโดยมีหลักฐานรับรองการเกิดแสดงว่ามีสิทธิได้รับสัญชาติไทย จะสามารถเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านไทยได้หรือไม่

A. ได้ โดยนำสูติบัตรที่ออกโดยสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลใหญ่ ไปยื่นขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านต่อนายทะเบียนเขต/อำเภอ

Q. เด็กชายซึ่งมีสัญชาติไทยที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ จะต้องเกณฑ์ทหารหรือไม่

A. เมื่ออายุครบ 18 ปี จะต้องไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินในประเทศไทย

Q. หญิงไทยเมื่อได้สัญชาติอื่นตามสามีแล้ว จำเป็นต้องสละสัญชาติไทยหรือไม่

A. กฎหมายไทยมิได้กำหนดว่าให้สละสัญชาติไทย แต่หากประสงค์จะสละสัญชาติไทย ก็สามารถยื่นคำร้องเพื่อขอสละสัญชาติไทยได้ อย่างไรก็ดี กรณีขอแปลงสัญชาติเป็นญี่ปุ่น กฎหมายญี่ปุ่นบังคับให้สละสัญชาติเดิมภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับสัญชาติญี่ปุ่น



Back to the list