




ระบบการเรียนการสอนในญี่ปุ่นแบ่งออกเป็น 2 ภาคเรียน คือ
อายุ (ปี) |
ปีการศึกษา |
ระดับการศึกษา |
---|---|---|
3 – 6 |
|
อนุบาล |
6 – 12 |
1 – 6 |
ประถมศึกษา |
12 – 15 |
7 – 9 |
มัธยมศึกษาตอนต้น |
15 – 18 |
10 – 12 |
มัธยมศึกษาตอนปลาย |
15 – 20 |
10 – 14 |
โรงเรียนอาชีวะศึกษา |
18 ขึ้นไป |
13 - |
มหาวิทยาลัย |
การศึกษาต่อในญี่ปุ่น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่นเพื่อให้สามารถสื่อสารในชีวิตประจำวันได้ แม้จะเข้าเรียนต่อในหลักสูตรนานาชาติก็ตาม
หากน้อง ๆ นักเรียน/ นักศึกษา ต้องการเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยที่สอนเป็นภาษาญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะกำหนดว่านักเรียนต่างชาติจะต้องมีความรู้ภาษาญี่ปุ่นระดับ N2** แต่หากไม่มีความรู้ทางภาษา โรงเรียนส่วนใหญ่จะอนุญาตให้เข้าเรียนได้ แต่ก็จะแนะนำให้เรียนภาษาเสริมในระหว่างการเรียนตามหลักสูตรปกติด้วย
**การสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น JLPT (อยู่ใต้หัวข้อ การสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น)
นักเรียนที่สนใจจะไปศึกษาต่อระดับมัธยมปลายที่ญี่ปุ่น แต่ไม่มีพื้นฐานทางภาษา ขอแนะนำให้เริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่นก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อให้มีระดับความรู้ภาษาญี่ปุ่นอย่างน้อยในระดับ N2
เนื้อหาที่เรียนในระดับมัธยมปลายจะเป็นภาษาญี่ปุ่นทั้งหมดซึ่งไม่ง่าย และด้วยความเป็นชาวต่างชาติ ทำให้ต้องใช้ความพยายามมากกว่านักเรียนคนอื่น ทั้งด้านภาษาและด้านวิชาการ โดยแม้ในระยะหลังจะมีโรงเรียนที่เปิดรับนักเรียนต่างชาติมากขึ้นก็ตาม แต่ก็ยังคงดำเนินการเรียนการสอนเป็นภาษาญี่ปุ่นทั้งหมด ทั้งนี้ ขอให้น้อง ๆ พึงระลึกไว้เสมอว่าเราเป็นนักเรียนต่างชาติ จึงอาจมีปัญหาและอุปสรรคบ้างในช่วงแรก แต่เมื่อสามารถปรับตัวได้แล้วก็จะทำให้การเรียนง่ายขึ้น
หากน้อง ๆ สนใจจะเข้าเรียนมหาวิทยาลัยที่ทำการเรียนการสอนในหลักสูตรภาษาญี่ปุ่นก็ควรจะมีความรู้ภาษาญี่ปุ่นระดับ N2 ขึ้นไป แต่หากไม่มีพื้นฐานทางภาษาก็ควรสอบถามไปยังมหาวิทยาลัยก่อนว่าสามารถสมัครเข้าเรียนได้หรือไม่
การสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีนั้น แตกต่างกับการสมัครเข้าศึกษาในระดับมัธยมปลาย กล่าวคือหากไม่มีพื้นฐานทางภาษาญี่ปุ่นหรือไม่แน่นพอ นักเรียนสามารถเข้าเรียนเพิ่มเติมในโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นก่อนได้ โดยบางมหาวิทยาลัยอาจมีโรงเรียนสอนภาษาในสังกัดของตนเอง เรียกว่า 別科 (เบกกะ) ซึ่งหากนักเรียนสมัครเข้าเรียนภาษาในโรงเรียนนั้น ๆ ก่อนก็จะสามารถติดต่อและสมัครเข้ามหาวิทยาลัยได้สะดวกขึ้น
การศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นมีตัวเลือกหลากหลายกว่าโรงเรียนมัธยมปลาย ทั้งหลักสูตรภาษาญี่ปุ่นและนานาชาติ โดยเฉพาะในห้วงที่ผ่านมามีมหาวิทยาลัยเปิดสอนหลักสูตรนานาชาติมากขึ้น ทำให้นักศึกษาต่างชาติสนใจมาเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นตามลำดับ
การศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในญี่ปุ่นมีหลักเกณฑ์คล้ายกับการเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี กล่าวคือนักศึกษาจะต้องมีพื้นฐานภาษาญี่ปุ่นระดับ N2 ขึ้นไป หากประสงค์จะสมัครเข้าเรียนหลักสูตรที่ทำการเรียนการสอนเป็นภาษาญี่ปุ่น โดยนักศึกษาส่วนใหญ่จะสมัครเรียนภาษาที่โรงเรียนภาษาของมหาวิทยาลัยก่อนเข้าเรียน ยกเว้นจะศึกษาต่อในหลักสูตรนานาชาติ ทั้งนี้ สามารถประสานรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากมหาวิทยาลัยที่ต้องการจะสมัครเข้าศึกษาต่อโดยตรง
ในการเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทในมหาวิทยาลัยที่ทำการเรียนการสอนเป็นภาษาญี่ปุ่น นักศึกษาจะต้องสอบเข้ามหาวิทยาลัยโดยใช้ข้อสอบภาษาญี่ปุ่น ซึ่งหากสอบไม่ผ่านเกณฑ์/ ไม่มีความรู้ภาษาญี่ปุ่น/ หรือมหาวิทยาลัยพิจารณาแล้วเห็นสมควรจะต้องเรียนภาษาญี่ปุ่นเพิ่มเติม นักศึกษาจะต้องเข้าเป็นนักศึกษาวิจัย (เรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า 研究生 เค็งคิวเซ) ก่อน โดยช่วงดังกล่าวจะเปรียบเสมือนเป็นช่วงเตรียมตัวเพื่อสอบเข้าเรียนต่อ ปริญญาโทในมหาวิทยาลัยนั้น ๆ ซึ่งเป็นโอกาสดีสำหรับนักศึกษาที่จะได้เรียนภาษาในโรงเรียนภาษาด้วย
การเป็นนักศึกษาวิจัย เป็นระบบเฉพาะทางของญี่ปุ่น นักศึกษาจะไม่ได้รับหน่วยกิตใดๆ และไม่มีผลต่อการศึกษาปริญญาโท และมีระยะเวลาตั้งแต่ 1 ภาคเรียน ไปจนถึง 1 ปี ทั้งนี้ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสมัครเป็นนักศึกษาวิจัยได้ที่ www.jeic-bangkok.org/?บัณฑิตวิทยาลัย,33
การศึกษาต่อในโรงเรียนอาชีวศึกษาในญี่ปุ่นเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยมไม่น้อยในหมู่นักศึกษาต่างชาติที่มาศึกษาต่อในญี่ปุ่น แต่ขั้นตอนการรับสมัครคัดเลือกจะยากกว่าการสมัครเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย โดยนักเรียนที่ต้องการจะเข้าเรียนโรงเรียนอาชีวศึกษาในญี่ปุ่น จะต้องมีความรู้ภาษาญี่ปุ่นในระดับที่ดี เนื่องจากมีการเรียนการสอนเป็นภาษาญี่ปุ่นทั้งหมด
หลักสูตรของโรงเรียนอาชีวศึกษาในญี่ปุ่นมีระยะเวลาประมาณ 2 - 4 ปี และมีให้เลือกหลากหลายสาขา อาทิ การแพทย์ อุตสาหกรรม ธุรกิจการค้า เสื้อผ้าเครื่องประดับ คหกรรมศาสตร์ เป็นต้น โดยนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอาชีวศึกษาในญี่ปุ่นจะได้รับวุฒิบัติอนุปริญญาสำหรับประกอบอาชีพ มิใช่วุฒิปริญญาตรี
สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ วิทยาลัยอาชีวศึกษา (หลักสูตรวิชาชีพชั้นสูง)
การเรียนภาษาญี่ปุ่นในโรงเรียนภาษามีทั้งแบบระยะสั้น 1-3 เดือน และระยะยาว 6 เดือน - 2 ปี แบ่งการเรียนการสอนเป็นสองภาคเรียนตามระบบการศึกษาญี่ปุ่น คือ ภาคฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง โดยมีทั้งโรงเรียนภาษาที่เป็นของเอกชนและมหาวิทยาลัย
สำหรับโรงเรียนภาษาที่เป็นของมหาวิทยาลัยหรือเบกกะ นอกจากจะสอนภาษาญี่ปุ่นแล้ว ยังมีการสอนวิชาพื้นฐานอื่น ๆ ที่จำเป็น เช่น คณิตศาสตร์และฟิสิกส์ เพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยนั้น ๆ ด้วย โดยส่วนใหญ่หลักสูตรที่สอนในเบกกะจะเป็นหลักสูตรเร่งรัด มีระยะเวลาเพียง 1 ปี เพื่อให้นักศึกษาสามารถเข้ามหาวิทยาลัยได้เร็ว
ทุนการศึกษาในญี่ปุ่นมีทั้งทุนของรัฐบาลและเอกชน โดยสามารถจำแนกได้เป็น (1) ทุนที่ขอรับได้ก่อนเข้าประเทศญี่ปุ่น และ (2) ทุนที่ขอรับได้หลังเข้าประเทศญี่ปุ่น
ทุนการศึกษาในระดับชั้นมัธยมปลายมีจำนวนน้อยมาก ดังนั้น หากนักเรียนสนใจจะขอทุนสำหรับศึกษาในระดับมัธยมปลายในญี่ปุ่น ก็อาจประสานขอรับข้อมูลเกี่ยวกับทุนการศึกษาจากโรงเรียนแต่ละแห่งโดยตรง หรือสามารถสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับทุนรัฐบาลไทยได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง http://www.ocsc.go.th/ocsc/th/
สำหรับนักศึกษาที่สนใจขอทุนจากมหาวิทยาลัยทั้งในไทยหรือญี่ปุ่นโดยตรง สามารถประสานได้โดยตรงที่แต่ละมหาวิทยาลัย หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทุนการศึกษาในญี่ปุ่นได้ที่องค์กรสนับสนุนนักศึกษาแห่งประเทศญี่ปุ่น http://www.jeic-bangkok.org และสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย http://www.th.emb-japan.go.jp/th/jis/study.htm
นักเรียน/ นักศึกษาที่ได้รับทุนรัฐบาลไทย จะมีสำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในญี่ปุ่น (สนร.) ภายใต้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ และถ้าหากต้องการติดต่อหรือขอรับความช่วยเหลือใด ๆ สามารถติดต่อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 03 5424 0652 Email: csctokyo@sepia.ocn.ne.jp หรือเว็บไซต์ http://education.thaiembassy.jp/
องค์กร/ สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ของไทยและญี่ปุ่นมีโครงการความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนเยาวชนในมิติต่าง ๆ สำหรับนักเรียนนักศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมต้นจนถึงมหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวัฒนธรรมไทย - ญี่ปุ่น และการแลกเปลี่ยนทางวิชาการเป็นหลัก นอกจากนี้ ยังมีโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยอีกด้วย
ระยะเวลาในการดำเนินโครงการแลกเปลี่ยนเยาวชนจะแตกต่างกันไป ขึ้นกับวัตถุประสงค์และงบประมาณขององค์กรผู้ดำเนินโครงการ แต่โดยส่วนใหญ่จะใช้ระยะเวลาตั้งแต่ 10 วันไปจนถึง 1.5 ปี
นักเรียน/ นักศึกษาที่สนใจเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเยาวชน สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.g-studyinjapan.jasso.go.jp/ (Gateway to Study in Japan) และ http://www.ojsat.or.th/main/ (สมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่นในพระราชูปถัมภ์) และหากเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย สามารถสอบถามข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการแลกเปลี่ยนได้จากคณะ/ มหาวิทยาลัยของตน
หากน้อง ๆ สนใจจะไปศึกษาต่อในญี่ปุ่น สิ่งแรกที่ควรทำคือการหาโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยที่สนใจ รวมทั้งสาขาวิชาที่เหมาะกับตนเองด้วย เนื่องจาก การเดินทางไปญี่ปุ่นโดยไม่ศึกษาข้อมูลให้ละเอียดรอบคอบก่อนจะทำให้เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ และอาจทำให้น้อง ๆ ได้เรียนในมหาวิทยาลัยที่ไม่เหมาะกับน้อง ๆ เลยก็ได้
การสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากสำหรับนักเรียนต่างชาติที่ต้องการศึกษาต่อในญี่ปุ่น โดยเฉพาะนักเรียน/ นักศึกษาที่จะเข้าเรียนในโรงเรียนมัธยมปลายหรือมหาวิทยาลัยที่สอนเป็นภาษาญี่ปุ่นอย่างเดียว หรือ โรงเรียนอาชีวะศึกษา ยิ่งน้อง ๆ มีความรู้ภาษาญี่ปุ่นในระดับสูงเท่าไร ก็ยิ่งมีสิทธิที่จะได้เข้าเรียนต่อมากขึ้นเท่านั้น
น้อง ๆ อาจเคยรับทราบเกี่ยวกับสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น JLPT (日本語能力試験 นิฮงโกะโนวเรียวคุชิเค็ง) ซึ่งเป็นการสอบที่จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดความสามารถทางด้านภาษาญี่ปุ่นของชาวต่างชาติ คล้ายกับการสอบภาษาอังกฤษ TOEIC TOEFL ฯลฯ โดย การสอบ JLPT นี้แบ่งเป็น 5 ระดับด้วยกัน ไล่ตั้งแต่ N5 เป็นระดับที่ต่ำสุด ไปจนถึง N1 เป็นระดับที่สูงสุด ในหนึ่งปีจะมีการจัดสอบ JLPT สองครั้ง คือวันอาทิตย์แรกของเดือนกรกฎาคม และวันอาทิตย์แรกของเดือนธันวาคม
น้อง ๆ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสอบ JLPT ในประเทศไทยได้ที่เว็บไซต์ http://school.ojsat.or.th/jlpt.php (โรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่น โดยสมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่น ในพระราชูปถัมภ์) หรือการสอบในญี่ปุ่น ทางเว็บไซต์ http://info.jees-jlpt.jp/?lang=english
นอกจากการสอบ JLPT น้อง ๆ สามารถสอบ EJU (Examination for Japanese University Admission for International Students) ซึ่งจะมีการสอบวิชาการ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เพื่อใช้สำหรับสมัครเข้ามหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนอาชีวะศึกษาในญี่ปุ่นได้ด้วย โดยสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://www.jeic-bangkok.org/?eju,28 หรือ http://www.jasso.go.jp/eju/index_e.html
เอกสารสำคัญที่จำเป็นสำหรับการสมัครเข้าศึกษาต่อในญี่ปุ่น ได้แก่
ทั้งนี้ ส่วนใหญ่โรงเรียน/ มหาวิทยาลัยจะขอรับเอกสารฉบับจริงประกอบการพิจารณา (ยกเว้นหนังสือเดินทาง) ทั้งยังจะใช้เป็นเอกสารประกอบการออก Certificate of Eligibility ที่ใช้เพื่อขอวีซ่าด้วย
การเดินทางไปศึกษาต่อในญี่ปุ่นย่อมใช้ทุนทรัพย์มากกว่าในประเทศ เนื่องจากค่าครองชีพที่สูงกว่า สำหรับค่าใช้จ่ายหลัก ๆ ประกอบด้วย
ค่าเล่าเรียนสำหรับนักเรียนระดับระดับมัธยมปลายในปีแรกเริ่มต้นที่ประมาณหนึ่งล้านเยน ประกอบด้วย
สำหรับค่าเล่าเรียนระดับมหาวิทยาลัยในปีแรก (1) สำหรับมหาวิทยาลัยของรัฐเริ่มต้นที่ประมาณ 800,000 เยน (2) มหาวิทยาลัยเอกชนเริ่มต้นที่ประมาณ หนึ่งล้านเยน ค่าใช้จ่ายประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายแรกเข้า และค่าเทอม เว้นแต่นักศึกษาจะได้รับทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยในการสนับสนุนค่าใช้จ่ายบางส่วนหรือทั้งหมด
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว
มกราคม 2559